นายคำพันธ์ เหล่าวงษี เกษตรกรผู้ที่เคยมีความคิดว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้นไม่ มีทางที่จะร่ำรวยอยู่สุขสบายได้ จึงเลือกศึกษาสายอาชีพในแผนกช่างกลโลหะและเข้ามาทำงานในโรงงานที่กรุงเทพฯ จนได้พบว่ารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่มี จึงหันกลับมาเปิดโรงกลึงที่บ้านเกิดโดยนำที่นาไปจำนองแต่สุดท้ายเป็นหนี้สินจนต้องตัดสินใจขายที่นาทั้งหมดเพื่อชำระหนี้ และได้ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพร้อมศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้นายคำพันธ์ หันกลับมาทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ในปี พ.ศ. 2541 โดยดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ คือ ทำตามสภาพของตนเองทำจากน้อยไปมากจากง่ายไปยาก พึ่งพาตนเองเน้นความพอเพียง ใช้เหตุผลในการวางแผนการดำเนินชีวิตโดยพิจารณาตามหลักการว่าจะทำอะไร ช่วงไหน อย่างไร เท่าไหร่และแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในครอบครัว พร้อมทั้งมีการวางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งด้านการใช้จ่ายโดยมีการเก็บออม วางแผนด้านการเกษตรโดยคิดหาวิธีกักเก็บน้ำในช่วงแล้ง ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้องกันความเสี่ยง มีการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ
อายุ 57 ปี
การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
สถานภาพ สมรส มีบุตร 3 คน (ชาย 1 คน หญิง 2 คน)
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข
อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ 089-618-4075, 061-582-2235
อาชีพ เกษตรกรรม
คุณลักษณะส่วนบุคคล
นายคำพันธ์ เหล่าวงษี เกษตรกรผู้ที่เคยมีความคิดว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้นไม่ มีทางที่จะร่ำรวยอยู่สุขสบายได้ จึงเลือกศึกษาสายอาชีพในแผนกช่างกลโลหะและเข้ามาทำงานในโรงงานที่กรุงเทพฯ จนได้พบว่ารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่มี จึงหันกลับมาเปิดโรงกลึงที่บ้านเกิดโดยนำที่นาไปจำนองแต่สุดท้ายเป็นหนี้สินจนต้องตัดสินใจขายที่นาทั้งหมดเพื่อชำระหนี้ และได้ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพร้อมศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้นายคำพันธ์ หันกลับมาทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ในปี พ.ศ. 2541 โดยดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ คือ ทำตามสภาพของตนเองทำจากน้อยไปมากจากง่ายไปยาก พึ่งพาตนเองเน้นความพอเพียง ใช้เหตุผลในการวางแผนการดำเนินชีวิตโดยพิจารณาตามหลักการว่าจะทำอะไร ช่วงไหน อย่างไร เท่าไหร่และแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในครอบครัว พร้อมทั้งมีการวางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งด้านการใช้จ่ายโดยมีการเก็บออม วางแผนด้านการเกษตรโดยคิดหาวิธีกักเก็บน้ำในช่วงแล้ง ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้องกันความเสี่ยง มีการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ผลจากความไม่ย่อท้อในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ช่วง 1-3 ปีแรก ครอบครัวมีความพออยู่พอกินมีผลผลิตเหลือขาย เริ่มมีเงินออม และในปีที่ 6 สามารถชำระหนี้สินได้หมดสิ้นสร้างบ้านอยู่อาศัยได้เพิ่ม อีก 3 ปีต่อมาสามารถซื้อที่ทำการเกษตรเพิ่มได้อีก 7 ไร่ และส่งลูกเรียนได้ทุกคน นอกจากนั้น นายคำพันธ์ ยังเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เอื้ออาทร ไม่มัวเมาอบายมุข ประกอบสัมมาอาชีพโดยไม่เบียดเบียนใคร ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในชุมชน อุทิศตนในการทำงานให้กับสังคมด้วยการเป็นผู้นำ และผู้ร่วมในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เป็นอาสาสมัครครูบัญชี เป็นศูนย์อบรมผู้มีจิตอาสาพัฒนาสังคมที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ผลงานสร้างคุณประโยชน์
นายคำพันธ์ เป็นผู้คิดค้นผลงานสร้างองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง เช่น ศึกษาและคิดค้น โมเดล 1 งาน 1 แสน โดยผสมผสานกับองค์ความรู้ เทคนิคการทำเกษตรกรรมยั่งยืนแบบผสมผสานด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่ต้องการทำการเกษตรตามหลักการพึ่งพาตนเอง สามารถนำไปปฏิบัติตามได้จริง ศึกษาองค์ความรู้ในการทำนาอินทรีย์ต้นทุนต่ำด้วยวิธีการปลูกข้าวแบบต้นเดียวที่นอกจากจะลดต้นทุนในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกรแล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตที่ได้ จัดตั้งตลาดชุมชนหรือตลาดสีเขียวแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้กับสมาชิกในชุมชน สร้างให้เกิดความร่วมมือของสมาชิกในชุมชนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผ่านกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนโดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น
การขยายผลงาน
นายคำพันธ์ ได้สร้างตัวอย่างของความสำเร็จในการดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติใช้ในรูปแบบของโมเดลการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ และพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย มีการสร้างกลุ่มสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม มีเครือข่ายในการขยายผลงานทั้งในระดับชุมชน เช่น จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนอำเภอกันทรวิชัย ที่มีสมาชิกในอำเภอกันทรวิชัย กว่า 50 คน การขยายผลร่วมกับกลุ่มและเครือข่ายต่าง ๆ หน่วยงานภาคราชการ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ด้วยการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยระหว่างปี 2550-2558 มีผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานจากนายคำพันธ์ มากกว่า 19,800 ราย อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อต่าง ๆ อีกด้วย