อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
(Convention on Wetllands of International Importance as Waterfowl Habitat: RAMSAR, 1971)
ความเป็นมาและสถานะ
อนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำมีทั้งสิ้น 12 มาตรา มีผลบังคับใช้เมื่อปี 1975 จนถึงปัจจุบันมีภาคีสมาชิกจำนวน 91 ประเทศ ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ขณะนี้จึงยังไม่มีความผูกพันทางกฎหมายในการปฏิบัติตามพันธกรณี
ท่าทีของประเทศไทยและการดำเนินการ
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบในหลักการการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540 โดยให้กระทรวงต่างประเทศลงนามการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา และได้คัดเลือกเสนอให้พรุควนขี้เสี้ยนบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็น Ramsar Site ของประเทศไทย และให้ สผ. เป็นหน่วยงานประสานระดับชาติ และตั้งงบประมาณเป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาฯ ตามอัตรากำหนด
องค์กรที่เกี่ยวข้อง
- คณะอนุกรรมการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
ประธาน : รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เลขาฯ : ผอ. กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สผ.
- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ประธาน : นายกรัฐมนตรี
เลขาฯ : ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์
พันธกรณีที่สำคัญ และโครงการ/กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
พันธกรณีที่สำคัญ |
โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว |
ม. 2 กำหนดว่า ประเทศภาคีต้องกำหนด ให้พื้นที่ชุ่มน้ำในอาณาเขตประเทศตนเอง อย่างน้อย 1 แห่ง ถูกบรรจุชื่ออยู่ใน "บัญชีรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีตามความสำคัญ ระดับนานาชาติ" และจะต้องดูแลรักษา พื้นที่ชุ่มน้ำนั้นให้ดำรงไว้เป็นอย่างดี ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความสำคัญ ระดับนานาชาติในเรื่องนิเวศวิทยา พฤกษศาสตร์สัตววิทยา ชลวิทยา และอุทกวิทยา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ
|
- ครม. มีมติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ให้พรุ ควนขี้เสี้ยน บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็น Ramsar Site - การยกร่างนโยบายมาตรการและแผนปฏิบัติการ จัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบของ ครม. แล้ว - ตรา พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 - ตรา พ.ร.บ. พันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติผ่านเป็น กฎหมายเมื่อวันที่13 มีนาคม 2535 |
ม. 3 กำหนดให้ภาคีสมาชิกพิจารณาดำเนินการ ให้มีการนำเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ บรรจุอยู่ ในแผนการใช้ที่ดินแห่งชาติ (National Land-Use Planning) โดยที่การวางแผนและ การปฏิบัติการนั้นจะต้องเป็นไป เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด ต่อพื้นที่ชุ่มน้ำภายในอาณาเขตประเทศตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ |
|
ม. 4.1 ภาคีจักต้องสนับสนุนการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ และนกน้ำโดยการจัดตั้งพื้นที่สงวนของพื้นที่ชุ่มน้ำ ไม่ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านั้นจะถูกบรรจุรายชื่ออยู่ในบัญชี หรือไม่ก็ตาม และจะต้องมีมาตรการคุ้มครองพื้นที่เหล่านั้นด้วย |
- มีการจำแนกพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย โดยกรมป่าไม้ ไว้ทั้งสิ้น 42 แห่ง |
ม. 4.5 ภาคีจักต้องส่งเสริมสนับสนุนการฝึกอบรมแบบบุคลากร ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำให้มีความรู้ ความชำนาญของเรื่องการศึกษาวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ และการพิทักษ์คุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำ |
|
ชื่อ |
พื้นที่ (ไร่) |
ที่ตั้งจังหวัด |
ลุ่มน้ำเชียงแสน |
62,500 |
เชียงราย |
พรุหญ้าท่าตอน |
37,500 |
เชียงใหม่ |
หนองหลวง |
12,500 |
เชียงราย |
หนองห้าง |
4,625 |
เชียงราย |
หนองเล็งทราย |
6,562 |
พะเยา |
กว๊านพะเยา |
14,375 |
พะเยา |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง |
8,062 |
หนองคาย |
ลุ่มน้ำโมงตอนล่าง |
62,500 |
หนองคาย |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหัวคู |
70 |
อุดรธานี |
หนองหานกุมภาวปี |
28,125 |
อุดรธานี |
หนองหาร |
78,250 |
สกลนคร |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองแวง |
109 |
ชัยภูมิ |
หนองละหาร |
15,625 |
ชัยภูมิ |
ลำน้ำมูล |
337,500 |
มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีษะเกษ |
สบน้ำมูล – น้ำชี |
60,937 |
ศรีษะเกษและอุบลราชธานี |
ลำปลายมาศ |
11,875 |
บุรีรัมย์ |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยจระเข้มาก และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด 7 |
8,310 |
บุรีรัมย์ |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน |
3,568 |
บุรีรัมย์ |
ลำโดมใหญ่ |
30 กม. |
อุบลราชธานี |
ที่ราบลุ่มแม่น้ำยม |
312,500 |
สุโขทัย และพิษณุโลก |
บึงสีไฟ |
5,062 |
พิจิตร |
บึงบอระเพ็ด |
132,737 |
นครสวรรค์ |
ลำน้ำแควใหญ่และสาขา |
403 กม. |
ตาก อุทัยธานีและกาญจนบุรี |
ที่ราบภาคกลางตอนล่าง |
11,875,000 |
ภาคกลางตอนร่าง |
อ่าวไทย |
150 กม. |
|
น้ำขลุง |
156,250 |
จันทบุรี และตราด |
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด |
81,250 |
ประจวบคีรีขันธ์ |
ทุ่งคา |
31,250 |
ชุมพร |
อ่าวบ้านดอน |
120 กม. |
สุราษฎร์ธานี |
แม่น้ำตาปีและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง |
40,312 |
สุราษฎร์ธานี |
ปากน้ำปากพนัง |
93,750 |
นครศรีธรรมราช |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย |
281,625 |
พัทลุง สงขลา และนครศรี-ธรรมราช สงขลา |
ทะเลสาบสงขลา |
650,000 |
ปัตตานี |
อ่าวปัตตานี |
31,250 |
นราธิวาส |
ป่าพรุ |
216,475 |
สตูล |
เกาะตะรุเตา |
12,500 |
ตรังและสตูล |
ป่าชายเลนปะเหลียน - ละงู |
195,000 |
ตรัง |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม |
165,625 |
กระบี่ |
อ่าวกระบี่ |
71,250 |
พังงา |
อ่าวพังงา |
40,625 |
ภูเก็ต |
ฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภูเก็ต |
13,125 |
ระนอง |
บางเบน |
50,000 |
|