นายเอนก จีวะรัตน์
21 ก.ค. 2560
18,773
2,511
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2557
นายเอนก  จีวะรัตน์ | ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2557
นายเอนก จีวะรัตน์ | ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2557

นายเอนก  จีวะรัตน์ เรียนจบชั้น ปวส. ได้กลับมาทำเหมืองแร่ดีบุกต่อจากบิดา ระหว่างการทำเหมืองแร่ดีบุก ได้ปลูกยางพาราไปด้วยทำให้มีรายได้พออยู่พอกิน เมื่อทำเหมืองแร่ได้ประมาณ 5 ปี ได้เริ่มกังวลว่าในอนาคตเหมืองแร่ดีบุกคงหมดเนื้อแร่  นายเอนก จึงหันมาดำเนินกิจการเพาะต้นกล้ายางเพื่อจำหน่ายและเพาะปลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมอย่างจริงจังเป็นต้นมา ในช่วงแรก นายเอนก ได้ปลูกไม้ผลบนพื้นที่ จำนวน 5 ไร่ โดยเลือกที่จะปลูกต้นละไมซึ่งเป็นไม้ผลท้องถิ่นเพราะคิดว่าจะได้ราคาดี และเห็นว่ายังไม่มีเกษตรกรปลูกละไมมากนัก แต่การปลูกละไมต้องใช้ระยะเวลาถึง 7 ปี จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ ทำให้เกิดแนวคิดในการพึ่งตนเองในระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นละไม คือ “ต้องมีอาหารไว้บริโภค พึ่งตนเองได้ และต้องมีรายได้ทุกวัน” จึงทำการปลูกพืชสวน พืชไร่ นานาชนิด โดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือน และยังได้ศึกษากลไกการตลาดในชุมชนในระหว่างนี้ไปอีกทางหนึ่งด้วย

อายุ              63  ปี

การศึกษา       ปริญญาตรี

สถานภาพ      สมรส มีบุตร-ธิดา 2 คน ชาย 2 คน หญิง – คน

ที่อยู่             44  บ้านในหนด  หมู่ที่ 4  ตำบลเหมาะ  อำเภอกะปง  จังหวัดพังงา

โทรศัพท์       076-499-071 , 081-891-9496

อาชีพ            เกษตรกร

ประสบการณ์ด้านการเกษตร

เมื่อนายเอนกเรียนจบชั้น ปวส. ได้กลับมาทำเหมืองแร่ดีบุกต่อจากบิดา ระหว่างการทำเหมืองแร่ดีบุก ได้ปลูกยางพาราไปด้วยทำให้มีรายได้พออยู่พอกิน เมื่อทำเหมืองแร่ได้ประมาณ 5 ปี ได้เริ่มกังวลว่าในอนาคตเหมืองแร่ดีบุกคงหมดเนื้อแร่  นายเอนก จึงหันมาดำเนินกิจการเพาะต้นกล้ายางเพื่อจำหน่ายและเพาะปลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมอย่างจริงจังเป็นต้นมา ในช่วงแรก นายเอนก ได้ปลูกไม้ผลบนพื้นที่ จำนวน 5 ไร่ โดยเลือกที่จะปลูกต้นละไมซึ่งเป็นไม้ผลท้องถิ่นเพราะคิดว่าจะได้ราคาดี และเห็นว่ายังไม่มีเกษตรกรปลูกละไมมากนัก แต่การปลูกละไมต้องใช้ระยะเวลาถึง 7 ปี จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ ทำให้เกิดแนวคิดในการพึ่งตนเองในระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นละไม คือ “ต้องมีอาหารไว้บริโภค พึ่งตนเองได้ และต้องมีรายได้ทุกวัน” จึงทำการปลูกพืชสวน พืชไร่ นานาชนิด โดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือน และยังได้ศึกษากลไกการตลาดในชุมชนในระหว่างนี้ไปอีกทางหนึ่งด้วย

หลังจากที่นายเอนก ได้ทำการเกษตรโดยประสบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และหาวิธีการแก้ไขด้วยตนเองมาตลอด นายเอนก จึงพบความรู้ใหม่ว่า การทำอะไรหลายอย่าง ดีกว่าการทำอะไรอย่างเดียว จึงได้ทำการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยเลือกเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ซึ่งในขณะนั้นมีตลาดของภาคเอกชนรองรับผลผลิตทั้งหมด หลังจากที่เลี้ยงไก่จนประสบผลสำเร็จ นายเอนก จึงหันมาสนใจที่จะเลี้ยงปลาในขุมเหมือง (แอ่งน้ำที่ขุดไว้ตรงจุดที่ต่ำสุดของบ่อเหมือง) โดยทำการศึกษาเรียนรู้จากคู่มือ ลองผิดลองถูกด้วยตัวเองจนประสบความสำเร็จและได้ต่อยอดสร้างโรงผลิตอาหารปลา เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงปลา โดยคิดคว้าพัฒนาสูตรอาหารปลาขึ้นเองโดยใช้วัสดุที่มีราคาถูก และหาได้ง่าย  ในท้องถิ่นแต่มีคุณภาพสูง เช่น กากปาล์ม ปลาป่น เป็นต้น

          จากการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรโดยมีการวางแผนการผลิต การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดมีรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีรายได้ทั้งชนิดรายวัน รายได้สัปดาห์  รายได้เดือนและรายได้ฤดูกาล  ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้น สามารถวางแผนขยายกิจการเพิ่มขึ้นได้ โดยนายเอนก ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นในเรื่องของ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และเงื่อนไขความรู้ กับเงื่อนไขคุณธรรม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน และสิ่งที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้จากธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้องค์ประกอบจากทฤษฎี และนำมาใช้ในการตัดสินใจในด้านการทำการเกษตรก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิตในด้านการเกษตรได้เป็นอย่างดี 

 ผลงานที่สร้างคุณประโยชน์

          จากการดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสาน และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และมีประสบการณ์ องค์ความรู้ด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยนำแนวคิดการลดต้นทุนด้วยการพึ่งพาตนเอง และแนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรไปประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดผลงานที่เป็นประโยชน์และได้เผยแพร่ไปสู่แก่เกษตรกร ชุมชน อาทิ

1. เป็นผู้นำด้านการเกษตรผสมผสาน ซึ่งเกษตรกรที่ได้นำแนวคิดในการทำเกษตรผสมผสานไปปฏิบัติทำให้สามารถทำการเกษตรโดยพึ่งพาตนเองได้ สามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้แก้ไขปัญหาในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรได้ในหลายพื้นที่

2. จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มไร่นาสวนผสมตำบลเหมาะ โดยรวมกลุ่มและระดมทุนของเกษตรกรรายย่อย ในพื้นที่ตำบลเหมาะดำเนินกิจกรรมเลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย และนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ โดยขุดสระน้ำเพื่อเป็นแปลงปลูกผักบุ้งไว้รอบโรงเรือนเลี้ยงสุกร และนำมูลสุกรเป็นปุ๋ยให้กับผักบุ้งๆ เป็นพืชที่โตเร็วเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน มีตลาดรองรับ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจฯ สร้างรายได้ 3 ช่องทาง คือ 1) จำหน่ายตัวสุกร  2) จำหน่ายมูลสุกร  3) จำหน่ายผักบุ้ง  เป็นกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ลดความเสี่ยงของการประกอบอาชีพเกษตรทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง

3. ส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักการออมเงิน และวางแผนการใช้เงินอย่างเป็นระบบ โดยจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์สัจจะหมู่บ้าน  จัดประชุมฯ ทุกเดือน  และจัดเป็นสวัสดิการต่างๆ เช่น การรักษาพยาบาล งานสาธารณประโยชน์ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน

4. ส่งเสริม แนะนำ องค์ความรู้การทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่เกษตรกรที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย ได้รับประโยชน์ในพื้นที่อย่างสูงสุด โดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ทำให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้โครงการ 1 ไร่ 1 แสนเพื่อให้ต้นแบบการเรียนรู้สำหรับเกษตรกร และผู้ที่สนใจนำไปปฏิบัติ  

การขยายผลงาน

1. เป็นวิทยากร บรรยายเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่เน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเอง ใช้พื้นที่เกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับเกษตรกร หน่วยงานต่าง ๆ และสร้างทีมงานเครือข่ายในการพัฒนาทั้งระดับชุมชนและท้องถิ่น

2. ใช้พื้นที่เกษตรกรรมเป็นแหล่งในการเรียนรู้และศึกษาดูงาน ในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน ให้กับแก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจโดยทั่วไป

3. ถ่ายทอดผลงานข้อเสนอแนะ แนวคิดที่เป็นประโยชน์ผ่านเวทีประชุม เสวนา การร่วมเป็นผู้แทนในคณะกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ ตลอดจนมีการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ การแสดงนิทรรศการ เป็นต้น

ตกลง