นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรื่องเริ่มช่วยครอบครัวทำไร่อ้อย ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และมีประสบการณ์ทำงานในโรงกลึงเหล็ก จึงทำให้มีความรู้เรื่องเครื่องจักรสามารถคิดค้นประดิษฐ์หางปลูกอ้อยด้วยตนเอง เป็นผู้มีความเพียรพยายาม ศึกษา ค้นคว้าจนประสบความสำเร็จ ดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่กว่าพันไร่ ประกอบด้วย อ้อย ปาล์มน้ำมันมันสำปะหลัง มะขามหวาน ยูคาลิปตัส ยางพารา ไผ่หวาน สะเดา และอื่น ๆ มีความเชี่ยวชาญด้านการคิดค้น พัฒนาและปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอ้อย โดยคิดค้นความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า (Input) ได้แก่ การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน การคัดเลือกสายพันธุ์อ้อย กระบวนการผลิต (Process) ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตัน/ไร่ การประดิษฐ์หางปลูกอ้อย แบบ All In One (6 in 1) แบบ 1 ร่อง 4 แถว การปลูกอ้อยข้ามแล้งโดยระบบน้ำหยอดและการนำออก (Output)ได้แก่ การรวมกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่เป็นอ้อยแปลงใหญ่จากการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคต่าง ๆทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มทุนที่สุด
สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น
นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง
อายุ 69 ปี
การศึกษา ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์
สถานภาพ สมรส มีบุตร-ธิดา รวม5 คน บุตร 3 คน ธิดา 2 คน
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 378บ้านด่านมะขามเตี้ย หมู่ที่ 1
ตำบลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย
จังหวัดกาญจนบุรี 71260
โทรศัพท์ 085-685-2399
อาชีพ เกษตรกร (ทำไร่)
คุณลักษณะส่วนบุคคล
นายเสถียร มาเจริญรุ่งเรื่องเริ่มช่วยครอบครัวทำไร่อ้อย ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และมีประสบการณ์ทำงานในโรงกลึงเหล็ก จึงทำให้มีความรู้เรื่องเครื่องจักรสามารถคิดค้นประดิษฐ์หางปลูกอ้อยด้วยตนเอง เป็นผู้มีความเพียรพยายาม ศึกษา ค้นคว้าจนประสบความสำเร็จ ดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่กว่าพันไร่ ประกอบด้วย อ้อย ปาล์มน้ำมันมันสำปะหลัง มะขามหวาน ยูคาลิปตัส ยางพารา ไผ่หวาน สะเดา และอื่น ๆ มีความเชี่ยวชาญด้านการคิดค้น พัฒนาและปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอ้อย โดยคิดค้นความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า (Input) ได้แก่ การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน การคัดเลือกสายพันธุ์อ้อย กระบวนการผลิต (Process) ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตัน/ไร่ การประดิษฐ์หางปลูกอ้อย แบบ All In One (6 in 1) แบบ 1 ร่อง 4 แถว การปลูกอ้อยข้ามแล้งโดยระบบน้ำหยอดและการนำออก (Output)ได้แก่ การรวมกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่เป็นอ้อยแปลงใหญ่จากการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคต่าง ๆทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มทุนที่สุด
ผลงานสร้างคุณประโยชน์
นายเสถียร ได้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ซึ่งได้รับการยอมรับ ได้แก่ องค์ความรู้การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตัน/ไร่ ซึ่งได้จากการทดลองปฏิบัติ โดยทำการปลูกแบบ 1 ร่อง 2 แถว และ 1 ร่อง 4 แถวและพบว่าการปลูกแบบ1 ร่อง 4 แถวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มทุนที่สุดโดยคิดค้นความรู้ในการบริหารจัดการแปลงควบคู่ทั้ง 4 ส่วน คือ 1) ดิน 2) น้ำ 3) เขตกรรม ได้แก่ การปรับปรุงดิน น้ำ อากาศ แสงแดด สภาพแวดล้อม ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การบำรุงให้พืชมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้พืชมีความแข็งแรงทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชและ 4) พันธุ์อ้อย ซึ่งจากการทดสอบสายพันธุ์อ้อยจากสายพันธุ์ 10 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมที่สุด สำหรับการปลูกแบบ 1 ร่อง 4 แถว คือ สายพันธุ์ k92-213 มีการปรับวิธีปลูก ช่วงเดือนปลูกโดยใช้องค์ความรู้บนแห้งล่างชื้น ไม่ต้องกำจัดวัชพืชทำให้ลดต้นทุนการเพาะปลูกการประดิษฐ์หางปลูกอ้อย All In One (6 in 1) สำหรับการปลูกแบบ 1 ร่อง 4 แถวโดยไม่นำไปจดลิขสิทธิ์เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยง่ายซึ่งหางปลูกอ้อย All In One ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1) ถังเก็บน้ำ ที่ทำแทนหลังคาเพื่อหยอดน้ำขณะปลูกอ้อยเกษตรกรสามารถสั่งทำได้เองตามโรงกลึงเหล็กทั่วไปส่วนที่ 2) หางปลูกอ้อย ที่มีกระบวนการทำงานพร้อมกัน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. เปิดร่องอ้อย2. ลำเลียงท่อนพันธุ์อ้อยลงร่องที่เปิดไว้ 3. ใส่ปุ๋ย 4. ใส่น้ำ 5. กลบหน้าดินปิดร่องอ้อย และ6. ลูกกลิ้ง กลิ้งทับหน้าดินนอกจากนี้ยังเป็นผู้คิดค้นความรู้การปลูกอ้อยข้ามแล้งด้วยระบบน้ำหยอด รวมถึงร่วมประสานงานกับหน่วยงานราชการทั้งในและนอกพื้นที่เพื่อสร้างแหล่งน้ำในพื้นที่ที่เข้าถึงยากโดยใช้อาคารทดน้ำแล้วปล่อยน้ำลงสู่ที่ต่ำด้านล่างเข้าพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร อีกทั้งยังช่วยเหลือชุมชน ด้วยการบริจาคเงินให้แก่วัด โรงเรียน และโรงพยาบาลอีกด้วย
การขยายผลงาน
นายเสถียร ได้ทำการถ่ายทอดผลงานที่คิดค้น สร้างสรรค์ให้กับ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา โดยเปิดไร่เป็นสถานที่ศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศและมีเกษตรกรชาวกัมพูชาสั่งซื้อหางปลูกอ้อยไปใช้ในประเทศอีกทั้งยังเป็นแปลงทดลองพันธุ์อ้อยของศูนย์เกษตรอ้อยภาคกลาง ภาคเหนือและศูนย์วิจัยอ้อยจังหวัดสุพรรณบุรี มีการรวมกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่เป็นอ้อยแปลงใหญ่ ในปี 2549 - 2550 เปิดสอนหลักสูตรการปลูกอ้อยของนายเสถียรให้กับผู้สนใจทั่วไปโดยมีผู้จบหลักสูตรมากกว่า 1,000 คน และมีการนำความรู้ด้านการปลูกอ้อยของนายเสถียรไปปรับเป็นวิชาเรียนให้กับนักเรียนอาชีวศึกษารวมถึงเป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และร่วมเป็นคณะทำงาน/คณะกรรมการในระดับอำเภอและระดับจังหวัด