1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
เกษตรฯ เตรียมฟื้นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ชูแม่ฮ่องสอนโมเดล ต้นแบบการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน
16 ก.ค. 2567
68
0
เกษตรฯเตรียมฟื้นพื้นที่ป่าต้นน้ำ
เกษตรฯ เตรียมฟื้นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ชูแม่ฮ่องสอนโมเดล ต้นแบบการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน

เกษตรฯ เตรียมฟื้นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ชูแม่ฮ่องสอนโมเดล ต้นแบบการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน

             ตามที่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้มีการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจะดำเนินการใน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก จัดระเบียบการเพาะปลูกที่เหมาะกับทรัพยากร และเติมเต็มความสมบูรณ์ทรัพยากรดินน้ำที่ดิน โดยการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม Land Suitable รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ ดิน ไฟฟ้า เป็นต้น ระยะที่ 2 ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ สร้างต้นแบบการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมเชื่อมโยงตลาดมูลค่าสูง ผ่านการพัฒนาและปรับเพิ่มผลิตภาพการผลิต ดินดี มีน้ำใช้ ผลผลิตสูง มุ่งคุณภาพพรีเมียม เพื่อยกระดับเพิ่มปริมาณผลผลิตภายใต้ทรัพยากรจำกัด โดยสนับสนุนการทำเกษตรแบบปราณีต สร้างเกษตรกรต้นแบบเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยทดสอบขยายผลเทคโนโลยีแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร และเชื่อมต่อสินค้าเกษตรขั้นต้น และระยะที่ 3 เสริมแนวคิดสร้างสรรค์ สร้างสิ่งใหม่ๆ เข้าสู่กระบวนการผลิตและตลาด ส่งเสริมผลักดัน Food and Craft Cultural ของจังหวัดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy เชื่อมโยงสู่ Soft Power ของประเทศ

          นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การขับเคลื่อนแม่ฮ่องสอนโมเดล เป้าหมายสำคัญคือการสร้างรายได้ให้เกษตรกร สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ควบคู่กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน ผ่าน 6 โมเดลย่อย ได้แก่ ดิน น้ำ พืช ประมง ปศุสัตว์ เกษตรที่สูง โดยพิจารณาครอบคลุมให้ทุกมิติพื้นที่ คน สินค้า มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานหนึ่งในการสนับสนุนแผนการขับเคลื่อนแม่ฮ่องสอน ดูแลในส่วนของโมเดลพืช ได้แบ่งสินค้า 2 กลุ่ม ดังนี้ สินค้ากลุ่มที่ 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง พัฒนายกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดห่วงโซ่ มุ่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายในปี 2570 ได้แก่ กาแฟ กระเทียม ถั่วลิสงลายเสือ และถั่วเหลือง

                สินค้ากลุ่มที่ 2 สินค้าเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร สร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร การเกษตรเชิงอนุรักษ์ เพื่อความยั่งยืน เชื่อมโยงกับวิถีชุมชน โดยวางแนวทางการพัฒนาสินค้าที่ปลูกในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อะโวคาโด งาขี้ม่อน บุก ส้มเขียวหวาน พริกกะเหรี่ยง กะหล่ำปลี มะคาเดเมีย ไผ่ ถั่วแดงหลวง ฟักทอง และผักกาดขาวปลี โดยมีกำหนดจะเปิดตัวโครงการและแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 นี้ ที่ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ท่าโป่งแดง) อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง