1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รองปลัด กษ. ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ อาหารสัตว์น้ำ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
28 ก.ย. 2567
109
0
รองปลัดกษ.ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์
รองปลัด กษ. ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ อาหารสัตว์น้ำ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

รองปลัด กษ. ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ อาหารสัตว์น้ำ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 

     นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ อาหารสัตว์น้ำ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมี นายกฤต อุตตมะเวทิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเทอดศักดิ์ รัญจวน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ส่วนราชการในสังกัดกรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (แห่งที่ 2) 

            ทั้งนี้ ที่ประชุมมีประเด็นข้อหารือ จำนวน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์และสัตว์น้ำ ซึ่งเหตุผลที่ต้องลดต้นทุนเนื่องจากอาหารเม็ดในปัจจุบันมีราคาสูง จึงต้องการให้มีการลดต้นทุนการผลิต ราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาด โดยการผลิตอาหารสัตว์ ควรหากลุ่มตัวอย่าง อาจเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงมอบหมายให้เกษตรจังหวัดร่วมกับเกษตรอำเภอ กำกับดูแล เพื่อเป็นตันแบบให้กับกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

       นอกจากนี้ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดได้ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ จัดทำสูตรอาหารสัตว์ที่ชัดเจนและดำเนินการผลิต และมอบประมงจังหวัดจดทะเบียน หากลุ่มผู้เลี้ยงปลานำอาหารปลาที่ผลิตไปทดลองใช้เป็นกลุ่มต้นแบบ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการมีแผนธุรกิจสินค้าเกษตร 

          2) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ธาตุอาหารสูง จะมีการพัฒนาสูตรปุ๋ย ตามค่าตรวจของดิน เน้นการลดต้นทุน และคุณภาพสูง โดยให้พัฒนาที่ดินจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ต้นแบบ

        3) การเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ 100,000 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยขอให้จังหวัดจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมรองรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ใช้ตลาดนำ โรงงานจะรับซื้อผลผลิต RSPO มุ่งสู่ความยั่งยืน และให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรส่งเสริมต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดนราธิวาสให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ได้แก่ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม สุราษฏร์ธานี 1 และพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม สุราษฏร์ธานี 2           มอบการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรวจสอบข้อมูลปรับเปลี่ยนจากยางพาราเป็นปาล์มน้ำมันเพื่อให้ได้พื้นที่ตามเป้าหมาย

 

        มอบสถานีพัฒนาที่ดินกำหนดเงื่อนไขการเข้าร่วมขุดคูยกร่อง เพื่อสนับสนุนการขุดคูให้แก่เกษตรกร ให้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นแปลงต้นแบบในการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO

        4) การจ้างอาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ระดับตำบล  ส่งเสริมและผลักดันให้มีการจ้างอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน และให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ดำเนินการออกแบบแบบรายงานผลให้ครบทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ และนำร่องในพื้นที่ตากใบโมเดล อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

 

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง