1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ผู้ช่วย รมว.เกษตร เปิดปฏิบัติการ "ลงแขกลงคลอง" ล่าปลาหมอคางดำ สมุทรสาคร
9 ก.ค. 2567
277
0
ผู้ช่วยรมว.เกษตรเปิดปฏิบัติการลงแขกลงคลอง
ผู้ช่วย รมว.เกษตร เปิดปฏิบัติการ "ลงแขกลงคลอง" ล่าปลาหมอคางดำ สมุทรสาคร

ผู้ช่วย รมว.เกษตร เปิดปฏิบัติการ "ลงแขกลงคลอง" ล่าปลาหมอคางดำ สมุทรสาคร

       ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร นายพิรุณโรจน์ นาคดนตรี นายอำเภอบ้านแพ้ว ทสจ.สมุทรสาคร กอ.รมน.สมุทรสาคร ศรชล.สมุทรสาคร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ประกอบการภาคประมง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันเปิดปฏิบัติการลงแขกลงคลอง ไล่ล่าปลาหมอคางดำ เพื่อเร่งกำจัดเอเลี่ยนสปีชีส์ออกไปจากระบบนิเวศ ณ คลองท่าแร้ง ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

       โดยในวันนี้เจ้าหน้าที่ได้นำเรืออวนรุนซึ่งเป็นเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็ก (เรือรุนเคย) พร้อมด้วยอวนล้อม และตาข่าย เป็นเครื่องมือในการจับปลาหมอคางดำ ที่ผ่านมาเรืออวนรุนเป็นพระเอกในการจับปลาหมอคางดำ โดยสามารถจับปลาหมอคางดำ บริเวณปากแม่น้ำชายฝั่งมหาชัยได้มากถึง 315 ตัน (วันที่ 15 ก.พ. - 30 มิ.ย. 67) จากปริมาณทั้งหมดที่จับได้ 470 ตัน โดยหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะดำเนินการจับปลาหมอคางดำในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสาครอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจะมีการปล่อยปลานักล่า (ปลากระพง) ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อให้ไปกินลูกปลาหมอคางดำ ทั้งนี้ จากการสุ่มทอดแหพบว่าปลาที่จับได้ 71 ตัว เป็นปลาหมอคางดำจำนวน 70 ตัว และเป็นปลานิล 1 ตัว จากการชั่งน้ำหนักและผ่าท้องปลาหมอคางดำพบมีไข่ปลาราว 500 - 700 ฟอง

        ดร.ณมานิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 67 ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ​์ได้ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อคิ๊กออฟการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ได้มีการประสานงานกับกรมพัฒนาที่ดินมาช่วยในการนำปลาหมอคางดำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ ตอนนี้งบประมาณที่ทางกรมประมงได้ตั้งมาเพื่อสนับสนุนในการรับซื้อปลาหมอคางดำ เหลือโควต้าอีกประมาณ 10,000 กิโลกรัม ซึ่งหลังจากนี้ทางประมงจังหวัดสมุทรสาคร จะได้นำเสนออธิบดีกรมประมง เพื่อขอให้พิจารณาสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง

        ด้าน นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดนำร่อง ที่ใช้เรืออวนรุน (เรือรุนเคย) ในการจับปลาหมอคางดำที่แพร่กระจายตามชายฝั่ง ซึ่งได้ผลดีมาก ทำให้จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่สามารถจับปลาหมอคางดำได้มากที่สุด โดยมีการตั้งจุดรับซื้อ 5 จุด อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการจับปลาหมอคางดำตามแหล่งน้ำชายฝั่ง ได้ขยายผลมายังบ่อเลี้ยงปลา ที่ประสบปัญหาปลาหมอคางดำหลุดเข้าไปในบ่อเลี้ยง โดยเกษตรกรที่ประสบปัญหาต้องมาลงทะเบียน เพื่อภาครัฐจะได้รับซื้อปลาหมอคางดำ จากเดิมที่ไม่มีราคา ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่จับปลาหมอคางดำมาขาย แต่จะปล่อยทิ้งไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ปัจจุบันสามารถจับมาขายได้ในราคา 8 บาท ต่อกิโลกรัม

        สำหรับปลาหมอคางดำที่จับได้ส่วนหนึ่งผู้รับซื้อจะนำไปสับหรือบดเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงปลากระพง และอีกส่วนจะถูกส่งเข้าโรงงานปลาป่น เพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้ปลาหมอคางดำยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้อีกด้วย

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง