ปราชญ์เกษตรดีเด่น
Philosopher of Sufficiency Economy
  • RESET
แสดงข้อมูล 14/14 รายการ
  • นายพิบูลย์ชัย ชวนชื่น
  • นายพิบูลย์ชัย ชวนชื่น
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2567
    สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นนายพิบูลย์ชัย ชวนชื่นอายุ 52 ปีการศึกษา ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์การเดินเรือ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยบูรพาสถานภาพ สมรส ที่อยู่ บ้านเลขที่ 190/3 หมู่ที่ 1 ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน
  • นายวีรวัฒน์ จีรวงส์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2566
    สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นนายวีรวัฒน์ จีรวงส์อายุ 71 ปีการศึกษา ปริญญาตรี วท.บ. (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสถานภาพ สมรส ที่อยู่ บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 5 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว
  • นายวีรวัฒน์ จีรวงส์
  • นายสุพจน์ สิงห์โตศรี
  • นายสุพจน์ สิงห์โตศรี
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2565
    สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นนายสุพจน์ สิงโตศรีอายุ 57 ปีการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรกรรมสถาบันวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรีสถานภาพ สมรส ที่อยู่ บ้านเลขที่ 95/1 บ้านหนองมะตูม หมู่ที่ 9 ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี
  • นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2564
    นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาลอดีตเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โดยทำกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพืช ปัจจัยการผลิตพืช ต้นทุนปัจจัยการผลิต ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนพืช ตั้งแต่เป็นพนักงานฝ่ายการตลาดจนถึงผู้จัดการฝ่ายการตลาด เมื่อได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดภาคใต้ จึงมีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนและพฤติกรรมทุเรียน และเมื่อเห็นว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีราคาดีจึงตัดสินใจลาออกมาทำสวนทุเรียน เมื่อปี 2539 เริ่มจากเช่าพื้นที่ทำสวนทุเรียนนอกฤดูกาลในอำเภอพะโต๊ะ จำนวน 15 ไร่ และเช่าพื้นที่เพิ่มเติมในอำเภอหลังสวน จำนวน 18 ไร่ รวมเช่าพื้นที่จำนวน 33 ไร่ ในจังหวัดชุมพร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 23 ตัน ในราคา 50 บาท/กก.ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในขณะนั้นจึงทำให้เกษตรกรบริเวณใกล้เคียงสนใจมาสอบถามแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่อง และถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล เมื่อประสบความสำเร็จจึงเกิดแนวคิดที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้ถ่ายทอดความรู้ด้วยการเขียนหนังสือและเอกสารการทำทุเรียนทวาย แจกจ่ายให้เกษตรทั่วไป และเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการทำสวนทุเรียนทั้งในและนอกฤดู สามารถซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ จำนวน20 ไร่ และซื้อเพิ่มเติมอีกจำนวน 31 ไร่ ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่การทำสวนส้มโชกุน สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ใช้สอยยืนต้นและปลูกพืชอาหารจำพวกพริก ตะไคร้ มะนาว กล้วย มะละกอ ไผ่กิมซุงและมีการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น แยมส้มโชกุน เเครกเกอร์ส้มโชกุน แยมทุเรียน ทุเรียนกวน ทุเรียนทอดและทุเรียนเชื่อม โดยจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศในปี 2563 มีรายได้จากการขายผลทุเรียนกว่า 2.6 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้วคงเหลือกำไร2 ล้านบาทนอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงในการผลิตทุเรียนคุณภาพทั้งในและนอกฤดูกาล
  • นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล
  • นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์
  • นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2563
    นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ อดีตเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โดยทำกิจกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันตั้งแต่เป็นพนักงานตรวจงานจนถึงผู้จัดการสวน และมีแนวคิดที่จะพัฒนาสภาพสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ของตนเองที่บิดาและมารดาได้มอบให้ จำนวน 50 ไร่ จึงเริ่มต้นจากการเอาเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมจากประเทศมาเลเซียมาเพาะด้วยตนเอง จำนวน 2,000 เม็ด ด้วยความเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าจึงได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การปฏิบัติดูแลรักษาสวน ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวมาปรับใช้จนประสบความสำเร็จ สามารถขยายพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของตนเองเป็นจำนวน250 ไร่นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพเสริมในสวนปาล์ม เช่น เลี้ยงแพะ เพาะเห็ด ปลูกดอกดาวเรืองเป็นต้น พัฒนาพื้นที่ของตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการผลิตปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและใช้ระบบการบริหารจัดการแบบเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการควบคุมคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันโดยกำหนดเป็นกฎระเบียบชัดเจน รวมทั้งติดตามตรวจสอบ ดูแลแปลงของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
  • นายจำนงค์ บุญเลิศ
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2560
    นายจำนงค์ บุญเลิศเกษตรกรผู้ปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพจากการเลี้ยงหมูมาเพาะเลี้ยงปลา เนื่องจากเห็นว่าการเลี้ยงหมูมีต้นทุนสูงและส่งกลิ่นทำให้เกิดมลภาวะจึงหันมาทำการเพาะพันธุ์ปลานิลและเลี้ยงปลานิลเป็นอาชีพหลักนายจำนงเข้ารับการฝึกอบรมจากส่วนราชการและสถาบันการศึกษาแล้วจึงนำความรู้มาปฏิบัติใช้เวลาในการศึกษา ค้นคว้า สังเกตและคิดค้นเทคนิคในการเพาะพันธุ์ปลานิลที่ดีมีคุณภาพจนเกิดความเชี่ยวชาญ ขยายการดำเนินกิจกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิลและกิจกรรมอื่น ๆ ในพื้นที่ 70 ไร่ ใช้แรงงานจากชาวบ้านในพื้นที่ สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลานิลได้ปีละประมาณ 36 ล้านตัว ส่งขายทั้งในและต่างประเทศได้เฉลี่ยเดือนละ 3 ล้านตัว ผลิตปลานิลตัวใหญ่จำหน่ายได้มากถึงปีละ 50 ตัน และดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอื่น ๆ เพื่อการบริโภคสำหรับครอบครัวตนเองและลูกจ้างในไร่นา เช่น ทำนาปลูกพืชผักต่าง ๆ ทำสวนป่า เพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ปลาไหล ปลาคาร์ฟ กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามแดง กบ ตะพาบน้ำ เป็นต้น
  • นายจำนงค์ บุญเลิศ
  • นายอาทิตย์ มติธรรม
  • นายอาทิตย์ มติธรรม
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์ดีเด่น ปี 2562
    นายอาทิตย์ มติธรรม อดีตข้าราชการครู ทำสวนผลไม้เป็นอาชีพเสริม เป็นระยะเวลา 25 ปี และผันตัวมาเป็นเกษตรกร ในปี 2538 โดยในช่วงราคาทุเรียนตกต่ำได้ไปศึกษาดูงานที่สวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี ทำให้นายอาทิตย์เกิดความสนใจการปลูกสละและซื้อต้นมาปลูกในครั้งแรก จำนวน 36 ต้น เป็นเกษตรกรรายแรก ที่นำสละมาปลูกเชิงพาณิชย์ในภาคใต้ และการศึกษาหาความรู้ พัฒนาตัวเองตลอดเวลาจนทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและชำนาญในการปลูกสละ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกสละ จำนวน 152 ไร่ นอกจากผลผลิตสละสดที่ได้รับรางวัลสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว แล้วยังมีผลผลิตแปรรูปจากสละ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล การผลิตเมล็ดกาแฟ จัดตั้งร้านกาแฟ ร้านขายของฝากจากสวน เปิดสวนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เป็นผู้ปฎิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จนสามารถปลดหนี้ได้ จากการคิดค้น พัฒนาการปลูกสละในภาคใต้จนประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้การทำสวนสละครบวงจร จึงทำให้เกษตรกรในเขตภาคใต้ที่ประสบปัญหายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ นำแนวคิดการปลูกสละไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง
  • นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์ดีเด่น ปี 2561
    นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรื่องเริ่มช่วยครอบครัวทำไร่อ้อย ตั้งแต่อายุ 8 ขวบและมีประสบการณ์ทำงานในโรงกลึงเหล็ก จึงทำให้มีความรู้เรื่องเครื่องจักรสามารถคิดค้นประดิษฐ์หางปลูกอ้อยด้วยตนเอง เป็นผู้มีความเพียรพยายาม ศึกษาค้นคว้าจนประสบความสำเร็จดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่กว่าพันไร่ ประกอบด้วย อ้อย ปาล์มน้ำมันมันสำปะหลัง มะขามหวาน ยูคาลิปตัส ยางพารา ไผ่หวาน สะเดา และอื่น ๆ มีความเชี่ยวชาญด้านการคิดค้น พัฒนาและปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอ้อย โดยคิดค้นความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า (Input) ได้แก่ การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน การคัดเลือกสายพันธุ์อ้อย กระบวนการผลิต (Process) ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตัน/ไร่ การประดิษฐ์หางปลูกอ้อย แบบAll In One(6in 1) แบบ 1 ร่อง 4 แถว การปลูกอ้อยข้ามแล้งโดยระบบน้ำหยอดและการนำออก (Output)ได้แก่ การรวมกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่เป็นอ้อยแปลงใหญ่จากการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคต่าง ๆทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มทุนที่สุด
  • นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง
  • นายสุวิทย์ ไตรโชค
  • นายสุวิทย์ ไตรโชค
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2556
    นายสุวิทย์ ไตรโชคเป็นลูกชาวนา ชาวอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความตั้งใจตั้งแต่เด็กว่าอยากจะมีอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความสำเร็จและมีฐานะดี เนื่องจากรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย และบิดา มารดา เป็นชาวนา ซึ่งชาวนาสมัยก่อนเป็นอาชีพที่ยากจน จึงได้มุ่งมั่นศึกษาจนสามารถเรียนจบปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอเกล้าธนบุรี เนื่องจากคิดว่าถ้าเรียนด้านการเกษตรเงินเดือนจะไม่สูง ไม่มีเงินเก็บมาลงทุนทำการเกษตร จึงได้เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่มีรายได้สูง มีเงินทุนมาทดลองทำการเกษตร ช่วงวันหยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ มีการพัฒนาและศึกษาการทำการเกษตรด้วยตนเอง ตลอดจนปรึกษาอาจารย์ผู้รู้ด้านการเกษตร จนสามารถสร้างเทคโนโลยีการผลิตแคนตาลูปเมล่อนได้คุณภาพดี ปริมาณสูง จึงได้ลาออกจากงานประจำมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว และได้รับชนะเลิศผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่นระดับจังหวัดและประเทศในปี 2551
  • นายจาง ฟุ้งเฟื่อง (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2558)
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2555
    นายจาง ฟุ้งเฟื่องเฒ่าทะเลแห่งอ่าวมหา เจ้าของแนวคิด “ธนาคารปูม้า” กลับมีความสุขอยู่กับการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าและการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ชาวบ้านเกาะเตียบแทบทุกหลังคาเรือนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน การดักลอบปูม้า เป็นอีกหนึ่งอาชีพของคนที่นี่ ในวันที่อากาศปลอดคลื่นลมมรสุม เรือประมงพื้นบ้านออกไปวางลอบดักปูไว้กลางทะเลตั้งแต่เย็นวาน เช้าวันรุ่งขึ้นจึงกลับมากู้และกลับเข้าฝั่งพร้อมปูม้าและปูอื่นๆ ที่พร้อมต้มแกะเนื้อ และส่งขาย กระทั่งเกิดวิกฤตหนักช่วงปี พ.ศ. 2544 มีเรือประมงขนาดใหญ่ลักลอบเข้ามาหากินบริเวณชุมชนเกาะเตียบ อ่าวทุ่งมหา โดยใช้ลอบที่มีขนาดตาถี่เกินไป แทนที่จะได้ปูตัวใหญ่อย่างเดียว แต่กลับลากลูกปูที่อยู่ในวัยอนุบาลขึ้นมาด้วย จำนวนปูม้าที่เคยจับได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็เริ่มลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านได้รับบทเรียนจากวิกฤตด้านทรัพยากรทางทะเลที่ร่อยหรอ ชาวประมงบางคนทำกินไม่ได้ก็ต้องย้ายถิ่น บางคนก็หันไปทำอย่างอื่น ลุงจางจึงได้คิดริเริ่มทำธนาคารปูม้าด้วยตนเองจนเห็นผลเป็นที่น่าพอใจ และขยายผลสู่ชุมชนตั้งแต่ปี 2545 กระทั่งประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และเกิดการเผยแพร่กระจายองค์ความรู้ไปสู่หลายพื้นที่ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันและต่างประเทศ
  • นายจาง ฟุ้งเฟื่อง (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2558)
  • นายอัคระ ธิติถาวร
  • นายอัคระ ธิติถาวร
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาชาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2559
    นายอัคระ ธิติถาวรเกษตรกรผู้พลิกผันชีวิตตนเองจากลูกจ้างบริษัทเอกชน มาทำเกษตรกรรม เนื่องจากเห็นว่าการเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนไม่มีความยั่งยืนในชีวิต จึงได้เริ่มกลับมาทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง จำนวน 5 ไร่ ปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นแบบอินทรีย์และเลี้ยงแพะประมาณ 10 ตัว เพื่อใช้มูลแพะให้เป็นปุ๋ยแก่พืชผักที่ปลูกต่อมาได้เล็งเห็นว่าการเลี้ยงแพะสามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ จึงหันมาให้ความสนใจการเลี้ยงแพะนมเชิงอินทรีย์โดยทำการศึกษา คัดเลือกพันธุ์แพะนมพื้นเมืองและแพะนมจากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองวิธีการเลี้ยงดูตามธรรมชาติ และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ คิดค้นองค์ความรู้ในการใช้พืชสมุนไพรดูแลสุขภาพสัตว์แทนการใช้สารปฏิชีวนะ ปัจจุบันฟาร์มแพะนมของนายอัคระ มีแพะ จำนวน 77 ตัว มีลักษณะเป็นฟาร์มขนาดเล็กแต่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ครบวงจรโดยใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก นายอัคระ ใช้เวลาว่างในการศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อสร้างองค์ความรู้การเลี้ยงแพะ ด้วยความมีจิตสาธารณะจึงได้ใช้ความรู้ความสามารถ และใช้พื้นที่ดำเนินกิจกรรมการเกษตรของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการเลี้ยงแพะ ศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์อินทรีย์การเลี้ยงแพะ เป็นที่ทำการหมอดินของหมู่บ้าน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่
  • นายชัยพร พรหมพันธุ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2558
    นายชัยพร พรหมพันธุ์ เป็นลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางใหญ่ พื้นเพเดิมเป็นคนตำบลบ้านแหลม จังหวัดสุพรรณบุรี สมัยเด็ก ๆ ไม่ได้เรียนหนังสือ บิดาจึงส่งไปทำงานอยู่อู่ซ่อมรถกว่า 3 ปี แล้วกลับมาช่วยที่บ้านทำนาเมื่อปี พ.ศ. 2525 หลังจากแต่งงานแล้วจึงย้ายมาอยู่กับภรรยาและทำนาด้วยการใช้สารเคมีมาโดยตลอดในพื้นที่ 25 ไร่ ได้ข้าวเปลือกเพียง 13 เกวียน ทำให้ขาดทุน ทุกปี จึงคิดหาทางออกให้กับตนเองด้วยการหาความรู้จากหนังสือและการเข้าอบรมจากที่ต่าง ๆ จนในปี พ.ศ. 2532 อาจารย์เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิข้าวขวัญ ได้ขอที่ 5 ไร่ ของบิดาเพื่อทำการทดลองปลูกข้าวโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรควบคุมแมลงและบิดาไม่มีเวลาดูแลแปลงนาดังกล่าว ตนจึงต้องไปดูแลเองผลปรากฏว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการทำนาโดยใช้สารเคมี พบว่ารายได้ที่ได้รับมากกว่าการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและยังสังเกตเห็นแปลงข้าวที่ฉีดสมุนไพรไม่มีเพลี้ยรบกวน จากประสบการณ์และการเรียนรู้ครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของการลดการใช้สารเคมีและเริ่มใช้วิธีผสมผสานกับสมุนไพรในที่นาตนเอง 8 ไร่ และขยายไปจนถึง 108 ไร่ ในปัจจุบัน
  • นายชัยพร  พรหมพันธุ์
  • นายสุพงษ์ วรวงษ์
  • นายสุพงษ์ วรวงษ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2557
    นายสุพงษ์ วรวงษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตรกรรมมากว่า 18 ปี โดยหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในช่วงแรกได้ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์พิเศษสอนในสถาบันการศึกษา ต่อมาได้ปฎิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการสัตวบาล ผู้ช่วยนักวิจัยประมง นักวิชาการฟาร์ม มาตามลำดับ หลังจากได้สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานด้านต่างๆ นายสุพงษ์จึงได้แนวคิดที่จะทำกิจการฟาร์มของตัวเองตามความถนัด โดยมีแรงจูงใจจากการสังเกตวิถีชีวิตคนในชุมชนอำเภอมัญจาคีรี ซึ่งชอบบริโภคปลาสดเป็นอาหารหลัก และในอำเภอมัญจาคีรีเป็นที่ตั้งของโครงการพระราชดำริฯ บึงกุดเค้า ในพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่ ทำให้มีแหล่งน้ำที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรมได้เป็นอย่างดี จึงได้ก่อตั้ง “บุญโฮมฟาร์ม” และได้นำประสบการณ์ความรู้มาประยุกต์ใช้และปรับปรุงพันธุ์ปลา จนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถผลิตปลานิลแปลงเพศรายแรกของภาคอีสาน
  • นายสุพงษ์ วรวงษ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2557
    นายสุพงษ์ วรวงษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตรกรรมมากว่า 18 ปี โดยหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในช่วงแรกได้ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์พิเศษสอนในสถาบันการศึกษา ต่อมาได้ปฎิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการสัตวบาล ผู้ช่วยนักวิจัยประมง นักวิชาการฟาร์ม มาตามลำดับ หลังจากได้สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานด้านต่างๆ นายสุพงษ์จึงได้แนวคิดที่จะทำกิจการฟาร์มของตัวเองตามความถนัด โดยมีแรงจูงใจจากการสังเกตวิถีชีวิตคนในชุมชนอำเภอมัญจาคีรี ซึ่งชอบบริโภคปลาสดเป็นอาหารหลัก และในอำเภอมัญจาคีรีเป็นที่ตั้งของโครงการพระราชดำริฯ บึงกุดเค้า ในพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่ ทำให้มีแหล่งน้ำที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรมได้เป็นอย่างดี จึงได้ก่อตั้ง “บุญโฮมฟาร์ม” และได้นำประสบการณ์ความรู้มาประยุกต์ใช้และปรับปรุงพันธุ์ปลา จนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถผลิตปลานิลแปลงเพศรายแรกของภาคอีสาน
  • นายสุพงษ์  วรวงษ์
ตกลง