1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
Kick off แม่ฮ่องสอนโมเดล ตั้งเป้าในการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ พร้อมชูจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นต้นแบบการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยใช้หลักการเกษตรแบบแม่นยำ
18 ก.ค. 2567
264
25
Kickoffแม่ฮ่องสอนโมเดลตั้งเป้าในการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ
Kick off แม่ฮ่องสอนโมเดล ตั้งเป้าในการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ พร้อมชูจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นต้นแบบการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยใช้หลักการเกษตรแบบแม่นยำ

Kick off แม่ฮ่องสอนโมเดล ตั้งเป้าในการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ พร้อมชูจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นต้นแบบการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยใช้หลักการเกษตรแบบแม่นยำ

           ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick off แม่ฮ่องสอนโมเดล โดยมี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ มุ่งเป้าให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นต้นแบบการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยใช้หลักการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) พัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเตรียมการก่อนปลูก ได้แก่ ตลาดแม่นยำ พื้นที่แม่นยำ พันธุ์แม่นยำ การดูแลรักษา ได้แก่ ปุ๋ยแม่นยำ น้ำแม่นยำ เครื่องจักรกลแม่นยำ การจัดการโรคและแมลงแม่นยำ และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวแม่นยำ และการจำหน่ายแม่นยำ

           ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งเป้าที่จะให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายในปี 2570 ภายใต้การขับเคลื่อน 29 โครงการ เพื่อให้เกษตรกรมีความหลากหลายของรายได้ที่ยั่งยืนด้วยเกษตรผสมผสานพืชมูลค่าสูง เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้มูลค่าสูง เช่น พืชผัก อโวกาโด กาแฟอราบิก้า ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กล้วย โคเนื้อ ไก่ไข่ และปลาพลวงหิน อีกทั้งยังจะต้องเพิ่มกำไรสุทธิและบริหารจัดการต้นทุนด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาดแบบดิจิทัลชีวภาพ

           สำหรับโครงการแม่ฮ่องสอนโมเดลนี้ จะทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความพึงพอใจจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และอาหารเชิงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อีกทั้งภายในพื้นที่แม่ฮ่องสอนยังมีสินค้าเกษตรพื้นที่สูงที่มีเอกลักษณ์มีคุณค่า ส่งเสริมพลังงานสีเขียว ส่งเสริมพลังงานสีเขียวด้วยระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด มาตรฐานสิ่งแวดล้อมสุขภาพและโภชนา สามารถเข้าถึงง่ายและสะดวกด้วยแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและการจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพ มีความมั่นคงด้านอาหาร สร้างความหลากหลายทางชีวภาพป่าชุมชน food bank สร้างงานวิจัยและพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรสู่พรีเมี่ยม สินค้าอาหารสุขภาพ สินค้าเวชสำอางและสินค้าเภสัชพันธุ์ มีการเชื่อมต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการอาหารสุขภาพ และห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตลอดจนเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เป็นต้น

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง