นายสงวน มลคลศรีพันเลิศ
4 เม.ย. 2565
20,271
0
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2565
นายสงวน มลคลศรีพันเลิศ
นายสงวน มลคลศรีพันเลิศ

สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ

อายุ                        62 ปี

การศึกษา                  วิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

สถานภาพ                 สมรส

ที่อยู่                        บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 7 บ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่

จังหวัดกระบี่ 81000

โทรศัพท์                   080 2561 624

อาชีพ                      เกษตรกรรม

คุณลักษณะส่วนบุคคล

          นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคการเกษตร 25 ปี เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 25 ปี และสามารถเป็นแบบอย่าง แก่ผู้อื่นได้ 21 ปี            ในช่วงปี 2540 ลาออกจากบริษัทเคมีภัณฑ์ ตัดสินใจกลับภูมิลำเนาที่จังหวัดกระบี่ เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร โดยคิดถึงคำสอนของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร   ทรงสอนให้คิดเรื่องกิน ก่อนคิดเรื่องเงิน จึงเริ่มศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้และปฏิบัติจนตกผลึกทางความคิดควบคุมด้วยความรู้ อยู่บนพื้นฐานความจริง กำกับด้วยคำว่า “พอ” ในปี 2544 ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม และในปี 2551 ได้เข้าร่วมโครงการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำการเกษตรโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 24 องค์ความรู้ แต่เนื่องด้วยสภาวะสังคมเปลี่ยนแปลงไปจึงมีการปรับลดองค์ความรู้เหลือ 21 องค์ความรู้ อาทิเช่น    การปลูกผักไฮโซ การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว แพะ แกะ การปลูกพืชผสมผสาน 1 ไร่ ไม่ยากไม่จน             การเลี้ยงปลา บ่อสามด้าน การผลิตอาหารสัตว์ด้วยใบทางกล้วย/ใบทางปาล์ม การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย การทำแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ โดยนายสงวนเป็นผู้อุทิศตนในการสร้างอาชีพแก่เกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีความเชื่อในเรื่องของการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง มุ่งมั่นในการปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เกษตรกรรุ่นใหม่ พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน

ผลงานสร้างคุณประโยชน์

นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ เป็นผู้มีความพอประมาณในการดำเนินชีวิต ใช้เหตุผลและคุณธรรมในการตัดสินใจ มีภูมิคุ้มกันเมื่อเจอปัญหาอุปสรรคและนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้แก้ไขปัญหานั้น ๆ พร้อมทั้งให้คำแนะนำช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านการเกษตร ด้านสังคม และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ทั้งได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน      ตามศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ มาปรับปรุงพัฒนาการทำงานของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่และกลุ่มเครือข่าย รวมไปถึงองค์ความรู้ของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด รวมทั้งได้ช่วยเหลือเกษตรกรรวมถึงผู้ที่มีความสนใจในการทำการเกษตร โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านศูนย์เรียนรู้อย่างไม่หวังสิ่งตอบแทน นายสงวนเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรและบุคคลที่สนใจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงได้รับเชิญเป็นวิทยากรเพื่อบรรยายให้กับหน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา ธนาคาร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกองทุนหมู่บ้านและชุมชน โดยเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ของตนเอง ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ ที่มีหนี้สิน ไม่มีรายได้ สามารถปลดหนี้ และมีรายได้ไว้ใช้ในครัวเรือน ด้วยการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน โดยมีแนวคิดในการค้นหาวิธีการทางการเกษตรเพื่อให้เกิดการทำงานที่ครบวงจร สามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยทุ่มเทเวลาส่วนตัว ในการศึกษาองค์ความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งส่งต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน อีกทั้งนายสงวน เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธนาคารแพะ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อว่า กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตำบลหนองทะเล และยังได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานเครือข่ายแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ ประธานเครือข่ายแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ รองประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการขจัดความยากจน จังหวัดกระบี่ ปราชญ์ กอ.รมน.จังหวัดกระบี่ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม ที่ปรึกษาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่ปรึกษาของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง IBQ ของรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย

 

การขยายผลงาน

มีการถ่ายทอดประสบการณ์และวิธีการทำการเกษตรตามแนวของการพึ่งพาตนเองตามที่ได้ทำการศึกษาและคิดค้น โดยสร้างฐานการเรียนรู้ จำนวน 21 ฐาน ในพื้นที่ของตนเองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้   การทำเกษตรยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่ความรู้นำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต      และการประกอบอาชีพจากความสำเร็จในการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ของตนเองจึงเป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในจังหวัดกระบี่ ต่างจังหวัด ทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยตั้งแต่     ปี 2544 – ปัจจุบัน มีคณะเข้ามาเรียนรู้/ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม มากกว่า 4,200 คณะ จำนวน 320,000 ราย และยังมีการรวมกลุ่มภายในชุมชนและเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างชุมชน ทั้งในจังหวัดกระบี่ และต่างจังหวัดและในปี 2562 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมให้กับเกษตรกร       ในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง IBQ learning centre ในรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย พร้อมทั้งมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ บทความ โทรทัศน์ วิทยุ งานวิจัย นิทรรศการ เว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่างๆ

 

 

ตกลง