1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
มกอช. จัดพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระดับนโยบาย 4 หน่วยงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551  
19 ก.ค. 2567
107
0
มกอช.จัดพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)
มกอช. จัดพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระดับนโยบาย 4 หน่วยงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551  

       สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมอนามัย กับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมี นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการระดับนโยบาย 4 หน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการ ด้านอาหารของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ระหว่างกัน โดยได้รับเกียรติจาก นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เกียรติร่วมเป็นพยานในพิธีลงนาม ดังกล่าว พร้อมด้วย นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แพทย์หญิง อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รองอธิบดีกรมอนามัย และ นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

       นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช. เปิดเผยการลงนามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เป็นการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมอนามัย กับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อบูรณาการความร่วมมือ ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการสำคัญ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรแบบบูรณาการร่วมกัน โดยสอดคล้องตามภารกิจของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) นอกจากนั้นยังได้มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินการในภาพรวมภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่ คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้านอาหารและโภชนาการสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนแนวคิดเชิงการจัดการในภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ระหว่างผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน ประธานคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องทั้ง 4 เรื่อง ดังกล่าว และผู้เกี่ยวข้อง ในครั้งนี้ด้วย

         เลขาธิการ มกอช. กล่าวต่ออีกว่า ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ 4 ด้าน เพื่อสนับสนุนการปฎิบัติงานของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม มีประสิทธภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยยุทธศาสตร์ ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านคุณภาพ และความปลอดภัยด้านอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านอาหารศึกษา และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ โดย มกอช. เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ภายใต้ 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ดัชนีคววามเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหารของสินค้าเกษตร และ 2) ร้อยละของสินค้าเกษตรขั้นต้นที่ผ่านมาตรฐาน ผ่านการขับเคลื่อนของคณะอนุกรรมจำนวน 4 คณะ ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร (คณะที่ 2) ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการติดตามเป้าหมายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร 2) คณะอนุกรรมติดตามเป้าหมายมูลค่าการค้าอาหาร 3) คณะอนุกรรมการการประเมินและจัดการความเสี่ยงความปลอดภัยอาหารและโรคที่เกิดจากอาหาร และ 4) คณะอนุกรรมการศึกษารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการการกล่าวอ้างประสิทธิผลของสินค้าเกษตรและอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ

        “มกอช. ได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยเพื่อหาค่าฐานของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรที่มีปริมาณการบริโภคมาก 9 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาน้ำจืด กุ้งทะเล ผลไม้ที่กินเปลือกได้ ผลไม้ที่กินเปลือกไม่ได้ ผักผล และผักใบ ซึ่งจะดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องไปจนถึง ปี พ.ศ. 2570 ซึ่งจะทำให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มหรือทิศทางของผู้บริโภคโดยรวมในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข้อมูล ผลการตรวจสอบสินค้าเกษตรสำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าว สินค้าปศุสัตว์ สัตว์น้ำ และผักและผลไม้สด เพื่อคำนวณร้อยละของสินค้าเกษตรขั้นต้นที่ผ่านมาตรฐาน พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อวางแผนหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ทันกับสถานการณ์และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ ทั้งนี้ ในอนาคตอาจมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหารของสินค้าเกษตรในประเทศไทยต่อไป ” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง