นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล
31 มี.ค. 2564
5,720
2,093
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2564
นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล
นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล อดีตเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โดยทำกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพืช ปัจจัยการผลิตพืช ต้นทุนปัจจัยการผลิต ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนพืช ตั้งแต่เป็นพนักงานฝ่ายการตลาดจนถึงผู้จัดการฝ่ายการตลาด เมื่อได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดภาคใต้ จึงมีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนและพฤติกรรมทุเรียน และเมื่อเห็นว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีราคาดีจึงตัดสินใจลาออกมาทำสวนทุเรียน เมื่อปี 2539 เริ่มจากเช่าพื้นที่ทำสวนทุเรียนนอกฤดูกาลในอำเภอพะโต๊ะ จำนวน 15 ไร่ และเช่าพื้นที่เพิ่มเติมในอำเภอหลังสวน จำนวน 18 ไร่ รวมเช่าพื้นที่จำนวน 33 ไร่ ในจังหวัดชุมพร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 23 ตัน ในราคา 50 บาท/กก. ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในขณะนั้น      จึงทำให้เกษตรกรบริเวณใกล้เคียงสนใจมาสอบถามแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่อง และถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล เมื่อประสบความสำเร็จจึงเกิดแนวคิดที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้ถ่ายทอดความรู้ด้วยการเขียนหนังสือและเอกสารการทำทุเรียนทวาย แจกจ่ายให้เกษตรทั่วไป และเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการทำสวนทุเรียนทั้งในและนอกฤดู สามารถซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ จำนวน 20 ไร่ และซื้อเพิ่มเติมอีกจำนวน 31 ไร่ ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ การทำสวนส้มโชกุน สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ใช้สอยยืนต้นและปลูกพืชอาหารจำพวกพริก ตะไคร้ มะนาว กล้วย มะละกอ ไผ่กิมซุงและมีการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น แยมส้มโชกุน เเครกเกอร์ส้มโชกุน แยมทุเรียน ทุเรียนกวน ทุเรียนทอดและทุเรียนเชื่อม โดยจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ในปี 2563 มีรายได้จากการขายผลทุเรียนกว่า 2.6 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้วคงเหลือกำไร     2 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง     ในการผลิตทุเรียนคุณภาพทั้งในและนอกฤดูกาล

คุณลักษณะส่วนบุคคล

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล อดีตเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โดยทำกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพืช ปัจจัยการผลิตพืช ต้นทุนปัจจัยการผลิต ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนพืช ตั้งแต่เป็นพนักงานฝ่ายการตลาดจนถึงผู้จัดการฝ่ายการตลาด เมื่อได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดภาคใต้ จึงมีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนและพฤติกรรมทุเรียน และเมื่อเห็นว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีราคาดีจึงตัดสินใจลาออกมาทำสวนทุเรียน เมื่อปี 2539 เริ่มจากเช่าพื้นที่ทำสวนทุเรียนนอกฤดูกาลในอำเภอพะโต๊ะ จำนวน 15 ไร่ และเช่าพื้นที่เพิ่มเติมในอำเภอหลังสวน จำนวน 18 ไร่ รวมเช่าพื้นที่จำนวน 33 ไร่ ในจังหวัดชุมพร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 23 ตัน ในราคา 50 บาท/กก. ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในขณะนั้น      จึงทำให้เกษตรกรบริเวณใกล้เคียงสนใจมาสอบถามแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่อง และถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล เมื่อประสบความสำเร็จจึงเกิดแนวคิดที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้ถ่ายทอดความรู้ด้วยการเขียนหนังสือและเอกสารการทำทุเรียนทวาย แจกจ่ายให้เกษตรทั่วไป และเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการทำสวนทุเรียนทั้งในและนอกฤดู สามารถซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ จำนวน 20 ไร่ และซื้อเพิ่มเติมอีกจำนวน 31 ไร่ ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ การทำสวนส้มโชกุน สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ใช้สอยยืนต้นและปลูกพืชอาหารจำพวกพริก ตะไคร้ มะนาว กล้วย มะละกอ ไผ่กิมซุงและมีการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น แยมส้มโชกุน เเครกเกอร์ส้มโชกุน แยมทุเรียน ทุเรียนกวน ทุเรียนทอดและทุเรียนเชื่อม โดยจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ในปี 2563 มีรายได้จากการขายผลทุเรียนกว่า 2.6 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้วคงเหลือกำไร     2 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง     ในการผลิตทุเรียนคุณภาพทั้งในและนอกฤดูกาล

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล คิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการสวนและผลิตทุเรียนระบบ GAP และสร้าง QR Code ตอบโจทย์ Smart product เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและคู่ค้าซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และได้สร้างช่องทางจำหน่ายทุเรียน ส้มโชกุน และผลิตภัณฑ์แปรรูปผ่านระบบออนไลน์ในประเทศ และได้มีการจัดทำหนังสือ “การผลิตทุเรียนทวาย” ในปี 2545 และมีการปรับปรุงอีกครั้งใน      ปี 2556 เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียน และมีผลงานที่เกิดจากการคิดค้นเรียนรู้ ได้แก่   การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยการทำสวนทุเรียนบนพื้นที่ราบเนินสูง    ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นพืชประธาน ปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นแหล่งเก็บความชื้น ป้องกันการพังทลายของดิน ปลูกไผ่ตงลืมแล้งและปาล์มน้ำมันรอบสวนเพื่อดูดซับธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองของพืชที่ไหลลงมาช่วงฝนตก รวมถึงปลูกไม้ยืนต้นรอบสวนทุเรียนเพื่อประโยชน์การใช้สอยในพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุด การจัดการทรงพุ่มพีระมิด 7 เหลี่ยม 30:60:10 เป็นการจัดโครงสร้างต้นทุเรียน ปลายยอด : ลำต้น : โคนต้น คือ
ตัดแต่งกิ่งใบช่วงล่างของลำต้นให้มองเหมือนสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน จะช่วยในการวางตำแหน่งของกิ่งตั้งฉากกับลำต้นอย่างเหมาะสม ส่งผลถึงการติดผลของทุเรียน การแขวนผลทุเรียนได้ในปริมาณที่เหมาะสมกับขนาดของ
ลำต้นและยังช่วยลดปัญหาโรคและแมลงได้อย่างดี
การจัดการการออกดอกของทุเรียน การจัดการฮอร์โมนพืช “จิบเบอเรลลิน” ในการแก้ไขปัญหาการแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต โมเดลผังเรียนรู้จุดวิกฤตของทุเรียนลดปัญหาดอกผลร่วงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน การเรียนรู้พฤติกรรมของพืชและพันธุ์ทุเรียน ส่งผลต่อการวางแผนการผลิตทุเรียนได้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของตลาด
การจดทะเบียนปุ๋ยเกร็ดสูตรที่เหมาะสม สูตร 12-3-40 ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเลขที่ 2128/2562 และสูตร 14-7-34 ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเลขที่ 2129/2562 ซึ่งได้จดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
โดยใช้แพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ทำแผ่นดักกันกระรอก
เพื่อลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละหลายแสนบาท การคิดค้นนวัตกรรมต่อยอดกรงดักผีเสื้อกลางคืน ลดการสูญเสียผลผลิตทุเรียน ส้มโชกุน (ป้องกันผีเสื้อตัวเต็มวัย
ลดการระบาดการวางไข่ของผีเสื้อ ป้องกันหนอนเจาะเมล็ดและหนอนเจาะผลของทุเรียน) การสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปและกล่องบรรจุภัณฑ์เป็นรูปแบบอัตลักษณ์ของตนเอง

การขยายผลงาน

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล คิดค้นและพัฒนาวิธีการปลูกทุเรียนนอกฤดูกาลจนประสบความสำเร็จ   เป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับ และได้ถ่ายทอดผลงานด้วยการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำสวนทุเรียน ตั้งแต่ปี 2554 ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออกภายใต้ระบบการจัดการสวนเกษตรดีที่เหมาะสม GAP และเป็นศูนย์เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ด้านผลไม้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร นักศึกษาและผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน รวมถึงจัดอบรมเกษตรกรให้ความรู้ ด้านการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย รณรงค์ส่งเสริมการปลูกป่า   ปลูกไม้ยืนต้นเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยองค์ความรู้ดังกล่าวได้มีกลุ่มเครือข่ายนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ             เช่น เกษตรกรแปลงใหญ่บ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมูลนิธิปิดทองหลังพระ เขตพื้นที่    3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งนายฉัตรกมลได้ร่วมเป็นคณะกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ เช่น
นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย คนแรกของประเทศไทย ในปี 2562
ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนตำบล
พระรักษ์ เลขาธิการสมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดชุมพร ประธานโครงการหมู่บ้าน
GAP ต้นแบบ ที่ปรึกษาแผนธุรกิจการเกษตร SME Bank สมาชิกสภาเกษตรกร ระดับหมู่บ้าน เป็นต้น อีกทั้งมีการถ่ายทอดผลงานผ่านหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ บทความ นิทรรศการ และสื่อสารออนไลน์ อีกด้วย

ตกลง