นายจาง ฟุ้งเฟื่อง เฒ่าทะเลแห่งอ่าวมหา เจ้าของแนวคิด “ธนาคารปูม้า” กลับมีความสุขอยู่กับการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าและการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ชาวบ้านเกาะเตียบแทบทุกหลังคาเรือนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน การดักลอบปูม้า เป็นอีกหนึ่งอาชีพของคนที่นี่ ในวันที่อากาศปลอดคลื่นลมมรสุม เรือประมงพื้นบ้านออกไปวางลอบดักปูไว้กลางทะเลตั้งแต่เย็นวาน เช้าวันรุ่งขึ้นจึงกลับมากู้และกลับเข้าฝั่งพร้อมปูม้าและปูอื่นๆ ที่พร้อมต้มแกะเนื้อ และส่งขาย กระทั่งเกิดวิกฤตหนักช่วงปี พ.ศ. 2544 มีเรือประมงขนาดใหญ่ลักลอบเข้ามาหากินบริเวณชุมชนเกาะเตียบ อ่าวทุ่งมหา โดยใช้ลอบที่มีขนาดตาถี่เกินไป แทนที่จะได้ปูตัวใหญ่อย่างเดียว แต่กลับลากลูกปูที่อยู่ในวัยอนุบาลขึ้นมาด้วย จำนวนปูม้าที่เคยจับได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็เริ่มลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านได้รับบทเรียนจากวิกฤตด้านทรัพยากรทางทะเลที่ร่อยหรอ ชาวประมงบางคนทำกินไม่ได้ก็ต้องย้ายถิ่น บางคนก็หันไปทำอย่างอื่น ลุงจางจึงได้คิดริเริ่มทำธนาคารปูม้าด้วยตนเองจนเห็นผลเป็นที่น่าพอใจ และขยายผลสู่ชุมชนตั้งแต่ปี 2545 กระทั่งประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และเกิดการเผยแพร่กระจายองค์ความรู้ไปสู่หลายพื้นที่ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันและต่างประเทศ
อายุ 73 ปี
สถานภาพ สมรส
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 11/5 หมู่ 7 บ้านเกาะเตียบ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
โทรศัพท์ 08-10817302
อาชีพ เกษตรกรรม
คุณลักษณะส่วนบุคคล
ความคิดริเริ่มและความพยายามฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อผลงานอันทรงคุณค่า
นายจาง ฟุ้งเฟื่อง อายุ 73 ปี เฒ่าทะเลแห่งอ่าวมหา เจ้าของแนวคิด “ธนาคารปูม้า” กลับมีความสุขอยู่กับการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าและการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ชาวบ้านเกาะเตียบแทบทุกหลังคาเรือนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน การดักลอบปูม้า เป็นอีกหนึ่งอาชีพของคนที่นี่ ในวันที่อากาศปลอดคลื่นลมมรสุม เรือประมงพื้นบ้านออกไปวางลอบดักปูไว้กลางทะเลตั้งแต่เย็นวาน เช้าวันรุ่งขึ้นจึงกลับมากู้และกลับเข้าฝั่งพร้อมปูม้าและปูอื่นๆ ที่พร้อมต้มแกะเนื้อ และส่งขาย กระทั่งเกิดวิกฤตหนักช่วงปี พ.ศ. 2544 มีเรือประมงขนาดใหญ่ลักลอบเข้ามาหากินบริเวณชุมชนเกาะเตียบ อ่าวทุ่งมหา โดยใช้ลอบที่มีขนาดตาถี่เกินไป แทนที่จะได้ปูตัวใหญ่อย่างเดียว แต่กลับลากลูกปูที่อยู่ในวัยอนุบาลขึ้นมาด้วย จำนวนปูม้าที่เคยจับได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็เริ่มลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านได้รับบทเรียนจากวิกฤตด้านทรัพยากรทางทะเลที่ร่อยหรอ ชาวประมงบางคนทำกินไม่ได้ก็ต้องย้ายถิ่น บางคนก็หันไปทำอย่างอื่น ลุงจางจึงได้คิดริเริ่มทำธนาคารปูม้าด้วยตนเองจนเห็นผลเป็นที่น่าพอใจ และขยายผลสู่ชุมชนตั้งแต่ปี 2545 กระทั่งประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และเกิดการเผยแพร่กระจายองค์ความรู้ไปสู่หลายพื้นที่ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันและต่างประเทศ
นายจาง ฟุ้งเฟื่อง วัย 73 ปี เฒ่าแห่งท้องทะเลบ้านเกาะเตียบ ผู้ทำอาชีพประมงมาทั้งชีวิต ได้พบเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งดีและร้าย เคยเผชิญหน้ากับวิกฤตทรัพยากรทางทะเลในอ่าวทุ่งมหาที่ร่อยหรอ จนกระทั่งส่งผลต่ออาชีพและรายได้ ลุงจางจึงออกไปพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อรวบรวมสมาชิกสำหรับจัดตั้งเป็นกลุ่ม ซึ่งได้รับความสนใจจำนวนไม่น้อย แต่ติดปัญหาที่ขาดแหล่งเงินทุนในการทดลองและจัดซื้ออุปกรณ์ ลุงจางเริ่มโครงการธนาคารปูม้าจากการทดลองทำด้วยตนเองก่อน เมื่อมั่นใจว่าได้ผลและมีความเป็นไปได้จริงในการปฏิบัติแบบองค์รวม จึงเข้าไปปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพรเมื่อทุกอย่างพร้อมสมาชิกจึงเริ่มลงมือกันอย่างจริงจังเวลาผ่านไปไม่นาน จำนวนลูกปูม้าเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จากโครงการที่เป็นเพียงความฝันของเฒ่าทะเล กลายเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ธนาคารปูม้า จึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น เมื่อมีผู้มาศึกษาดูงาน และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เข้ามาถ่ายทำรายการ ทำให้ลุงจางได้มีโอกาสพบปะนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมากขึ้น และมีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น และนำวิธีการของญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้พื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม จนเกิดการพัฒนาต่อยอดโครงการสำคัญๆ อีกหลายอย่างตามมา นอกจากนี้ “ลุงจาง” ผู้เป็นต้นแบบของแนวคิดและกระบวนการทำธนาคารปูม้าแห่งบ้านเกาะเตียบ ยังมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างลึกซึ้ง นับจากการเป็นต้นแบบในการทำธนาคารปูม้าโดยใช้งบประมาณของตนเองในการเริ่มต้นโครงการเล็กๆ จนประสบความสำเร็จ ชาวบ้านเห็นผลให้การยอมรับและหันมาเข้าร่วมและปฏิบัติตามแนวทางของลุงจางด้วย ชาวต่างชาติที่ได้ศึกษาธนาคารปูม้าของลุงจางยังได้นำองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้ในประเทศของตนอีกหลายประเทศ ลุงจางใช้ชีวิตอย่าสมถะกับวิถีธรรมชาติอันตั้งอยู่บนแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเวลาส่วนตัว โดยการรับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ทุกอย่างที่ตนมีให้กับทุกคนที่สนใจโดยไม่ปิดบังแม้แต่น้อย ไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองด้วยการเป็นชาวประมงที่ดีไม่โลภมากจนทำร้ายที่ทำกินของตนและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองด้วยการเป็นชาวประมงที่ดีไม่โลภมากจนทำร้ายที่ทำกินของตนและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมีความชื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีความอดทนเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ และทดลองปฏิบัติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปูม้า และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองอยู่เสมอ ด้วยปณิธานที่จะรักษา “ขุมทรัพย์แห่งชีวิต” ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานสืบไป
ผลงานสร้างคุณประโยชน์
“ถ้าอยากรู้เรื่องปู ต้องมาดูลุงจาง” สโลแกนประจำตัวของลุงจาง เฒ่าทะเลวัย 73 ปี แห่งป้านเกาะเตียบ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ชายชราผู้มีความสุขอยู่กับการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้ามาอย่างยาวนาน “ธนาคารปูม้า” ชื่อและกระบวนการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้านี้ ได้ขยายไปสู่ทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันอย่างกว้างขวางกว่า 10 ปี มาแล้ว นายจาง ฟุ้งเฟื่อง จึงนับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องปูม้าและเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่น่ายกย่อง อันจะเห็นได้จากใบประกาศเกียรติคุณที่ได้รับเป็นจำนวนมากและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน อาทิรางวัล “ชาวประมงดีเด่นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าอ่าวทุ่งมหา” รางวัล “แทนคุณแผ่นดิน ทำคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ประจำปี 2550” รางวัล “เชิดชูเกียรติต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน ประจำปี 2549” รางวัล “บุคคลต้นแบบสภาวัฒนธรรมประจำปี 2550” รางวัล “อนุสรณ์สงขลานครินทร์ ประจำปี 2553 ในฐานะผู้อุทิศตนทำประโยชน์แก่ชุมชนในภาคใต้” รางวัล “คนดีผู้อุทิศตนเพื่อเพื่อนมนุษย์ บัลลังก์คนดีแห่งปี 2553” รางวัล “ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 7 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2554 และล่าสุดรางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดินจังหวัดชุมพร สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ประจำปี 2554 ผลงานต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชนสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้แก่กลุ่มเยาวชนประชาชนในชุมชน และผู้ที่นำแนวทางไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างมากมาย ดังต่อไปนี้
1. ธนาคารปูม้า เริ่มต้นจากวิกฤติด้านทรัพยากรทางทะเลที่ร่อยหรอ อันเนื่องมาจากการทำการประมงที่ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ กระทั่ง นายจาง ฟุ้งเฟื่อง ร่วมกับผู้นำชุมชนได้ร่วมกันทดลองทำธนาคารปูต้นแบบขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยตกลงกันว่าจะทำที่พักพิงให้แก่แม่ปูครรภ์แก่ เพื่อดูแลให้รอดพ้นจากการนำไปขาย รอให้วางไข่เรียบร้อยก่อน จึงนำแม่ไปขาย แล้วปล่อยลูกปูลงสู่ทะเลให้เติบใหญ่เพื่อเป็นอาหารและแหล่งที่มาของรายได้ต่อไป ในตอนนั้นมีสมาชิกเพียง 4 คน เพราะในช่วงแรกชาวบ้านยังไม่ค่อยเห็นด้วย เขามองกันว่าลุงจางบ้าเพราะถ้าโครงการนี้ดีจริงและมีประโยชน์ คนเขาคงทำกันหมดแล้ว และครั้งนั้นลุงจางบังเอิญได้ยินพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า”ทรัพยากรยังมีอยู่ ถ้าเรารู้จักใช้ รู้จักดูแล ตรงนี้เขาจะอยู่กับเราอย่างยั่งยืน” ลุงจางจึงคิดได้ว่าที่ผ่านมาเราไม่ได้ดูแลเขาเลย มีแต่จับอย่างเดียว จึงนำแนวคิดเรื่องธนาคารปูม้าของตนเข้าไปปรึกษากับผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ธนาคารปูที่เป็นรูปธรรมจึงเกิดขึ้น โดยมีคำขวัญของธนาคารปู คือ “ฟื้นฟูคู่อนุรักษ์ รักจักใช้อย่างยั่งยืน” คำว่าฟื้นฟูหมายถึงว่าเราได้แม่ปู่ไข่นอกกระดองหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าไข่ลากทราย เราจะนำมาใส่กระชังให้แม่ปูวางไข่เพื่อขยายพันธุ์ เมื่อได้ลูกปูเยอะๆ แล้วเราก็ต้องดูแลอีกให้เขาเจริญเติบโต และเราต้องใช้เครื่องมือที่เป็นมิตรกับทรัพยากร เมื่อเราได้ทำอย่างนี้แล้ว เราก็ได้แม่ปูไข่นอกกระดองเราก็เอามาใส่ในกระชัง เมื่อใส่กระชังแม่ปูก็วางไข่ มันจะเป็นวัฎจักร เรียกว่าใช้อย่างไม่มีวันหมด ใช้อย่างยั่งยืน สมาชิกที่จะจับปูม้าในเขตอ่าวทุ่งมหา หรือเกาะเตียบนั้นจะต้องทำตามกติกาที่วางไว้ คือ นำแม่ปูมาฝากไว้เท่าไหร่ ก็จับปูม้าได้แค่นั้น คือยิ่งฝากแม่ปูมาก ก็ยิ่งจับปูม้าได้มากขึ้น มันก็คล้ายๆกับการฝากเงินถอนเงินของธนาคาร แต่เปลี่ยนมาเป็นการฝากแม่ปูและจับปูแทน ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ธนาคารปู ส่วนดอกเบี้ยก็คือลูกปูที่ปล่อยลงทะเลให้มันเติบใหญ่จะไปจับขึ้นมาขายเป็นรายได้ของชาวบ้านต่อไป ส่วนแม่ปูไข่ที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้ ลุงจางก็นำไปเลี้ยงต่อประมาณ 7 วัน จนไข่แม่ปูหลุดจากระดองไปแล้ว ก็จะนำแม่ปูของสมาชิกที่ฝากไว้ไปขายเพื่อนำเงินที่ได้เข้ากองทุนธนาคารปู ซึ่งเงินก้อนนี้จะนำมาเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกกองทุนต่อไป
กฎหลักของ “ธนาคารปูม้า” ที่ลุงจางวางไว้คือ 1. ลอบที่ใช้ต้องใช้บอลที่ลุงจากออกแบบขึ้น คือลอบตาห่าง 2.5 นิ้ว เพื่อให้ปูที่ตัวเล็กหรือปูที่กำลังเติบโตมีโอกาสหลุดรอดออกมาไปแพร่พันธุ์ 2. ชาวประมงที่จะจับปูม้าในเขตอ่าวทุ่งมหาหรือเกาะเตียบนั้นจะต้องทำตามกติกาที่วางไว้คือ นำแม่ปูมาฝากไว้เท่าไหร่ก็จับปูม้าได้แค่นั้น นั่นคือยิ่งฝากแม่ปูมาก ก็ยิ่งจับปูม้าได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งคล้ายคลึงกับการฝากกเงินถอนเงินธนาคาร แต่เปลี่ยนมาเป็นการฝากแม่ปูและจับปูแทน ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ธนาคารปู ส่วนดอกเบี้ยก็คือลูกปูที่ปล่อยลงทะเลให้มันเติบใหญ่จะไปจับขึ้นมาขายเป็นรายได้ของชาวบ้านต่อไป ฉะนั้นยิ่งฝากแม่ปูไข่กับลุงจากมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีปูให้จับมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับดอกเบี้ยเงินฝาก ยิ่งฝากเงินต้นมาก ดอกเบี้ยก็ยิ่งเพิ่ม แม่ปูไข่ที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้กับลุงจาง หลังจากนำไปเลี้ยงต่อประมาณ 7 วัน จนไข่แม่ปูหลุดจากกระดองไปแล้ว ลุงจางกก็จะนำแม่ปูของชาวบ้านที่ฝากไว้ไปจำหน่ายเพื่อนำเงินที่ได้เข้ากองทุนธนาคารปู ซึ่งขณะนี้ฝากไว้ที่ ธกส. สาขามาบอมฤต ประมาณ 50,000 บาท ซึ่งเงินก้อนนี้ได้นำมาเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกกองทุน ใน 3 กรณี คือ
1. กรณีสมาชิกเจ็บไข้ได้ป่วยก็สามารถเบิกเงินฉุกเฉินได้ไม่เกิน 2,000 บาท
2. กรณีเกิดวาตภัย พายุพัดเรือชำรุด หรือเครื่องมือทำประมงเสียหาย เบิกเงินได้ไม่เกิน 2,000 บาท
3. กรณีสมาชิกต้องการกู้ยืมซื้อเครื่องมือทำประมง คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 กู้สูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท
เมื่อสมาชิกเริ่มเห็นแล้วว่าต้องนี้มีประโยชน์ มีผลกับชีวิตของพวกเขาจากเดิมที่แทบจะจับไม่ได้เลยวันนี้เกินไล่เอียงเลย เพราะจับได้มากขึ้น ยิ่งทำ มันก็ยิ่งดี เมื่อยิ่งดีเขาก็มีรายได้จากการจับปูขายมากขึ้นทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น มันจึงเข้ากับคำว่า ฟื้นฟูคู่อนุรักษ์ รู้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนผลจากการอนุรักษ์ของลุงจางและสมาชิกได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ ปูม้าเพิ่มจำนนมากขึ้น นับจากเริ่มต้นแนวคิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน รวมเวลากว่า 10 ปีแล้ว วันนี้ธนาคารปูม้าของลุงจางเป็นแหล่งศึกษาดูงานของเยาวชนและผู้สนใจเป็นอย่างมาก และยังขยายผลสู่ชุมชนด้วยการก่อตั้งธนาคารปูม้าของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนอย่างกว้างขวางอีกด้วย
2) ทำลอบปูแบบพัฒนารณรงค์ให้เพื่อนสมาชิกใช้ลอบตาห่างขนาด 2.5 นิ้ว มาใช้แทนลอบทำลายล้างอย่างลอบตาถี่ เพื่อให้ปูที่ตัวเล็กหรือปูที่กำลังเติบโตมีโอกาสหลุดรอดออกไปแพร่พันธุ์ และถูกนำไปเป็นแบบอย่างในการออกกฎหมายการใช้ขนาดตาลอบในการทำประมงในปัจจุบัน
3) SEADEC ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศให้การสนับสนุนโครงการธนาคารปูม้าทั้งด้านงบประมาณที่ประเทศญี่ปุ่นในฐานะตัวแทนชุมชนดีเด่นด้านการประมง และเป็นแบบอย่างการจัดการชุมชนดีเด่นด้านการประมง และเป็นแบบอย่างการจัดการชุมชนประมงชายฝั่งด้ายตนเองด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
4) เป็นวิทยากร เรื่องธนาคารปูม้า การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและป่าชายเลน
การขยายผลงาน
การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและป่าชายเลน
หลังจากปีที่ 2 ของการทำธนาคารปู เป็นปีที่ลุงจางภูมิใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตปูม้าที่จับได้มีมากขึ้นอย่างชัดเจน ชาวบ้านมองเห็นคุณค่าอย่างไร้ข้อกังขา เริ่มมีเงินของกองทุน ช่วยเหลือสมาชิกด้วยกันเอง ทั้งเครื่องมือ ความเจ็บป่วย ความเดือดร้อน และการศึกษาของบุตร ที่สำคัญลุงจางได้รับโอกาสไปเรียนรู้ดูงานที่ญี่ปุ่น และนำองค์ความรู้ต่าง ๆ กลับมาดัดแปลงใช้กับพื้นที่ การทำธนาคารปูม้าของที่นี่มี 3 แนวทาง คือ
1) การทำกระชังยึดติดกับพื้นทะเล
2) การทำกระชังลอยทุ่น ของพื้นที่ปะทิว มีขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูงประมาณ 70 เซนติเมตร
3) การนำแม่ปูไข่นอกกระดองมาทำเครื่องหมายบนกระดอง แล้วปล่อยสู่ทะเล โดยที่หากมีใครจับปูตัวนี้ได้ ก็จะไม่มีการรับซื้อแต่ลุงจางเลือกใช้วิธีที่ 2 เนื่องจากวิธีแรกต้อง่ำน้ำไปจัดการปูลำพังลุงจางและทีมงานสองสามคน ไม่สามารถทำไหว ส่วนวิธีที่ 3 นั้น เห็นว่ากลุ่มจะไม่มีรายได้จากการขายแม่ปู ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่ 2 ที่มีรายได้ตรงนี้ และไม่จำเป็นต้องขุนแม่ปูหลังจากวางไข่ เนื่องจากน้ำหนักจะหายไปน้อยมาก (แม่ปูตอนนำมาเข้าธนาคาร 12 ตัว = 1 กก. หลังจากวางไข่แล้ว 15 ตัว = 1 กก.) และปรับกระบวนการการทำธนาคารปูให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดย
1. ศึกษาโครงการสร้างของกระชังปูที่เหมาะสม
2. จัดตั้งกลุ่มบริหารชุมชน ที่รวมถึงการบริหารกองทุนด้วย
3. หาฉันทามติร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียงในการห้ามใช้เครื่องมือทำลายล้าง และเครื่องมือที่มีขนาดตาเล็กมาก และร่วมกับกรมประมงในการประกาศเขตดังกล่าว
4. มานะ มุ่งมั่น อดทน
5. ฟื้นฟู อนุรักษ์ เพื่อการใช้อย่างยั่งยืน “การคิดทุกอย่างก็เพื่อการใช้ อย่าเพียงแต่อนุรักษ์อย่างเดียว” ปัจจุบัน นายจาง ฟุ้งเฟื่อง ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงาน ชมรม และกลุ่มต่าง ๆ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันเนื่องมากจากกระบวนการสร้างจิตสำนึกให้ชาวประมงแห่งอ่าวทุ่งมหา และท้องทะเลอื่นๆ ที่นำแนวคิดเรื่องเรื่องๆ “ธนาคารปูม้า” ไปประยุกต์จนเกิดผลสำเร็จ เกิดเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน ลดการพึ่งพาจากภายนอก สร้างชุมชนเข้มแข็งได้ด้วยตนเองและเกิดเป็นการสำนึกรักบ้านเกิดได้อย่างแท้จริง ทั้งยังตระหนักถึงการอนุรักษ์ปูม้า และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและพื้นที่ป่าชายเลนด้วยวิธีการที่ยั่งยืนต่อไป