นายสุริยะ ชูวงศ์
10 พ.ค. 2562
40,991
2,827
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2562
นายสุริยะ ชูวงศ์
นายสุริยะ ชูวงศ์

 

นายสุริยะ ชูวงศ์ เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นระยะเวลา 35 ปี เน้นความพอเพียง ทำแต่พอประมาณ พึ่งพาตนเอง ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ทำการจดบัญชีครัวเรือน บัญชีฟาร์ม และบันทึกข้อมูลการทำการเกษตรเพื่อวิเคราะห์วางแผนการผลิต มีความคิดสร้างสรรค์      มีความเสียสละ และมีใจเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การทำการเกษตรแก่ผู้สนใจ มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่ 13 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการทำนาและการปลูกผลไม้       ปลอดสารพิษ เช่น ชมพู่ ละมุด มะนาว มะละกอ มะยงชิด กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ตาลโตนด เป็นต้น ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) ผลิตปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และเครื่องดักจับแมลงใช้ในไร่นา เพื่อลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตได้รับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตราสัญลักษณ์ Q เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยทางอาหารและด้านคุณภาพ มีการวางแผนการผลิต วางแผนการตลาด และหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างความระมัดระวังด้านการประกอบอาชีพ และวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัวอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการเวลา ทำงานเพื่อส่วนรวมและชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน

 

อายุ                        61 ปี

การศึกษา                  ประถมศึกษาปีที่ 7

สถานภาพ                 สมรส มี บุตร-ธิดา รวม 1 คน บุตร - คน ธิดา 1 คน

ที่อยู่                        บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 76150

โทรศัพท์                   08-1986-8786

อาชีพ                      เกษตรกร

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายสุริยะ ชูวงศ์ เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นระยะเวลา 35 ปี เน้นความพอเพียง ทำแต่พอประมาณ พึ่งพาตนเอง ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ทำการจดบัญชีครัวเรือน บัญชีฟาร์ม และบันทึกข้อมูลการทำการเกษตรเพื่อวิเคราะห์วางแผนการผลิต มีความคิดสร้างสรรค์      มีความเสียสละ และมีใจเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การทำการเกษตรแก่ผู้สนใจ มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่ 13 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการทำนาและการปลูกผลไม้       ปลอดสารพิษ เช่น ชมพู่ ละมุด มะนาว มะละกอ มะยงชิด กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ตาลโตนด เป็นต้น ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) ผลิตปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และเครื่องดักจับแมลงใช้ในไร่นา เพื่อลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตได้รับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตราสัญลักษณ์ Q เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยทางอาหารและด้านคุณภาพ มีการวางแผนการผลิต วางแผนการตลาด และหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างความระมัดระวังด้านการประกอบอาชีพ และวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัวอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการเวลา ทำงานเพื่อส่วนรวมและชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน

 

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายสุริยะ ได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดผลงานและความรู้ ให้กับผู้ที่สนใจให้ได้รับความรู้ เทคนิคและวิธีการทำการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับพืชต่าง ๆ ในเชิงลึก การจัดทำบัญชี และเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำกับเกษตรกร ประชาชนทั่วไปที่สนใจหรือมีปัญหาจากการประกอบอาชีพด้านการเกษตร พร้อมทั้งสามารถเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรในพื้นที่และนอกพื้นที่ และสร้างนวัตกรรมทางการเกษตร เช่น พะองเหล็กขึ้นต้นตาล เครื่องล้างละมุด ระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ หลอดแบล็คไลท์ล่อกำจัดแมลง กับดักสีเหลืองดักแมลงวันทอง เป็นต้น สอนให้เกษตรกรใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้สร้างเครือข่ายในการขยายผลงาน เช่น เครือข่ายหมอดิน เครือข่ายครูบัญชี เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น เป็นคณะกรรมการขยายเครือข่าย เช่น กรรมการการศึกษาด้านบัญชี ชมรมครูบัญชีอาสาระดับประเทศ คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลถ้ำรงค์ (ศพก.)

  

การขยายผลงาน

นายสุริยะ ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำการจดบัญชีฟาร์มและการนำข้อมูลที่จดบันทึกเกี่ยวกับการทำเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพื่อการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับกลไกการตลาด สามารถพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จ เป็นผู้นำและต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ พร้อมทั้งได้จัดรายการวิทยุที่สถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดเพชรบุรี FM 95.75 รายการเพชรบุรีเมืองเกษตร ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่ปี 2535 – ปัจจุบัน และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องตาลโตนด และเป็นที่ปรึกษาการจัดทำข้อมูลตาลโตนดให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รวมถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้นำคณะนักศึกษาและเกษตรกรจากหลายประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน ภายใต้โครงการของมหาวิทยาลัย และยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ภูมิปัญญาทางการเกษตรผ่านหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และนิทรรศการ

 

ตกลง