1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ก.เกษตรฯ จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาตลาดการบริโภค เนื้อโค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ เพื่อกำหนดโครงสร้างต้นทุน การตลาด การแก้ไขราคาตกต่ำ และแผนการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคเนื้อ
25 ก.ค. 2567
109
10
ก.เกษตรฯ จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาตลาดการบริโภค เนื้อโค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ เพื่อกำหนดโครงสร้างต้นทุน การตลาด การแก้ไขราคาตกต่ำ และแผนการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคเนื้อ
ก.เกษตรฯจัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาตลาดการบริโภค
ก.เกษตรฯ จัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาตลาดการบริโภค เนื้อโค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ เพื่อกำหนดโครงสร้างต้นทุน การตลาด การแก้ไขราคาตกต่ำ และแผนการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคเนื้อ

     นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาตลาดการบริโภค เนื้อโค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 4/2567 โดยมี นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบประเด็นสำคัญต่าง ๆ คือ

     1) ข้อเสนอการกำหนดโครงสร้างต้นทุนของห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อในส่วน ที่เกี่ยวข้องทุกระดับตั้งแต่ฟาร์ม โรงฆ่า และสถานที่จำหน่าย (เขียง) เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการแก้ไขปัญหาราคาโคเนื้อให้ดีขึ้นอย่างรอบด้าน โดยได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมก่อนเสนอนำเสนอเข้าคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ-กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (Beef Board) ต่อไป

     2) มาตรการส่งเสริมการตลาดและการแก้ปัญหาราคาโคเนื้อตกต่ำ ได้แก่ มาตรการควบคุมสารเร่งเนื้อแดงตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยพิจารณาจากฟาร์ม/สถานที่เลี้ยง/เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ โค-กระบือส่งออก มาตรการป้องกันและการลักลอบนำเข้าโคเนื้อ กระบือ เนื้อโค เนื้อกระบือ โดยมีมาตรควบคุมของกรมปศุสัตว์ตามแนวชายแดน มาตรการผลักดันการใช้เครื่องหมายประจำสัตว์ประเภทเบอร์หู (NID) เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการสินค้าโคเนื้อ กระบือ ทั้งระบบ และมาตรการส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคและสร้างความสามารถในการแข่งขันเนื้อโคไทยในทุกตลาด พร้อมส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

     3) แผนการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคเนื้อ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากยิ่งขึ้น

     และ 4) การทบทวนขั้นตอนการนำเข้าโค กระบือ จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และการเคลื่อนย้ายเพื่อการส่งออก โดยได้มีการพิจารณาได้เรื่องการนำเข้าสัตว์บริเวณชายแดน มาตรฐานสถานการณ์กักกันสัตว์ เครื่องหมายประจำตัวสัตว์ และการติดตามการนำเข้าโค กระบือ เข้าคอกกักนำเข้า มาตรการควบคุมเร่งเนื้อแดง และการกำหนดปริมาณการนำเข้าส่งออกและแผนการนำเข้าส่งออกโค กระบือ

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศ พบว่า ในเดือนเมษายน 2567 (ข้อมูลจากกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์) มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 1.440 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ก่อน ร้อยละ 1.13 มีโคเนื้อ จำนวน 9.912 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่ก่อน ร้อยละ 1.26 และมีความต้องการโคเนื้อในประเทศถึง 242.23 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.57 ทั้งนี้ ในปี 2567 (ม.ค. - มิ.ย.) ประเทศไทยมีการส่งออกโคมีชีวิต จำนวน 50,000 กว่าตัว มูลค่า 1,299 ล้านบาท โดยส่งออกไปประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 39.25 เวียดนาม ร้อยละ 33.47 ลาว ร้อยละ 26.63 และประเทศอื่น ๆ ร้อยละ 0.65 และมีการส่งออกเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ จำนวน 3,100 ตัน มูลค่า 48 ล้านบาท แบ่งเป็น เนื้อโคแปรรูป ร้อยละ 99 ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และเนื้อโคสดแช่เย็น ร้อยละ 1 ส่งออกไปยังประเทศลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ตามลำดับ

     สำหรับความก้าวหน้าการเจรจาการจำหน่ายโคเนื้อไปยังต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย มีความคืบหน้า ดังนี้ 1) เวียดนามมีหนังสืออนุญาตให้นำเข้าโค-กระบือมีชีวิตจากไทยเพิ่มเติม จำนวน 4 ฟาร์ม จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2567 และรออนุมัติจากกรมสุขภาพสัตว์เวียดนาม จำนวน 3 ฟาร์ม ซึ่งยื่นเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 67 2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ยื่นหนังสือรายชื่อฟาร์มโค-กระบือมีชีวิตที่ได้รับการรับรองเพิ่มเติมต่อกรมสัตวแพทย์บริการแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย โดยปัจจุบันประเทศไทยมีฟาร์มและสถานกักกันสัตว์ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปมาเลเซีย จำนวน 40 แห่ง 3) เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 67 กรมปศุสัตว์จัดส่งข้อมูลการประเมินความเสี่ยงระบบการป้องกันและควบคุมโรคในโคของประเทศไทย ให้สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนพิจารณา และติดตามการตอบกลับอย่างต่อเนื่อง และ 4) เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 67 กรมปศุสัตว์ ได้จัดประชุมชี้แจงขั้นตอนการส่งออกและเตรียมความพร้อมส่งออกโคมีชีวิตไปยังซาอุดีอาระเบียร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้ส่งออกโคมีชีวิตไปยังซาอุดิอาระเบีย เพื่อนำไปเชือดและทำพันธุ์ ได้ตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย.67 เป็นต้นไป

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง