อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ( Desertification)
ความเป็นมาและสถานะ
ประเทศไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการให้ภาคยานุวัติสาร ปัจจุบันมีประเทศภาคีสมาชิก 108 ประเทศ
ท่าทีของประเทศไทยและการดำเนินการ
กระทรวงเกษตรฯ ได้แจ้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีสมาชิก เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2539 และสถานะอยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นเรื่องข้อสงวน 2 ประการ คือ สิทธิประชากรในการย้ายถิ่นและโครงการความร่วมมือของอาหาร
องค์กรที่เกี่ยวข้อง
-คณะกรรมการกำกับการอนุวัติตามแผนปฏิบัติการ 21
พันธกรณีที่สำคัญ และโครงการ/กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
พันธกรณีที่สำคัญ |
โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว |
1. ทุกภาคีสมาชิกต้องจัดทำแผนปฏิบัติแห่งชาติ (National Action Plan) เพื่อสนับสนุน การแก้ไขปัญหาการแปรสภาพเป็นทะเลทราย โดยให้สอดคล้องกับแผนงานระดับภูมิภาค ซึ่งควรประกอบด้วย
- การสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าในระดับท้องถิ่น ชาติ ภูมิภาค และกลไกในการช่วยเหลือประชากรที่โยกย้าย ถิ่นฐานอันเนื่องมาจากผลกระทบ - การจัดเตรียมแผนความมั่นคงทางอาหารอย่างเหมาะสม รวมทั้งสถานที่สำรองอาหารในพื้นที่ชนบท - การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง
|
- โครงการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (กรมพัฒนาที่ดิน) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2524 - แผนงานอนุรักษ์ป่าไม้ (กรมป่าไม้) - โครงการฟื้นฟูป่าไม้ (เริ่มดำเนินการปี 2537) - แผนฟื้นฟูการเกษตร ดำเนินการในเขตพื้นที่ยากจน และแห้งแล้งดินเลว - แผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ (ดำเนินการปี 2537 - 2539) - แผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ (ดำเนินการเมื่อปี 2537- 2539) ของกระทรวงเกษตรฯ |
2. แผนงานระดับภูมิภาคเอเซีย
- สำรวจสถาบันระดับภูมิภาค - สำรวจสถานภาพของปัญหา - เพิ่มประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้า - สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเงินและเทคโนโลยี - ทบทวนแผนปฏิบัติแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การจัดโครงการร่วมมือระดับอนุภูมิภาค/ภูมิภาค
|
|