นายอาทิตย์ มติธรรม อดีตข้าราชการครู ทำสวนผลไม้เป็นอาชีพเสริม เป็นระยะเวลา 25 ปี และผันตัวมาเป็นเกษตรกร ในปี 2538 โดยในช่วงราคาทุเรียนตกต่ำได้ไปศึกษาดูงานที่สวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี ทำให้นายอาทิตย์เกิดความสนใจการปลูกสละและซื้อต้นมาปลูกในครั้งแรก จำนวน 36 ต้น เป็นเกษตรกรรายแรก ที่นำสละมาปลูกเชิงพาณิชย์ในภาคใต้ และการศึกษาหาความรู้ พัฒนาตัวเองตลอดเวลาจนทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและชำนาญในการปลูกสละ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกสละ จำนวน 152 ไร่ นอกจากผลผลิตสละสดที่ได้รับรางวัลสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว แล้วยังมีผลผลิตแปรรูปจากสละ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล การผลิตเมล็ดกาแฟ จัดตั้งร้านกาแฟ ร้านขายของฝากจากสวน เปิดสวนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เป็นผู้ปฎิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จนสามารถปลดหนี้ได้ จากการคิดค้น พัฒนาการปลูกสละในภาคใต้จนประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้การทำสวนสละครบวงจร จึงทำให้เกษตรกรในเขตภาคใต้ที่ประสบปัญหายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ นำแนวคิดการปลูกสละไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง
อายุ 63 ปี
การศึกษา ปริญญาตรี เอกบริหารโรงเรียน วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี
สถานภาพ สมรส มี บุตร-ธิดา รวม 4 คน บุตร 2 คน ธิดา 2 คน
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 430 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองปราบ อำเภอบ้านนาสาร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84120
โทรศัพท์ 077-341-1463 , 081-968-3602
อาชีพ เกษตรกร
คุณลักษณะส่วนบุคคล
นายอาทิตย์ มติธรรม อดีตข้าราชการครู ทำสวนผลไม้เป็นอาชีพเสริม เป็นระยะเวลา 25 ปี และผันตัวมาเป็นเกษตรกร ในปี 2538 โดยในช่วงราคาทุเรียนตกต่ำได้ไปศึกษาดูงานที่สวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี ทำให้นายอาทิตย์เกิดความสนใจการปลูกสละและซื้อต้นมาปลูกในครั้งแรก จำนวน 36 ต้น เป็นเกษตรกรรายแรก ที่นำสละมาปลูกเชิงพาณิชย์ในภาคใต้ และการศึกษาหาความรู้ พัฒนาตัวเองตลอดเวลาจนทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและชำนาญในการปลูกสละ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกสละ จำนวน 152 ไร่ นอกจากผลผลิตสละสดที่ได้รับรางวัลสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว แล้วยังมีผลผลิตแปรรูปจากสละ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล การผลิตเมล็ดกาแฟ จัดตั้งร้านกาแฟ ร้านขายของฝากจากสวน เปิดสวนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เป็นผู้ปฎิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จนสามารถปลดหนี้ได้ จากการคิดค้น พัฒนาการปลูกสละในภาคใต้จนประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้การทำสวนสละครบวงจร จึงทำให้เกษตรกรในเขตภาคใต้ที่ประสบปัญหายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ นำแนวคิดการปลูกสละไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง
ผลงานสร้างคุณประโยชน์
นายอาทิตย์ ใช้องค์ความรู้ในการจัดการสวนสละ ด้วยเทคนิคการปลูกแบบ 4X6 เมตร ได้สละ 66 กอ/ไร่ การวางระบบน้ำที่ดี สามารถกำหนดอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมทำให้สละออกผลผลิตได้ตลอด การปลูกดอกเดหลีล่อแมลงวันทองไม่ให้ไปทำลายผลผลิต การปลูกต้นเหรียงในสวนสละเพื่อเป็นร่มเงาเป็นปุ๋ยและ ปมรากสามารถตรึงไนโตรเจนให้แก่ดิน การผูกเชือกกอสละเพื่อลดการเกิดเชื้อรา การใช้ยิปซั่มโรยที่ต้นป้องกันโรคตัวยุบหัวแตกและทำให้สละมีผิวสวยและรสชาติดี การพัฒนาพันธุ์สละ ด้วยการหาพ่อ – แม่พันธุ์ที่ดี โดยนำพ่อพันธุ์ระกำซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองภาคใต้มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี มาผสมกับแม่พันธุ์สละเนินวง ทำให้ได้พันธุ์ใหม่ “อ้อร้อ” ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มีรสชาติหอมหวานแบบระกำ เนื้อเยอะแบบสละเนินวง ใช้เวลาปลูกเพียง 28 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ คิดค้นเทคนิคการผสมเกสรตัวผู้ใส่เกษตรตัวเมียด้วยมือคนแล้วจะทำการติดริบบิ้นไว้ที่ช่อสละ และทำการจดบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนการตลาด สามารถเป็นแบบอย่างความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างจนประสบผลสำเร็จ และปลูกฝังให้เยาวชนรักอาชีพเกษตรกร เสริมสร้างแนวคิดให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ และสามารถต่อยอดอาชีพเกษตรกรของพ่อแม่ให้มีรายได้สูงกว่าการรับจ้างแรงงานทั่วไป ทั้งยังเป็นอาชีพอิสระและมีความสุขสามารถอยู่กับครอบครัว
การขยายผลงาน
จากการคิดค้น พัฒนาการปลูกสละในภาคใต้จนประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สวนสละอาทิตย์ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้การทำสวนสละครบวงจร สร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสละในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรสร้างตราสินค้าเป็นของตนเอง และในปี 2550 สวนสละอาทิตย์เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยงเชิงเกษตร สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยมีผู้มาศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสละอาทิตย์ นายอาทิตย์ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืช ของสภาเกษตรกร คณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (บอร์ดผลไม้) ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกทั้งยังเป็นผู้แทนเจรจาการค้าผลผลิตทางการเกษตร ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เครือข่ายสินค้า OTOP ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้รับเชิญเป็นวิทยากรเรื่องการผลิตสละ จากสหกรณ์การเกษตรประเทศมาเลเซีย และยังมีการเผยแพร่ผลงานทั้งในวารสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์อย่างแพร่หลาย