ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ได้รับเลือกเป็นประธานร่วม (Co-Chair) ของการประชุมโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 23
7 มี.ค. 2566
279
0
ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ
ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ได้รับเลือกเป็นประธานร่วม (Co-Chair) ของการประชุมโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 23

ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ได้รับเลือกเป็นประธานร่วม (Co-Chair) ของการประชุมโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 23

ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ได้รับเลือกให้เป็นประธานร่วม (Co-Chair) ของการประชุมโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 23 ภายใต้ความร่วมมือของอาเซียนเกี่ยวกับแผนการส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้ (23rd Meeting of the National Focal Point for the ASEAN Cocoa Club (ACC) on ASEAN Cooperation and Joint Approaches in Agriculture and Forest Products Promotion Scheme) ร่วมกับ Dr. Ramle Hj. Kasin ซึ่งดำรงตำแหน่ง Director General of the Malaysian Cocoa Board และประธาน ASEAN Cocoa Club โดยมี นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้แทนประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม การประชุมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ กรมวิชาการเกษตร โดยมีสถาบันวิจัยพืชสวนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศนำ (Lead Country) ของสินค้าโกโก้ ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์ การผลิต และการค้าเมล็ดโกโก้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการค้าโกโก้ภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียน ขยายส่วนแบ่งการตลาดในตลาดต่างประเทศ ด้วยการยกระดับคุณภาพการผลิตระดับฟาร์มและพัฒนาการแปรรูป โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดจนประสานความร่วมมือในการผลิตโกโก้แห้งอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมการแปรรูป


ทั้งนี้ โกโก้ของไทยได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ปลูกโกโก้ไม่มากนัก แต่เกษตรกรให้ความสนใจปลูกโกโก้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมโกโก้ของไทยยังมีศักยภาพ มีความสามารถในการผลิต และมีการตลาดที่ดี การประชุมนี้ นอกจากจะมีประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมการประชุมแล้ว ยังมีวิสาหกิจและผู้ประกอบการโกโก้ของไทย เช่น บริษัท Chocolasia, KadKokoa Lab, CBA Academy, สมาคมกาแฟและชาไทย, CP Retaillink, Chocotorch, SMCE Phuket Cocoa, Yellow Chocolate, Madam Cocoa และสหกรณ์การเกษตรห้วยคต และองค์กรต่างประเทศ ได้แก่ โกโก้บอร์ดอินโดนีเซีย มูลนิธิโกโก้ประเทศฟิลิปปินส์ และคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาโกโก้เวียดนาม สำนักงานพัฒนาการตลาดและเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย เข้าร่วมการประชุม

ตกลง