1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รมว.เกษตรฯ เคาะเพิ่ม “โกโก้” พืชเศรษฐกิจในกำกับคณะอนุกรรมการพืชสวน พร้อมสั่งทบทวนการยกเลิกหลักเกณฑ์รับซื้อเมล็ดกาแฟ ต้องไม่กระทบเกษตรกร
14 พ.ย. 2567
285
0
รมว.เกษตรฯเคาะเพิ่ม“โกโก้”พืชเศรษฐกิจในกำกับคณะอนุกรรมการพืชสวน
รมว.เกษตรฯ เคาะเพิ่ม “โกโก้” พืชเศรษฐกิจในกำกับคณะอนุกรรมการพืชสวน พร้อมสั่งทบทวนการยกเลิกหลักเกณฑ์รับซื้อเมล็ดกาแฟ ต้องไม่กระทบเกษตรกร

รมว.เกษตรฯ เคาะเพิ่ม “โกโก้” พืชเศรษฐกิจในกำกับคณะอนุกรรมการพืชสวน พร้อมสั่งทบทวนการยกเลิกหลักเกณฑ์รับซื้อเมล็ดกาแฟ ต้องไม่กระทบเกษตรกร

          ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วยนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร เข้าร่วม ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   

 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับปรุงคำสั่งคณะอนุกรรมการพืชสวนเพิ่มเติม โดยเพิ่มรายการพืชจากเดิมที่คณะอนุกรรมการพืชสวนกำกับดูแล 5รายการ ได้แก่ เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ชา พริกไทย และลำไย เพิ่มอีก 1 รายการ คือ โกโก้ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและมีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และยังไม่มีคณะกรรมการที่รับผิดชอบดูแลกำกับโดยตรง จึงเห็นชอบให้เพิ่มรายชื่อพืชโกโก้เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานที่รับผิดชอบดูแลโดยเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และส่งเสริมการพัฒนาให้พืชโกโก้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป อีกทั้ง เห็นชอบให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการพืชสวน โดยเพิ่มผู้แทนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้มีความชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาพืชสวนและผลิตภัณฑ์พืชสวนเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ก่อนเสนอ รมว.เกษตรฯ พิจารณาลงนามต่อไป

           รมว.นฤมล กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพืชสวน เรื่องการยกเลิกหลักเกณฑ์การรับซื้อเมล็ดกาแฟในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันผลผลิตกาแฟในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ การคงไว้ซึ่งหลักเกณฑ์ข้อกำหนด 1 : 1 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องรับซื้อผลผลิตกาแฟภายในประเทศในปริมาณที่เท่ากับกาแฟที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อการขออนุญาตส่งออกตามระเบียบที่กำหนดในปี 2566 อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอาจก่อให้เกิดข้อจำกัดในการส่งออกและการแข่งขันในตลาดโลก โดยที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ

         “ดิฉันได้มอบให้คณะอนุกรรมการพืชสวนรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปพิจารณาด้วยความรอบคอบและคำนึงถึงผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นการขอขยายปริมาณการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบในโควตาเพิ่มเติมปริมาณ 200 ตัน ภายใต้ WTO ปี 2567 ที่มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพืชสวน รับไปดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ที่ให้พิจารณาแผนการนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบในระยะยาว (3 ปี) ให้สอดคล้องกับความต้องการในประเทศ รวมทั้งศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเกษตรกรไทย” รมว.นฤมล กล่าว

               นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ที่สำคัญ อาทิ 1. ความคืบหน้าการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลง WTO ปี 2568 – 2569 สำหรับสินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและแห้งไม่เป็นผง) หัวพันธุ์มันฝรั่ง และมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ขณะนี้อยู่ระหว่างมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อบรรจุเป็นวาระในการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. ความคืบหน้าระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และคำสั่งคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ โดย รมว.เกษตรฯ ได้ลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 เรียบร้อยแล้ว จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเกี่ยวกับการประกอบกิจการในด้านการเกษตร พ.ศ. 2567 2) คำสั่งคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ที่ 1/2567 เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง และ 3) คำสั่งคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ที่ 2/2567 เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านการเกษตร

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง