นายสมศักดิ์ เครือวัลย์
20 ก.ค. 2560
34,034
20,335
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558
นายสมศักดิ์  เครือวัลย์
นายสมศักดิ์ เครือวัลย์

นายสมศักดิ์ เครือวัลย์ หรือ ผญ.สมศักดิ์ เดิมทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ..ส.) เพื่อมาลงทุนแต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืชจากการผลิตแบบเดิมๆ และต้นทุนสูง ทำให้ไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จึงพลิกผันตนเองมาทำการเกษตรโดยไม่พึ่งพาสารเคมี โดยใช้ความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเมื่อได้รับเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่งโดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี เพื่อเปลี่ยนมาทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกชนิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และทำให้รู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าลงมือทำจริงๆ สามารถทำให้รวยได้ ไม่ใช่การรวยเงินทอง แต่รวยปัจจัยสี่ ที่อยู่ในสวนในบ้านของเรา

อายุ              64 ปี

การศึกษา       ประถมศึกษาปีที่ 7

สถานภาพ      สมรส มีบุตร ธิดา 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน

ที่อยู่             322/1  บ้านสองสลึง  หมู่ที่ 8  ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง  

จังหวัดระยอง  21110

โทรศัพท์       038-632-281 , 081-982-2404

อาชีพ            เกษตรกร

รางวัล หรือประกาศเกียรติคุณที่ได้รับ

-  ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558

-  ผู้นำเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2557  

-  โล่เชิดชูเกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดระยอง สาขา ภูมิปัญญา ปี 2556

-  รางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2552

-  โล่เกียรติคุณ ช่วยเหลือราชการกรมป่าไม้ สาขา ส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ประจำปี 2552

-  รางวัล เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2551

-  รางวัลเกษตรกรดีเด่น อาชีพไร่นาสวนผสม ปี 2549

-  รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้าน เศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2549

-  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หมอดินอาสาดีเด่น ประจำปี 2548 ระดับเขต

-  รางวัล หมอดินอาสาดีเด่น ประจำปี 2548  ระดับจังหวัด

-  โล่เกียรติคุณ อาสาสมัครดีเด่นที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง เสียสละ 

เป็นประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ  ประจำปี 2546

-  รางวัลชนะเลิศ เกษตรกรดีเด่น อาชีพไร่นาสวนผสม ประจำปี 2546

-  รางวัลเกษตรกรคนเก่ง สาขาแกลง ประจำปี 2545

-  รางวัลเกษตรกรคนเก่ง สาขาแกลง ประจำปี 2545 

-  รางวัล ป่าชุมชนตัวอย่างระดับจังหวัด

-  ผลงานดีเด่นด้านการเตรียมความพร้อมเกษตรกร

-  ศูนย์ต้นแบบเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาไทย มีดีทุกเขต

-  โล่เชิดชูเกียรติคุณ ภูมิปัญญาผู้สูงอายุดีเด่น

-  รางวัล ประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2

ชีวิตที่พอเพียง

นายสมศักดิ์  เครือวัลย์ หรือ ผญ.สมศักดิ์ เดิมทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ..ส.) เพื่อมาลงทุนแต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืชจากการผลิตแบบเดิมๆ และต้นทุนสูง ทำให้ไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จึงพลิกผันตนเองมาทำการเกษตรโดยไม่พึ่งพาสารเคมี โดยใช้ความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเมื่อได้รับเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่งโดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี เพื่อเปลี่ยนมาทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกชนิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และทำให้รู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าลงมือทำจริงๆ สามารถทำให้รวยได้ ไม่ใช่การรวยเงินทอง แต่รวยปัจจัยสี่ ที่อยู่ในสวนในบ้านของเรา

นายสมศักดิ์ ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชน จนได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลสองสลึง โดยใช้พื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ สร้างเครือข่ายและจัดการด้านการผลิตและการตลาดในชุมชนปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมสนับสนุน ในการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรทั่วไป นายสมศักดิ์ เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคมภายนอก โดยเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตอย่างมั่นคง ครอบครัวอบอุ่น มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น รักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ดิน น้ำ และป่า ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืนโดยยึดหลักที่ว่า เมื่อเราเอาตัวรอดได้แล้ว เราต้องช่วยแบ่งปันผู้อื่น การเรียนรู้เรื่อง แนวพระราชดำริของในหลวง เรียนอย่างไรก็ไม่จบ เพราะศาสตร์การเรียนรู้ของพระองค์สามารถเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่ลงมือทำ

ความพอประมาณ

ไม่เกินความสามารถ ไม่มากหรือน้อยเกินไป พอดี ตามศักยภาพของตน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ ในรูปแบบการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง เดินทางสายกลาง ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรและร่วมกันจัดกิจกรรมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์  เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดภาวะโลกร้อน  ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน  และนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปฏิบัติอย่างจริงจัง

ความมีเหตุผล

รู้เท่าทันปัจจัยภายนอกและภายใน  สามารถนำมาแก้ไขและพัฒนาโดยการจัดแผนพัฒนาให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการทำงานบนพื้นฐานของตนเอง เคารพกฎ กติกา  ระเบียบวินัย ข้อกฎหมาย รู้จักการวางแผนการใช้จ่าย สิ่งใดที่จำเป็นหรือสิ่งใดสามารถทำได้ด้วยตนเอง ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกันในการปฏิบัติตน เมื่อปฏิบัติกับตนเองได้แล้วก็จะนำไปพัฒนาให้กับผู้อื่น

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้ การดูแล คุณภาพชีวิต การเงิน การประกอบอาชีพ สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการออมสร้างหลักประกันระบบการเงินในครัวเรือนและในชุมชน ตลอดจนสร้างความมั่นคงทางอาชีพ

ความรอบรู้

รู้เขา  รู้เรา รู้ความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของโลก  ประเทศ ชุมชน  และตัวเราเอง  แล้วเตรียมความพร้อมในการรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว  พัฒนาให้ควบคู่เท่าทันเหตุการณ์ในปัจจุบัน  ทำไปทีละก้าว  โดยอาศัยปัจจัยภายในเป็นหลัก  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  นำองค์ความรู้ที่มีมาทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มการขยายองค์ความรู้  ส่วนด้านคุณธรรมการใช้วิถีชีวิตของชุมชนมาเป็นหลักการทำงาน คือ ความซื่อสัตย์  โปร่งใส  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   โดยมียุทธศาสตร์ในการทำงานคือ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์  ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  พัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น  สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ  ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย

ความมีคุณธรรมตามหลักศาสนา

ใช้ขันติในการปฏิบัติงานและทำงานโดยยึดหลักศาสนาในการดำรงชีวิต  การพึ่งพาตนเองทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)  ทางแห่งความสำเร็จ โดยใช้อิทธิบาท 4 ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  พรหมวิหาร 4 เมตตา  กรุณา  มุฑิตา  อุเบกขา  ในการอยู่ร่วมกันในสังคม  ใช้สังคหวัถตุ 4 คือ ทาน      ปิยวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตา  และการพึ่งพาตนเอง  อัตตาหิ อัตตโนนาโถ  มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต การพึ่งตนเอง การอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่รักและสามัคคีเกื้อกูลกัน     

ผลงานที่สร้างคุณประโยชน์

1. ใช้หลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิชาหลักในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เช่น โครงการพักชำระหนี้ อบรมสมาชิกกองทุนฟื้นฟูโครงการเรียนรู้การเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นแกนนำ ในการให้ความรู้โดยเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้ภูมิปัญญาพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวบรวมและกระจายผลผลิตของชุมชนออกนอกเขตจังหวัด เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการแปรรูปและลดต้นทุนในการขนส่งขายตรงต่อผู้บริโภค

2. จัดทำฐานศึกษาดูงานในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เปิดเป็นฐานการเรียนรู้ อาทิ ฐานปุ๋ยหมัก ฐานเตาถ่าน-น้ำส้มควันไม้ ฐานไบโอดีเซล ฐานหมูหลุม ฐานบ่อปลา-บำบัดน้ำ ฐานโซล่าเซล เป็นต้น ทำให้เกษตรกรทั่วไปรู้จักการพึ่งตนเองโดยสร้างปัจจัยการผลิตขึ้นมาแทนสารเคมี สร้างปัจจัยการผลิตในการทำการเกษตร เรียนรู้ทดลองทฤษฎีต่าง ๆ โดยใช้พื้นที่เกษตรกรรมของตนเองเป็นต้นแบบเพื่อให้เห็นผลจากการปฏิบัติจริง

3. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนผลิตขึ้นและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีผู้คนเข้ามาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก ก็สามารถหาตลาดเพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้ชุมชนมีการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างมูลค่าของสินค้าทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

สร้างเครือข่ายในการขยายผลงานหรือองค์ความรู้

โดยการนำผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นต้นแบบฝึกสอนวิชาโดยการเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในศูนย์ฯ มีการประสานงานองค์ความรู้ให้องค์กรเข้ามาเป็นวิทยากรถ่ายทอดเพิ่มศักยภาพในการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้สูงขึ้นและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยากรและองค์ความรู้จากศูนย์ฝึกอบรมต่างๆผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ร่วมถึงมีการเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่าย สถาบัน องค์กรต่างๆที่เป็นแหล่งความรู้ที่มาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดต่อกัน

 การขยายผลงาน

นายสมศักดิ์  ได้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเป็นแหล่งการเรียนรู้ฯ ซึ่งผลงานต่าง ๆ ได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างกว้างขวางทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ จนได้รับรางวัลจากหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยใช้สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ มาเป็นสื่อตัวอย่าง เพื่อนำมาแก้ไขและประยุกต์ใช้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  การทำปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยหมัก  หมูหลุม บำบัดน้ำ บำบัดดิน เป็นต้น การผลิตพลังงาน เช่น ไบโอดีเซล โซล่าเซล แก๊สชีวภาพ เผาถ่าน เป็นต้น การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการนำหลักแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ ในพื้นที่เกษตรกรรม 1 ไร่ 3 ไร่ 5 ไร่

การขยายผลงานนอกจากจะถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวผ่านการบรรยายโดยตรงแก่ผู้มาเรียนรู้ ศึกษาดูงานแล้วยังมีการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ มีทีมงานเครือข่ายการขยายผลทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ มีการปรับปรุงพัฒนาทั้งพื้นที่ศูนย์ฯ หลักสูตรในการฝึกอบรม ฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในด้านสังคมและภูมิศาสตร์ ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นในการเป็นต้นแบบที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม จนสามารถมองเห็นเกษตรพอเพียงเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป   

 

 

ตกลง