นายสุธรรม จันทร์อ่อน
9 พ.ค. 2561
42,767
5,911
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2561
นายสุธรรม จันทร์อ่อน
นายสุธรรม จันทร์อ่อน

นายสุธรรม จันทร์อ่อนเคยเป็นผู้ทำการเกษตรแบบธรรมชาติ โดยเพาะปลูกพืชผักตามฤดูกาล และหันมาปรับเปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกแบบเกษตรเชิงเดี่ยว ตามคำเชิญชวนของบริษัทเอกชน โดยปลูกฝ้าย ปลูกอ้อย เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งสร้างรายได้ดีในช่วงแรกแต่สุดท้ายเกิดมีหนี้สิน เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรแต่ละอย่างมีต้นทุนที่สูง ประกอบกับในกระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากและมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพไม่ดี จึงหันกลับมายึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรแบบอินทรีย์ มีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนเพื่อวิเคราะห์ตนเอง จนสามารถปลดหนี้สินได้สำเร็จ และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 17 ปี สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น

สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

นายสุธรรม จันทร์อ่อน

อายุ                     60 ปี

การศึกษา              ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

สถานภาพ              สมรส   มีบุตร-ธิดา รวม3 คน บุตร 2 คน ธิดา 1 คน

ที่อยู่                      บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 10บ้านปลักไม้ลาย

                            ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม73140

โทรศัพท์                081-384-5352

อาชีพ                   เกษตรกร

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายสุธรรม จันทร์อ่อนเคยเป็นผู้ทำการเกษตรแบบธรรมชาติ โดยเพาะปลูกพืชผักตามฤดูกาล และหันมาปรับเปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกแบบเกษตรเชิงเดี่ยว ตามคำเชิญชวนของบริษัทเอกชน โดยปลูกฝ้าย ปลูกอ้อย เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งสร้างรายได้ดีในช่วงแรกแต่สุดท้ายเกิดมีหนี้สิน เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรแต่ละอย่างมีต้นทุนที่สูง ประกอบกับในกระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากและมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพไม่ดี จึงหันกลับมายึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรแบบอินทรีย์ มีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนเพื่อวิเคราะห์ตนเอง จนสามารถปลดหนี้สินได้สำเร็จ และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 17 ปี สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น โดยดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรบนพื้นที่ 17 ไร่ ประกอบด้วย การปลูกข้าว การปลูกพืชผักผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้นพืชสมุนไพร การเลี้ยงไก่ เป็ด ปลา กุ้งก้ามแดง ทำการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และโรงสีข้าว ผลผลิตทางการเกษตรได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดสารพิษ GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ IFOAM,Organic Thailandและ PGS(ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน) นอกจากนี้ยังมีการวางแผนและจัดการผลผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จึงทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องของตลาด เนื่องจากผลผลิตได้รับการรับรองมาตรฐาน ส่งผลให้มีตลาดที่แน่นอนในการรับซื้อผลผลิต และเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรองด้านราคาของผลผลิต รวมทั้งมีการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตโดยการแปรรูปอีกทางด้วย

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายสุธรรม เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอจากต่างประเทศมาผสมกับมะละกอพื้นบ้านของไทย จนได้มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย หรือชื่อทางการค้าคือ มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ในปัจจุบัน สามารถขยายพื้นที่การปลูกทั่วประเทศทำให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง การปลูกผักผสม 9 ชนิด ในแปลงเดียว โดยเน้นการปลูกผักที่มีอายุไล่เลี่ยกัน สามารถดูแลพึ่งพากันได้ เพื่อลดการใช้น้ำในแปลงปลูก ป้องกันแมลงศัตรูพืชได้โดยธรรมชาติคิดค้นวิธีการเลี้ยงไก่อินทรีย์ โดยวิธีเลี้ยงปล่อยในสวนไผ่ให้หากินตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างต้นไผ่ และไก่ และเน้นผลิตอาหารปลอดภัยบริโภคทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีต้นทุนอาชีพที่ต่ำลง มีการวางแผนการผลิต จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกขายมาเป็นผู้บริโภคเองเป็นลำดับแรก เหลือแบ่งปัน และจำหน่าย จำหน่ายผลผลิตที่แปรรูปแล้ว ทำให้เกิดการสร้างแรงงานและผลผลิตที่มีมูลค่าเพิ่ม ลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตภายนอกมีการรวมกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ปลักไม้ลาย กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ (ประกอบด้วยเกษตรกรในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี) โดยใช้พื้นที่ศูนย์เป็นแหล่งรวบรวมและจัดจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มและเครือข่ายสู่ตลาดชุมชน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและโรงแรม นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มต่างๆ อาทิกลุ่มผู้ปลูกฟักข้าว ชมรมครูบัญชีหมอดินอาสา ฯลฯ ขยายเครือข่ายจากระดับท้องถิ่นเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภูมิภาค

การขยายผลงาน

          นายสุธรรม สร้างตนเองจนประสบผลสำเร็จ และพัฒนาจนสามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติ โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลักไม้ลาย เพื่อเป็นที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศภูฏาน โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชาและประเทศลาว ได้เดินทางไปเป็นที่ปรึกษาในการเปิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษและมีการทำวิจัยร่วมกันในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และยังมีการเผยแพร่ทั้งในหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร วิทยุ และโทรทัศน์ อย่างแพร่หลาย

 

 

ตกลง