นายอัมพร ด้วงปาน
20 ก.ค. 2560
3,879
1,060
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ปี 2555
นายอัมพร ด้วงปาน
นายอัมพร ด้วงปาน

นายอัมพร ด้วยปาน นายอัมพร ด้วงปาน เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน โดยเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อน รู้ศักยภาพ รู้กำลังของตนเอง ว่าสามารถทำได้เท่าไหร่ ไม่ฟุ้งเฟื้อตามคนอื่น ดำรงชีวิตแบบพอมีพอกิน เป็นผู้ที่คิดวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจและนำหลักการคิดวิเคราะห์มาปรับใช้ในการทำงานเป็นผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ ศึกษา ข้อมูลข่าวสาร และสิ่งที่เป็นประโยชน์จากสื่อทุกรูปแบบ เช่น หนังสือ โทรทัศน์ วิทยุ และจากการบรรยาย การเข้าอบรมการประชุม และเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีธรรมะในจิตใจ โดยใช้หลักธรรมเป็นเครื่องนำทางในการดำรงชีวิต และมีความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี จึงได้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค โดยมีให้ครบทุกอย่าง อย่างเพียงพอแต่ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ยึดติดยึดมั่น ในปี 2523 ได้สอบบรรจุเป็นการภารโรงที่โรงเรียนวัดช่องเขา และอุทิศตนทำงานด้วยความเสียสละ มีความรับผิดชอบในการทำงานสูงเนื่องจากเป็นคนที่มีพื้นฐานทางการเกษตรและเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้า จึงทำให้สนใจในเรื่องการเกษตรและชุมชนเป็นพิเศษ ประกอบกับเป็นผู้รอบรู้ในธรรมะจึงได้นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ริเริ่มให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานในหมู่บ้าน และตัวครูเองก็ทำงานเป็นอาสาสมัครหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการกำจัดไข้มาลาเรีย การร่วมงานสาธารณสุขมูลฐานและการสนับสนุนงานอื่นๆ ของชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนเป็นอันมาก และเป็นผู้ปฏิบัติตนตามระบบประชาธิปไตยอันมือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งทุกครั้ง ทำความเข้าใจในระบบประชาธิปไตย และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นฟังได้ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ลุงอัมพรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นนั้น ลุงอัมพรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่น

อายุ              69 ปี

สถานภาพ     สมรส

ที่อยู่             บ้านเลขที่ 15/1 หมู่ 3 ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

โทรศัพท์        08-99769425

อาชีพ            เกษตรกรรม

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายอัมพร ด้วงปาน เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน โดยเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อน รู้ศักยภาพ รู้กำลังของตนเอง ว่าสามารถทำได้เท่าไหร่ ไม่ฟุ้งเฟื้อตามคนอื่น ดำรงชีวิตแบบพอมีพอกิน เป็นผู้ที่คิดวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจและนำหลักการคิดวิเคราะห์มาปรับใช้ในการทำงานเป็นผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ ศึกษา ข้อมูลข่าวสาร และสิ่งที่เป็นประโยชน์จากสื่อทุกรูปแบบ เช่น หนังสือ โทรทัศน์ วิทยุ และจากการบรรยาย การเข้าอบรมการประชุม และเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีธรรมะในจิตใจ โดยใช้หลักธรรมเป็นเครื่องนำทางในการดำรงชีวิต และมีความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี จึงได้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค โดยมีให้ครบทุกอย่าง อย่างเพียงพอแต่ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ยึดติดยึดมั่น ในปี 2523 ได้สอบบรรจุเป็นการภารโรงที่โรงเรียนวัดช่องเขา และอุทิศตนทำงานด้วยความเสียสละ มีความรับผิดชอบในการทำงานสูงเนื่องจากเป็นคนที่มีพื้นฐานทางการเกษตรและเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้า จึงทำให้สนใจในเรื่องการเกษตรและชุมชนเป็นพิเศษ ประกอบกับเป็นผู้รอบรู้ในธรรมะจึงได้นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ริเริ่มให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานในหมู่บ้าน และตัวครูเองก็ทำงานเป็นอาสาสมัครหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการกำจัดไข้มาลาเรีย การร่วมงานสาธารณสุขมูลฐานและการสนับสนุนงานอื่นๆ ของชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนเป็นอันมาก และเป็นผู้ปฏิบัติตนตามระบบประชาธิปไตยอันมือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งทุกครั้ง ทำความเข้าใจในระบบประชาธิปไตย และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นฟังได้ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ลุงอัมพรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นนั้น ลุงอัมพรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่น ในการบริหารจัดการนั้นได้ยึดถือหลักการเป็นผู้นำที่ดี 2 อย่าง คือ

1. ระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเป็นธรรม สมดุลกัน

2. คน โดยเริ่มจากตัวเองก่อน ในการเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามด้วยในบางโอกาส (การเป็นผู้พูด และเป็นผู้ฟังในบ้างครั้งด้วย และการเป็นผู้ให้และผู้รับในบางครั้งด้วย)

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

1. ผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

นายอัมพร ด้วยปาน ครูภูมิปัญญาไทยด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน (การออมทรัพย์) เป็นผู้ก่อตั้งกองทุนออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะขึ้น เพื่อต้องการให้ชาวบ้านคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นการเปลี่ยนเป้าหมายหลัก จากการกู้เงินธนาคารมาเป็นการกู้เงินกองทุน โดยมีการบริหารจัดการอยู่บนพื้นฐานของการเสริมสร้างความเป็นไทให้แก่สมาชิกไม่ยึดติดระเบียบแบบแผนที่ถูกกำหนดจากภายนอก หากแต่กำหนดกันเองจากสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อให้สมาชิกสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

นายอัมพรเห็นว่าเรื่องกองทุนธุรกิจชุมชนนี้เป็นเรื่องดี สามารถช่วยให้ชาวบ้านได้ลืมตาอ้าปากและมีวิถีชีวิตดีขึ้น จึงได้วิเคราะห์ปัญญาและหาแนวทางเพื่อให้เรื่องนี้ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่าการดำเนินงานล้มเหลวนั้น เป็นเพราะการขาดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในเรื่องการบริหารกลุ่ม ระเบียบที่ใช้เป็นระเบียบของรัฐ ซึ่งไม่เอื้อและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของชุมชน

ดังนั้น นายอัมพร จึงคิดใหม่ ทำใหม่ และจัดทำรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ ซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ

นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งกองทุนหรือกลุ่มต่างๆ ดังนี้ คือ

1. การจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ระดับหมู่บ้าน

2. การสร้างเครือข่ายออมทรัพย์ระดับตำบล / อำเภอ / จังหวัด

3. การจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงวัว

4. การจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

5. การจัดตั้งกลุ่มร้านค้าของหมู่บ้าน

6. การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยค่ารักษาพยาบาลตำบลคลองเปียะ

ผลงานของนายอัมพร ด้วงปาน สรุปได้ดังนี้

ผลงานที่เป็นต้นแบบสามารถนำไปปฏิบัติได้ ได้แก่

- การทำการเกษตรสวนป่า ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกเอง กินเอง ใช้เอง

- การดำเนินชีวิตอยู่ในศีล ในธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

- การออมทรัพย์ของตัวเอง การจัดตั้งกลุ่มหรือกองทุนต่างๆ ในชุมชนเพื่อผลประโยชน์ของคนในชุมชน

การนำเทคโนโลยีมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

- มีการใช้เทคโนโลยีขั้นต้นในการดำเนินงาน เช่นใช้เครื่องคิดเลขในการคิดคำนวณเงินของบัญชีเงินฝากเงินดอกเบี้ยของกลุ่มออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะ โดยไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้จอบ เสียม พร้า เครื่องตัดหญ้า ในการทำการเกษตร โดยไม่ใช้รถไถ หรือเครื่องมืออุปกรณ์อื่นๆ ช่วยเพิ่มเติม

- มีการพัฒนารูปแบบองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับผู้รับการถ่ายทอด/ท้องถิ่น/ยุคสมัย ดังนี้ ตรวจสอบระดับกลุ่มชน และปรับเทคนิค ปรับภาษาการถ่ายทอด การบรรยายให้เข้ากับกลุ่มชนที่จะถ่ายทอดความรู้ให้ และเข้ากับท้องถิ่น เข้ากับยุคสมัย

2. ผลงานที่ได้รับยกย่อง

- ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับชุมชน

- เป็นนักการภารโรงที่โรงเรียนวัดช่องเขาและอุทิศตนทำงานด้วยความเสียสละ มีความรับผิดชอบในการทำงานสูง

เนื่องจากเป็นผู้รอบรู้ในธรรมะจึงได้นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

- ริเริ่มให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจสร้างสะพานในหมู่บ้าน

- เป็นอาสาสมัครในหลายๆ เรื่อง ทั้งในเรื่องการกำจัดไข้มาลาเรีย การ่วมงานสาธารณสุขมูลฐาน และการสนับสนุนงานอื่นๆ ของชุมชนด้วยความเต็มใจ เป็นที่เคารพรักและนับถือของคนในชุมชนเป็นอันมาก

- ได้รับประกาศเกียรติคุณในฐานะสมาชิกผู้ประสบความสำเร็จ จากการมุ่งมั่นประกอบอาชีพพิชิตความจน (ทำจริงไม่จน) จาก สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.)

- ได้เสียสละเวลาให้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการคัดเลือกความเหมาะสมสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการสร้างความเข้าใจให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนจนได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสงขลา

- เป็นผู้บริหารดีเด่นกลุ่มออมทรัพย์ระดับเขต

- ได้รับคัดเลือกเป็นคนดีศรีทักษิณ จากชมรมสรรหาคนดีศรีทักษิณ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

- กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อผลิตตำบลคอลงเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในประเภท โครงการดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ (ด้านเศรษฐกิจชุมชน) จากนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี

ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสังคม

- ก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในประเภท โครงการดีเด่นของชาติ สาขา พัฒนาเศรษฐกิจ (ด้านเศรษฐกิจชุมชน) จากนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และสอนให้มีการออมทรัพย์ในครัวเรือน

- การสร้างเครือข่ายออมทรัพย์ระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด

- ได้รับคัดเลือกเป็นคนดีศรีสังคม

- นักการภารโรงตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ

- ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม (สาขาภูมิปัญญา) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณอนุสรณ์สงขลานครินทร์

- ผู้นำองค์กรดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- รางวัลเอกลักษณ์ของชาติ จากสำนักนายกรัฐมนตรี

- รางวัลเสมาธรรมจักร จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

- ได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการช่วยเหลือสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนวัดช่องเขา จากโรงเรียนวัดช่องเขา

- ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลตัวอย่างในการกระทำคุณความดี จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

- ได้รับประกาศเกียรติคุณในฐานะสมาชิกผู้ประสบความสำเร็จ จากการมุ่งมั่นประกอบอาชีพ พิชิตความจน (ทำจริงไม่จน) จากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.)

- ได้เสียสละเวลาให้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการคัดเลือกเหมาะสมสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการสร้างความเข้าใจให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนจนได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสงขลา

- เป็นผู้บริหารดีเด่นกลุ่มออมทรัพย์ ระดับเขต

- ได้รับคัดเลือกเป็นคนดีศรีสงขลา

- ได้มีการพัฒนาชุมชน ตำบลคลองเปียะจนได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นตำบลเขียวขจีดีเด่นด้านผลงานพัฒนาชุมชนดีเด่น และการพัฒนาศักยภาพชุมชนดีเด่น ตำบลคลองเปียะ

- เป็นนักวิทยากรอันทรงเกียรติของสถาบัน ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน จากสถาบันราชภัฎภูเก็ต

- เป็นบุคคลดีเด่นด้านสาธารณสุขมูลฐาน

ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ

- นักการภารโรงตัวอย่างของกระทรวงศึกษา

- ได้รับคัดเลือกเป็นคนดีศรีสังคม

- ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเป็นครูภูมิปัญญาไทย (สาขาภูมิปัญญา) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- ผู้นำองค์กรดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- รางวัลเอกลักษณ์ของชาติ จากสำนักนายกรัฐมนตรี

- รางวัลเอกลักษณ์ของชาติ จากสำนักนายกรัฐมนตรี

- รางวัลเสมาธรรมจักร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- ได้รับยกย่องเป็นบุคคลตัวอย่างในการกระทำคุณความดี จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

- ได้รับประกาศเกียรติคุณในฐานะสมาชิกผู้ประสบความสำเร็จ จากการมุ่งมั่นประกอบอาชีพ พิชิตความจน (ทำจริงไม่จน) จากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.)

- ได้เสียสละเวลาให้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการคัดเลือกความเหมาะสมสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการสร้างความเข้าใจให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนจนได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสงขลา

- กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในประเภท โครงการดีเด่นของชาติ สาขา พัฒนาเศรษฐกิจ (ด้านเศรษฐกิจชุมชน) จากนายชวนหลีกภัย นายกรัฐมนตรี

- เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านกาจัดการและสวัสดิการจากกระทรวงศึกษาธิการ

- เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับจังหวัด สาขา ภูมิปัญญาชาวบ้าน จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน จากมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

- เป็นวิทยากรบรรยาย ตามโครงการเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน

- ได้รับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัคร (ปปช.) จากคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ

- ได้รับยกย่องให้เป็นคนดีนำทางแทนคุณแผ่นดิน โครงการแทนคุณแผ่นดิน

- ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขา ภูมิปัญญา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

- จัดตั้งมหาวิทยาลัยชาวบ้านสถาบันถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย เน้นการเรียนรู้สู่การพึ่งพาตนเอง

- เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน (การออมทรัพย์) ให้กับสถานศึกษาหลายแห่งในต่างประเทศ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของนักศึกษาต่างประเทศด้วย เช่น มาเลเซีย ติมอร์ตะวันออก จีน ลาว ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รวมถึงการเชิญไปประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น พัฒนาชุมชนจังหวัด มูลนิธิกองทุนหมู่บ้าน

การขยายผลงาน

ในการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น ไม่เน้นการใช้สื่อแต่เป็นการพูดบรรยาย โดยตัววิทยากรเองเป็นหลักและคำนึงถึงกลุ่มผู้เข้ารับการถ่ายทอดว่าอยู่ในวัยใดให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายโดยเน้นธรรมชาติของบุคคลเป็นหลัก รูปแบบในการถ่ายทอดความรู้นั้น ลุงอัมพรมีการพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ เช่น เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง มีจุดถ่ายทอดความรู้ และมีการประเมินผลการถ่ายทอดจากผู้ฟังเพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อไป

1. มีระบบการสร้างเครือข่ายที่ชัดเจน

- เครือข่ายเกิดจากการนำความรูปไปใช้ปฏิบัติจริง โดยไม่เข้าไปควบคุม

- มีการสร้างเครือข่ายออมทรัพย์ระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด

2. มีการสร้างเครือข่ายกับองค์การภาครัฐหรือเอกชน

- ให้ความร่วมมือกับทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เน้นการสร้างเครือข่ายในลักษณะ เลียนแบบหรือที่ปรึกษา

3. มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในชุมชน/นอกชุมชน โดย

- สร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคล/ชุมชน/นอกชุมชน นำไปใช้หรือขยายผลในองค์กรของตนต่อไป

4. มีการผสมผสาน/บูรณาการเครือข่ายองค์ความรู้ โดย 

- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและการปรับปรุงองค์กรของตนเอง โดยนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ลุงอัมพร ได้เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านทางสื่อหนังสือพิมพ์ บทความ/วารสาร โทรทัศน์/วีดีทัศน์ งานวิจัย วิทยุ/หอกระจายข่าว และนิทรรศการ

 

 

ตกลง