รมว.นฤมล ร่วมกล่าวเปิดการประชุม Hand-in-Hand Investment Forum บนเวที FAO ชวนลงทุนในภาคเกษตรไทย เพื่อสร้างระบบอาหารและเกษตรโลกยั่งยืน
15 ต.ค. 2567
62
0
รมว.นฤมลร่วมกล่าวเปิดการประชุม
รมว.นฤมล ร่วมกล่าวเปิดการประชุม Hand-in-Hand Investment Forum บนเวที FAO ชวนลงทุนในภาคเกษตรไทย เพื่อสร้างระบบอาหารและเกษตรโลกยั่งยืน

รมว.นฤมล ร่วมกล่าวเปิดการประชุม Hand-in-Hand Investment Forum บนเวที FAO ชวนลงทุนในภาคเกษตรไทย เพื่อสร้างระบบอาหารและเกษตรโลกยั่งยืน

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดการประชุม FAO Hand-in-Hand Investment Forum ซึ่งเป็นเวทีด้านความร่วมมือและการลงทุน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการลงทุนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ ในประเด็นที่มีความเร่งด่วน หรือความสนใจร่วมกัน เพื่อขจัดความยากจน ลดจำนวนผู้หิวโหย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ร่วมกับผู้แทนจาก Central American Bank for Economic Integration (CABEI) ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และสภาเศรษฐกิจโลก โดยมี นายถาวร ทันใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวไปรยา เศวตจินดา ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และนางศุภจิต ศรีอริยวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เข้าร่วม ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี

ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบอาหารและเกษตรเพื่อความยั่งยืน เพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างความเข็มแข็งให้แก่เกษตรกร โดยส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน เน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด สอดคล้องกับนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” อีกทั้งยังมีนโยบายการส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มเกษตรเทคโนโลยี” ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี มุ่งเน้นไปทางสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษี ส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ที่ขับเคลื่อนไปด้วย “Innovative” เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ “Competitive” เศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง และ “Inclusive” เศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้างโอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตร สอดคล้องกับนโยบาย BCG ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจ สีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการส่งเสริมการลงทุนแก่ภาคเกษตรตลอดสายห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนยกระดับและสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

“โลกกำลังเผชิญกับความท้าทาย การลงทุนในภาคเกษตรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจฐานราก จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ทุกภาคส่วนเร่งแก้ปัญหาผ่านกลไกการลงทุนและความร่วมมือ เพื่อปรับเปลี่ยนระบบอาหารและเกษตรสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต” รมว.เกษตรฯ กล่าว

ตกลง