นายสุวิทย์ ไตรโชค เป็นลูกชาวนา ชาวอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความตั้งใจตั้งแต่เด็กว่าอยากจะมีอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความสำเร็จและมีฐานะดี เนื่องจากรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย และบิดา มารดา เป็นชาวนา ซึ่งชาวนาสมัยก่อนเป็นอาชีพที่ยากจน จึงได้มุ่งมั่นศึกษาจนสามารถเรียนจบปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอเกล้าธนบุรี เนื่องจากคิดว่าถ้าเรียนด้านการเกษตรเงินเดือนจะไม่สูง ไม่มีเงินเก็บมาลงทุนทำการเกษตร จึงได้เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่มีรายได้สูง มีเงินทุนมาทดลองทำการเกษตร ช่วงวันหยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ มีการพัฒนาและศึกษาการทำการเกษตรด้วยตนเอง ตลอดจนปรึกษาอาจารย์ผู้รู้ด้านการเกษตร จนสามารถสร้างเทคโนโลยีการผลิตแคนตาลูปเมล่อนได้คุณภาพดี ปริมาณสูง จึงได้ลาออกจากงานประจำมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว และได้รับชนะเลิศผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่นระดับจังหวัดและประเทศในปี 2551
อายุ 54 ปี
การศึกษา ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอเกล้าธนบุรี
สถานภาพ สมรส มีบุตร 2 คน
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 7 บ้านคลองปากกราน ตำบลสนามชัย
อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ 081-818-0233
อาชีพ เกษตรกรรม
คุณลักษณะส่วนบุคคล นายสุวิทย์ ไตรโชค เป็นลูกชาวนา ชาวอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความตั้งใจตั้งแต่เด็กว่าอยากจะมีอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความสำเร็จและมีฐานะดี เนื่องจากรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย และบิดา มารดา เป็นชาวนา ซึ่งชาวนาสมัยก่อนเป็นอาชีพที่ยากจน จึงได้มุ่งมั่นศึกษาจนสามารถเรียนจบปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอเกล้าธนบุรี เนื่องจากคิดว่าถ้าเรียนด้านการเกษตรเงินเดือนจะไม่สูง ไม่มีเงินเก็บมาลงทุนทำการเกษตร จึงได้เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่มีรายได้สูง มีเงินทุนมาทดลองทำการเกษตร ช่วงวันหยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ มีการพัฒนาและศึกษาการทำการเกษตรด้วยตนเอง ตลอดจนปรึกษาอาจารย์ผู้รู้ด้านการเกษตร จนสามารถสร้างเทคโนโลยีการผลิตแคนตาลูปเมล่อนได้คุณภาพดี ปริมาณสูง จึงได้ลาออกจากงานประจำมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว และได้รับชนะเลิศผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่นระดับจังหวัดและประเทศในปี 2551
นายสุวิทย์ ไตรโชค เริ่มปลูกแตงเมล่อน ที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อปี่ 2559 เพราะเห็นว่าเป็นผลไม้ราคาดี และสมัยนั้นยังมีผู้ปลูกเป็นอาชีพไม่มากนัก ได้ทำการปลูกอยู่หลายพันธุ์ เช่น จิงหยวน โอนนิชิ เพิร์ลเมล่อน เป็นต้น แต่ช่วงแรกๆ ไม่ประสบความสำเร็จจึงพยายามพัฒนาเทคนิคการผลิตให้ดีขึ้น โดยวางแผนล่วงหน้าก่อนปลูกจริง นอกจากนั้นยังพยายามแสวงหาเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ นำมาทดลองปลูกจนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยสิ่งที่ทำต่อไปนี้คือ ระบบน้ำ ได้ศึกษาระบบให้น้ำแบบประหยัดของอิสราเอลและอเมริกา และอาศัยความรู้ทางวิศวกรรมมาออกแบบโปรแกรมคำนวณระบบน้ำหยด ซึ่งผ่านการทดลองจนได้ผลดี ในเรื่องของการให้ปุ๋ยร่วมกับน้ำ ได้ประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นด้วยตนเอง นอกจากนั้น ยังสามารถคำนวณความต้องการปุ๋ยของแตงเมล่อนในช่วงระยะเวลาต่างๆ อย่างแม่นยำทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น รสชาติก็หวานสม่ำเสมอและสามารถช่วยควบคุมให้มีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง สำหรับการผลิตในปัจจุบันใช้ระบบเครือข่ายของเกษตรกร เริ่มจากผู้สนใจที่เห็นการปลูกแล้วเข้ามาถามเรื่องเทคนิคการปลูกจนในที่สุดกลายมาเป็นเครือข่ายในการผลิตและการตลาด โดยสมาชิกของเครือข่ายจะมีการประชุมปรึกษาหารือวางแผนการผลิตร่วมกันว่าสมาชิกคนไหนจะปลูกเมื่อไหร่ โดยวางแผนการผลิตไว้ล่วงหน้า 2 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีสามชิกเครือข่ายทั่วประเทศรวม 50 ราย ซึ่งผลผลิตเฉพาะแตงเมล่อนแล้ว มีรายได้ประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันนี้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย
ผลงานสร้างคุณประโยชน์ 1. ใช้สหวิทยาการมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร เช่น ด้านวิศวกรรม ในการออกแบบระบบน้ำหยด ด้านเคมีในการคิดสูตรผสมปุ๋ยเคมีเพื่อใส่ในระบบน้ำหยด ด้านเกษตรกรรมในการพัฒนาวิธีการเตรียมดิน การดูแลต้นพืชให้แข็งแรงจนได้ผลผลิตที่สูงขึ้นและคุณภาพสม่ำเสมอ มีการวางแผน/บริหารด้านการตลาด ด้านโลจิสติกส์ทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพสูง
2. จัดการระบบการผลิตและระบบการตลาดอย่างสอดคล้องกันมีการวางแผนการผลิต การตลาดล่วงหน้า บริหารกลุ่มเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ผลิตส่งผู้ส่งออก Modern Trade สายการบินโรงแรม ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกภายใต้ “Brand Thai Fresh” และ “Navita”
3. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมดังกล่าวกับแตงแคนตาลูป เมล่อน มาปรับใช้กับพืชอื่นๆ เช่น แตงกวา แตงโม อ้อย มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ บวบ ฯลฯ ทำให้ผลผลิตสูงขึ้นคุณภาพดีขึ้น เกษตรกรมีการผลิตที่เข้มแข็งยั่งยืน สามารถกำหนดราคาได้และสินค้าคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
4. จากการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทำให้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เกษตรกรจึงมีรายได้สูงขึ้น รายจ่ายลดลง มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามคำขวัญที่ว่า Low Profile High Profile
5. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ปี 2552 ประเภทอาหารแคนตาลูป
การขยายผลงาน 1. ได้รับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายพิเศษจากสถานศึกษา องค์กรภาครัฐ และเอกชนอย่างสม่ำเสมอ
2. เป็นแหล่งเรียนและศึกษาดูงานของเกษตรกรมาศึกษาดูงานด้านเทคนิคการผลิต การตลาด และโลจิสติกส์ อย่างละเอียด สามารถนำไปปฏิบัติตามและประสบความสำเร็จได้
3. มีการตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูประบบ GAP แห่งประเทศไทย บริหารงานอย่างเป็นระบบมีการผลิตสินค้าคุณภาพสูง ปลอดภัย ภายใต้ระบบ GAP มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างสมาชิกและเกษตรทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ
4. แปลงเมล่อน เปิดให้บุคคลทั่วไป คณะผู้ศึกษาดูงานจากภาครัฐ เอกชน กลุ่มเกษตรกร นักเรียน และนักศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ โดยปัจจุบันมีคณะต่างๆ เข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง