อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก
(Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage)
ความเป็นมาและสถานะ
ความเป็นมาและสถานะ ปี ค.ศ. 1972 ได้มีการลงนามรับรองอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกจากรัฐสมาชิกขององค์การ ยูเนสโกซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1975 มีจำนวนมาตราทั้งสิ้น 38 มาตรา มีประเทศ ภาคีรวม 145 ประเทศ ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้นำเสนอเรื่องการเข้าเป็นภาคีว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลกต่อ ครม. (ครม. มีมติเป็นชอบการเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2530)
ท่าทีของประเทศไทยและการดำเนินการ
หลังจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี ครม. มีมติเห็นชอบนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติไทย 6 แห่ง เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมาโดยประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการมรดกโลกด้วย
องค์กรที่เกี่ยวข้อง
- คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
ประธาน : ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ
เลขานุการ : สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
- คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก
ประธาน : ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ
เลขานุการ : สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ และสำนักงานฯ
- คณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก
ประธาน : รองอธิบดีกรมป่าไม้
เลขานุการ : ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
พันธกรณีที่สำคัญ และโครงการ/กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
พันธกรณีที่สำคัญ |
โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว |
1. จัดทำแผนแม่บทการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติ ที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมไปกับการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมของชุมชน |
- แผนปฏิบัติการแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย - แผนแม่บทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พ.ศ. 2533-2537 - แผนแม่บทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร พ.ศ. 2535-2537
|
2. เสาะแสวงหา และศึกษาวิเคราะห์แหล่งมรดกทาง วัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่มีความสำคัญและมีคุณค่าโดดเด่น ที่ตั้งอยู่ในประเทศของตน เพื่อนำเสนอให้ประกาศเป็นแหล่งมรดกโลก |
-ปรับปรุงแหล่งมรดกฯ ที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของคณะกรรมการฯ จนได้รับประกาศบรรจุ ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ปี พ.ศ. 2534 จำนวน 3 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติ 1 แหล่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง มรดกทางวัฒนธรรมอีก 2 แหล่ง (ปี 2534) และอีก 1 แหล่งในปีถัดมา |
3. ยอมรับเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแล คุ้มครองและอนุรักษ์ แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศของตน
|
|
4. กำหนดมาตรการที่เหมาะสมด้านกฎหมายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี บริหารและการเงินเพื่อการคุ้มครองและอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก ในประเทศของตน
|
|
5. ละเว้นการดำเนินการใดโดยเจตนาที่จะทำลายมรดกโลกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ ที่ตั้งอยู่ในประเทศภาคีอื่นๆ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
|
|
6. สนับสนุนเงินช่วยเหลือให้กับกองทุนมรดกโลก ในรูปของเงินอุดหนุนบังคับ (Compulsory Contribution)
|
- จ่ายเงินอุดหนุนบังคับแก่กองทุนมรดกโลก 1% ของเงินอุดหนุนที่มอบให้งบประมาณประจำของยูเนสโก (กระทรวงศึกษาธิการ) |
แหล่งมรดกโลกแห่งประเทศไทย
แหล่งมรดกโลกในประเทศที่อยู่ 4 แหล่ง 7 พื้นที่ คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง