ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
Philosopher of Sufficiency Economy
  • RESET
แสดงข้อมูล 16/16 รายการ
  • นายวินิจ ถิตย์ผาด
  • นายวินิจ ถิตย์ผาด
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2567
    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงนายวินิจ ถิตย์ผาดอายุ 74 ปีการศึกษา ปริญญาตรีส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสถานภาพ สมรสที่อยู่ บ้านเลขที่ 167 บ้านหนองแวงใหญ่ หมู่ที่ 8 ตำบลภูปอ
  • นายเมธี บุญรักษ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2566
    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงสาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงนายเมธี บุญรักษ์อายุ 63 ปีการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ช่างยนต์)สถานภาพ สมรสที่อยู่ บ้านเลขที่ 98/87 บ้านซรายอ หมู่ที่ 1 ตำบลปาเสมัสอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสโทรศัพท์ 087 968 2944อาชีพ เกษตรกรรมคุณลักษณะส่วนบุคคล นายเมธี บุญรักษ์ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคการเกษตร 36 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 26 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 26 ปี เกษตรกรผู้มีภูมิปัญญาสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นต้นแบบรูปธรรมในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร เป็นที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับและนำไปเผยแพร่ สื่อสาร ขยายผลจนเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคการเกษตรไทยอย่างโดดเด่นระดับประเทศ ทั้งเป็นผู้มีชีวประวัติและวิถีชีวิตที่พอเพียง และมีคุณธรรม มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลสังคม เดิมนายเมธี บุญรักษ์ ทำงานเป็นนายช่างยนต์ที่ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากห่างไกลและต้องการให้เวลากับครอบครัว จึงเริ่มวางแผนทำการเกษตรในเวลาที่หยุดกลับมาพักผ่อนที่บ้าน โดยทำการเกษตรบนพื้นที่ที่เป็นมรดกของพ่อและแม่ จำนวน 10 ไร่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่มีความรู้ทางการเกษตรเพราะจบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาช่างยนต์ ประกอบกับดินมีสภาพปนทราย จึงเดินทางไปศึกษาศาสตร์พระราชาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการพัฒนาพื้นที่ แล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ ด้วยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อปรับโครงสร้างดิน ลดการพังทลายของหน้าดิน เป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น จนดินมีความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาในปี 2546 จึงได้ลาออกกลับมาทำการเกษตรอย่างเต็มตัว เริ่มจากการปรับรูปแบบการผลิตจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เน้นเฉพาะไม้ผล เป็นรูปแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน หลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนภายในแปลง ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยเริ่มจากการทำเกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ ตามลำดับ จนได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ORGANIC THAILAND) และได้รับการรับรองการผลิตสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ลองกอง GI ตันหยงมัส เป็นการยกระดับสินค้าเกษตรอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานรับรองส่งผลให้ผลผลิตมีมูลค่าสูงขึ้น และสามารถกำหนดราคาเองได้
  • นายเมธี บุญรักษ์
  • นายสงวน มลคลศรีพันเลิศ
  • นายสงวน มลคลศรีพันเลิศ
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2565
    สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงนายสงวน มงคลศรีพันเลิศ อายุ 62 ปี การศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • นายสุชล สุขเกษม
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2564
    นายสุชล สุขเกษม มีประสบการณ์ในการทำงานภาคเกษตร 17 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียงมาเป็นระยะเวลา 16 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 16 ปี ในช่วงปี 2552 ทำการเกษตรแบบผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน และในปี2556 สามารถสร้างรายได้ในพื้นที่ 1 ไร่ มีรายได้ 2 แสนบาท โดยศึกษาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รวมถึงค้นคว้าฝึกอบรม และนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ มาปรับใช้ลงมือทำในพื้นที่ 1 ไร่ ของตนเอง โดยยึดพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และผสมผสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการเกษตรสำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การปลูกพืชแบบผสมผสาน การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การเลี้ยงชันโรง การเลี้ยงไส้เดือน นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การทำไข่เค็มรสชาติต่างๆ เช่น ไข่เค็มรสต้มยำ ไข่เค็มรสกาแฟ การทำกล้วยแปรรูป การทำน้ำยาชนิดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม และน้ำยาถูพื้นไล่ยุง โดยใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รวมถึงมีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีฟาร์ม จนในปัจจุบันในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ถึง 2 แสนบาท โดยแบ่งเป็นรายได้ประจำวัน รายได้ประจำสัปดาห์ รายได้ประจำเดือนและรายได้ประจำปี สามารถพึ่งตนเองได้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน
  • นายสุชล สุขเกษม
  • นายสุทัศน์ รอดคลองตัน
  • นายสุทัศน์ รอดคลองตัน
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2563
    นายสุทัศน์ รอดคลองตันมีประสบการณ์ในการทำการเกษตร และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 48 ปี สามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้กว่า 24 ปี นายสุทัศน์ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พอดี พอประมาณ ไม่มีหนี้สิน ทำการเกษตรแบบพอเพียงตามวิถีชาวบ้าน ใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รู้จักคิดวิเคราะห์ หาเหตุผล หาสาเหตุ เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากร ที่มีอยู่ในชุมชน ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้ และทดลองปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ลดการใช้สารเคมี ปรับรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรผสมผสาน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต สามารถพึ่งพาตนเอง จนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนนอกจากนี้ยังอาสาช่วยเหลือทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและสังคม โดยสมัครใจและไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการติดต่อประสานงานกับเกษตรกร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรในภาพรวม รวมถึงเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ โดยสอนด้วยวิธีลงมือปฏิบัติให้เห็นผลอย่างแท้จริง และอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การทำสวนไม้ผล (มะม่วง มะพร้าว อินทผาลัม เป็นต้น) การปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงปลา (ปลาหมอ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาสลิด) การเลี้ยงกบ การเลี้ยงกุ้งขาว การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมักน้ำ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ การเผาถ่าน การผลิตน้ำส้มควันไม้ การผลิตแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน และการประดิษฐ์เครื่องมือภาคการเกษตรใช้เอง อาทิเช่น เครื่องคัดและนับมะนาว เครื่องคัดแยกข้าวกล้องเครื่องขอดเกล็ดปลา เป็นต้น
  • นายสุริยะ ชูวงศ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2562
    นายสุริยะ ชูวงศ์ เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นระยะเวลา 35 ปี เน้นความพอเพียง ทำแต่พอประมาณ พึ่งพาตนเอง ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ทำการจดบัญชีครัวเรือน บัญชีฟาร์ม และบันทึกข้อมูลการทำการเกษตรเพื่อวิเคราะห์วางแผนการผลิต มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเสียสละ และมีใจเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การทำการเกษตรแก่ผู้สนใจ มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่ 13 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการทำนาและการปลูกผลไม้ ปลอดสารพิษ เช่น ชมพู่ ละมุด มะนาว มะละกอ มะยงชิด กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ตาลโตนด เป็นต้น ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) ผลิตปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และเครื่องดักจับแมลงใช้ในไร่นา เพื่อลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตได้รับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตราสัญลักษณ์ Q เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยทางอาหารและด้านคุณภาพ มีการวางแผนการผลิต วางแผนการตลาด และหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างความระมัดระวังด้านการประกอบอาชีพ และวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัวอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการเวลา ทำงานเพื่อส่วนรวมและชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน
  • นายสุริยะ ชูวงศ์
  • นายสุธรรม จันทร์อ่อน
  • นายสุธรรม จันทร์อ่อน
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2561
    นายสุธรรม จันทร์อ่อนเคยเป็นผู้ทำการเกษตรแบบธรรมชาติ โดยเพาะปลูกพืชผักตามฤดูกาล และหันมาปรับเปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกแบบเกษตรเชิงเดี่ยว ตามคำเชิญชวนของบริษัทเอกชน โดยปลูกฝ้าย ปลูกอ้อย เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งสร้างรายได้ดีในช่วงแรกแต่สุดท้ายเกิดมีหนี้สิน เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรแต่ละอย่างมีต้นทุนที่สูง ประกอบกับในกระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากและมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพไม่ดี จึงหันกลับมายึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรแบบอินทรีย์ มีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนเพื่อวิเคราะห์ตนเอง จนสามารถปลดหนี้สินได้สำเร็จ และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 17 ปี สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
  • นายจันทร์ที ประทุมภา
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2554
    นายจันทร์ที ประทุมภาเป็นเกษตรกรที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 52 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ จากที่เคยประสบภาวะวิกฤตชีวิต มีหนี้สินจำนวนมาก ต้องขายทรัพย์สินที่มี และนำที่ดินไปจำนอง กระทั่งต้องไปทำงานรับจ้างที่ประเทศมาเลเซีย แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานหนัก และอดออม ภายในระยะเวลา 1 ปี จึงเหลือเงินกลับมาจนสามารถใช้หนี้ และไถ่ถอนที่ดินคืนมาได้ แล้วจึงเริ่มต้นวิถีเกษตรผสมผสานตั้งแต่ปี 2534 ด้วยทุนที่มีเหลืออยู่กับตัว คือ สองมือและอุปกรณ์ข้างกาย ได้แก่ จอบและบุ้งกี๋ ขุดสระน้ำด้วยแรงงานที่มีในครัวเรือน จำนวน 4 คน ใช้เวลา 3 เดือน จึงเริ่มเก็บกักน้ำได้ ดำรงตนอย่างสมถะสร้างอาหารไว้กินเองในครอบครัว และใช้แรงงานภายในครอบครัว 6 คน ไม่มีการจ้างแรงงานภายนอก
  • นายจันทร์ที ประทุมภา
  • นายผาย สร้อยสระกลาง
  • นายผาย สร้อยสระกลาง
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2553
    นายผาย สร้อยสระกลางเป็นบุคคลสำคัญที่ได้ส่งเสริมให้ชุมชนและคนในชุมชนได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยการทำเป็นตัวอย่างในเรื่องากรทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อในชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้รู้จักการอุดรูรั่วของตนเอง ค่อยเป็นค่อยไปจากเล็กไปหาใหญ่ มีขันติ วิริยะ สัจจะ ก็จะทำให้งานทุกอย่างสำเร็จ รวมถึงได้ส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักการออมน้ำด้วยการขุดสระน้ำด้วยตนเองจนในชุมชนมีสระน้ำเป็นของตัวเองจำนวนกว่า 200 บ่อ จนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
  • นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2559)
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2552
    นายวิบูรย์ เข็มเฉลิมผู้นำวิถีชีวิตเกษตรพึ่งตนเองในอดีตได้เข้ามาเป็นแรงงานเด็กในเมือง ฉะเชิงเทรา พยายามเรียนจนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2524 นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิมทำการเกษตรเชิงธุรกิจจนทำให้เกิดหนี้สินจำนนวนมาก ซึ่งเกษตรเชิงธุรกิจเป็นระบบที่ใช้การลงทุนด้วยเงินทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ การจ้างแรงงาน ซื้อพันธุ์ไถดิน เตรียมดิน ถางหญ้า ให้ปุ๋ย ให้สารเคมี แม้กระทั่งจะต้องจ้างแรงงานขนย้ายเพื่อนำไปขาย ทำให้ในปี 2504 ถูกธนาคารฟ้องร้องและบังคับให้ขายที่ดิน 200-300 ไร่ เพื่อนำไปใช้หนี้สิน จึงทำให้นายวิบูรณ์ เข็มเฉลิม เหลือที่ดินประมาณ 10 ไร่ และต่อมาได้เปลี่ยนวิถีชิวิตจากการเกษตรเชิงธุรกิจ มาสู่การเกษตรแบบพึ่งตนเอง บนที่ดินที่เหลืออยู่ ซึ่งนายวิบูรย์ ทำการเกษตรบนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ถูกต้อง สามารถเข้าใจทรัพยากร และจัดการเป็น ทำให้ไม่มีหนี้สิน และไม่เดือนร้อนไม่ว่าจะมีเงินมากน้อย เนื่องจากมีพออยู่พอกิน และไม่สร้างภาระให้กลายเป็นหนี้สินขึ้นมาอีก ซึ่งนายวิบูรณ์ มองว่า ปัญหาที่เกิดวันนี้ ไม่ใช่เรื่องของจำนวนที่ดินที่มีมากหรือน้อย หรือต้องทำอะไรจำนวนมากๆ แต่ปัญหาสำคัญที่เกิดคือไม่สามารถบริหารจัดการได้
  • นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ถึงแก่กรรม เมื่อปี 2559)
  • นายเอนก  จีวะรัตน์
  • นายเอนก จีวะรัตน์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2557
    นายเอนก จีวะรัตน์เรียนจบชั้น ปวส. ได้กลับมาทำเหมืองแร่ดีบุกต่อจากบิดา ระหว่างการทำเหมืองแร่ดีบุก ได้ปลูกยางพาราไปด้วยทำให้มีรายได้พออยู่พอกิน เมื่อทำเหมืองแร่ได้ประมาณ 5 ปี ได้เริ่มกังวลว่าในอนาคตเหมืองแร่ดีบุกคงหมดเนื้อแร่ นายเอนก จึงหันมาดำเนินกิจการเพาะต้นกล้ายางเพื่อจำหน่ายและเพาะปลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมอย่างจริงจังเป็นต้นมา ในช่วงแรก นายเอนก ได้ปลูกไม้ผลบนพื้นที่ จำนวน 5 ไร่ โดยเลือกที่จะปลูกต้นละไมซึ่งเป็นไม้ผลท้องถิ่นเพราะคิดว่าจะได้ราคาดี และเห็นว่ายังไม่มีเกษตรกรปลูกละไมมากนัก แต่การปลูกละไมต้องใช้ระยะเวลาถึง 7 ปี จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ ทำให้เกิดแนวคิดในการพึ่งตนเองในระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นละไม คือ“ต้องมีอาหารไว้บริโภค พึ่งตนเองได้ และต้องมีรายได้ทุกวัน”จึงทำการปลูกพืชสวน พืชไร่ นานาชนิด โดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือน และยังได้ศึกษากลไกการตลาดในชุมชนในระหว่างนี้ไปอีกทางหนึ่งด้วย
  • นายโชคดี ปรโลกานนท์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2556
    นายโชคดี ปรโลกานนท์ทำงานในบทบาทของนักพัฒนาภาคเอกชน ร่วมกับนายนิคม พุทธา เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่เข้ามา ดำเนินงานโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นายโชคดีปรโลกานนท์ริเริ่มงานพัฒนาในภาคเอกชน ในบทบาทของนักส่งเสริมการเกษตรของโครงการและขณะเดียวกันก็ได้ฟื้นฟูที่ดินของตนเอง สร้างสวนเกษตรกรรมยั่งยืน รูปแบบวนเกษตร โดยได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม และปราชญ์ชาวบ้านหลายคนจากโอกาสที่ได้นำพาชาวบ้านในโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไปเรียนรู้ศึกษาดูงาน
  • นายโชคดี ปรโลกานนท์
  • นายขวัญชัย รักษาพันธ์
  • นายขวัญชัย รักษาพันธ์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2555
    นายขวัญชัย รักษาพันธ์เป็นผู้ที่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากบุคคลโดยทั่วไป มีความขยันหมั่นเพียร พึ่งตนเอง เสมอต้นเสมอปลาย มีความรับผิดชอบตนเองและผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ และขันอาสา สังคมในทุกๆ ด้นที่ทำได้ทำให้ได้รางวัลคนดีที่สมควรยกย่องเชิดชู จากผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนักรักบ้านเกิด จากมูลนิธิรักบ้านเกิด และได้รับประกาศเกียรติคุณ คนดีศรีสังคม จาก ศ.นพ.ประเวศวะสี ประธานโครงการคนดีศรีสังคม
  • นายคำพันธ์ เหล่าวงษี
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2559
    นายคำพันธ์ เหล่าวงษีเกษตรกรผู้ที่เคยมีความคิดว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้นไม่มีทางที่จะร่ำรวยอยู่สุขสบายได้ จึงเลือกศึกษาสายอาชีพในแผนกช่างกลโลหะและเข้ามาทำงานในโรงงานที่กรุงเทพฯจนได้พบว่ารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่มี จึงหันกลับมาเปิดโรงกลึงที่บ้านเกิดโดยนำที่นาไปจำนองแต่สุดท้ายเป็นหนี้สินจนต้องตัดสินใจขายที่นาทั้งหมดเพื่อชำระหนี้ และได้ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพร้อมศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้นายคำพันธ์ หันกลับมาทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ในปี พ.ศ. 2541โดยดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ คือ ทำตามสภาพของตนเองทำจากน้อยไปมากจากง่ายไปยาก พึ่งพาตนเองเน้นความพอเพียง ใช้เหตุผลในการวางแผนการดำเนินชีวิตโดยพิจารณาตามหลักการว่าจะทำอะไร ช่วงไหน อย่างไร เท่าไหร่และแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในครอบครัว พร้อมทั้งมีการวางแผนรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งด้านการใช้จ่ายโดยมีการเก็บออม วางแผนด้านการเกษตรโดยคิดหาวิธีกักเก็บน้ำในช่วงแล้ง ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อป้องกันความเสี่ยงมีการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ
  • นายคำพันธ์ เหล่าวงษี
  • นายสมศักดิ์  เครือวัลย์
  • นายสมศักดิ์ เครือวัลย์
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558
    นายสมศักดิ์ เครือวัลย์หรือ ผญ.สมศักดิ์ เดิมทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อมาลงทุนแต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืชจากการผลิตแบบเดิมๆ และต้นทุนสูง ทำให้ไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จึงพลิกผันตนเองมาทำการเกษตรโดยไม่พึ่งพาสารเคมี โดยใช้ความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงานในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเมื่อได้รับเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่งโดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี เพื่อเปลี่ยนมาทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกชนิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และทำให้รู้ว่า“เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าลงมือทำจริงๆ สามารถทำให้รวยได้ ไม่ใช่การรวยเงินทอง แต่รวยปัจจัยสี่ ที่อยู่ในสวนในบ้านของเรา”
  • นายยวง เขียวนิล
    ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2560
    นายยวง เขียวนิลเคยทำงานรับราชการและรับเหมาก่อสร้างแต่ไม่ประสบความสำเร็จจนเกิดความเครียดและหลงผิดแก้ปัญหาด้วยการดื่มสุราจนติดสุราเรื้อรัง ในปี พ.ศ. 2537 นายยวง ได้เข้ารับการรักษาจนสามารถเลิกสุราได้แล้วจึงตัดสินใจใช้ชีวิตและลงมือทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการศึกษาค้นคว้าในเรื่องทฤษฎีใหม่และดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายแห่ง ใช้หลัก 3 ศาสตร์ มาประกอบการวางแผนและดำเนินกิจกรรมการเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ได้แก่ ศาสตร์พระราชา ศาสตร์ภูมิปัญญาและศาสตร์สากล ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต มากว่า 20 ปี โดยวางแผนทำการเกษตรบนที่ดินของตนเอง ขยายพื้นที่ตามกำลังความพร้อมจนดำเนินกิจกรรมเกษตรแบบผสมผสานเต็มพื้นที่ 44 ไร่ สร้างภูมิคุ้มกันโดยจัดแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรตามหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อทำนา ขุดบ่อกักเก็บน้ำและเลี้ยงปลาหลายชนิด ทำสวนผสมผสาน ปลูกผลไม้และพืชผักสวนครัวหลากหลายที่ให้ผลผลิตสลับกันตลอดทั้งปี และสร้างที่อยู่อาศัยรวมถึงจุดเรียนรู้ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิต จนสามารถปลดหนี้สินได้ มีเงินออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน พึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวอยู่ดีมีสุข ลดความเสี่ยงเรื่องผลผลิตทางการเกษตร
  • นายยวง เขียวนิล
ตกลง