1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Agri-Map แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agricutural Map for Adaptive Management)
31 ธ.ค. 2557
47,561
0
บูรณาการแผนที่จากความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัด
Agri-Mapแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก
Agri-Map แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agricutural Map for Adaptive Management)

        Agri-Map เป็นแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก โดยบูรณาการข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการการเกษตรไทยอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุม ทุกพื้นที่ มีการปรับข้อมูลให้ทันสมัย และพัฒนาเพิ่มความสะดวกการใช้งาน ให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลโดยง่าย พร้อมกับสามารถติดตามข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์

       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ Agri-Map เพื่อจัดทำแผนที่สำหรับบริหารจัดการเกษตรไทย โดยข้อมูลที่นำเข้าจะประกอบด้วย ข้อมูลด้านการเกษตรและด้านการพาณิชย์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การวิเคราะห์จำเป็นต้องคำนึงถึงสมดุลของทรัพยากรการผลิต (ดิน น้ำ พืช) ผลผลิต อุปสงค์ และอุปทาน รวมทั้งปัจจัยการผลิต จึงจะทำให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ โดยเฉพาะหากเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์นั้นๆ

กรอบแนวคิดแผนที่

1. เป็นแผนที่สำหรับบริหารจัดการการเกษตรรายจังหวัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต ในมิติของปัจจัยการผลิต อุปสงค์และอุปทาน 
2. มี 2 ระดับ คือ ระดับจังหวัด (นโยบายและการขับเคลื่อน) และระดับศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ (ปฏิบัติการ)

หลักการและการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลนำเข้า โดยจัดทำเป็นแผนที่รายจังหวัด ประกอบด้วย
1. ขอบเขตการปกครอง 
2. แผนที่แสดงพื้นที่สามมิติ 
3. การใช้ที่ดินในปัจจุบัน 
4. พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญในจังหวัด 4 ชนิดพืช 
5. พื้นที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่ปลูกในปัจจุบัน 
6. พื้นที่ดินปัญหา 
7. พืชทดแทนในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับพืชเศรษฐกิจรายชนิดที่ปลูกในปัจจุบัน 
8. แหล่งน้ำผิวดิน 
9. แหล่งน้ำใต้ดินหรือบ่อบาดาล 
10. แผนการพัฒนาแหล่งน้ำระหว่างปี พ.ศ.2560-2569 
11. เขตความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด 
12. เขตความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 
13. โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งรับซื้อและสหกรณ์การเกษตร 
14. ลักษณะการถือครองที่ดินการเกษตรของเกษตรกร

        ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ตลอดเวลา เนื่องจากในธรรมชาติจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าให้มีการปรับข้อมูลให้ทันสมัย ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการด้านการเกษตรไทยได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตได้

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง