1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 133 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน
19 พ.ย. 2567
421
0

          คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

          ๑. อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ ๐.๔๖ บาท ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้แนบรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๗ ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้ ให้การปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗) เป็นต้นไป สำหรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น

          กระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่าในการผลิตผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นม ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข กำหนด เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและภูมิคุ้มกันโรค และหากมีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อหน่วยจัดซื้อในด้านการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณส่วนที่เพิ่มเติม ต่อไป

          สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ และ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมให้มีการแปรรูปนมโคเป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมให้สำเร็จโดยเร็ว และศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมทางเลือกชนิดอื่น ๆ ที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มนักเรียนที่มีข้อจำกัดทางด้านต่าง ๆ อาทิ นมที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส (lactose-free) เพื่อจูงใจและสนับสนุนให้นักเรียนบริโภคนมและได้รับสารอาหารที่จำเป็นตามช่วงวัยมากขึ้น และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง