1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัว Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D” ที่ช่วยจำลองการออกแบบฟาร์มของเกษตรกรด้วยตนเอง ใช้ง่าย เห็นผลชัด อีกหนึ่งความสำเร็จของภารกิจ Quick Win เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0
26 ก.พ. 2563
1,059
0
Farm D
กระทรวงเกษตรฯเปิดตัวApplication“ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช
กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัว Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D” ที่ช่วยจำลองการออกแบบฟาร์มของเกษตรกรด้วยตนเอง ใช้ง่าย เห็นผลชัด อีกหนึ่งความสำเร็จของภารกิจ Quick Win เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัว Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D” ที่ช่วยจำลองการออกแบบฟาร์มของเกษตรกรด้วยตนเอง ใช้ง่าย เห็นผลชัด อีกหนึ่งความสำเร็จของภารกิจ Quick Win เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0  

       นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร จึงได้มีการผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับกระบวนงานด้านการเกษตรให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการตลาดเพื่อให้การเกษตรไทยสามารถก้าวไปพร้อมกับไทยแลนด์ 4.0 จึงได้กำหนดภารกิจเร่งด่วน หรือ “Quick Win” ขึ้น และ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงค์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้เล็งเห็นประโยชน์ของภารกิจดังกล่าวที่มีต่อเกษตรกร ในเรื่องความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้านการผลิตทางการเกษตร จึงได้ผลักดันให้มีการพัฒนา Web Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D” อันเป็นเครื่องมือจำลองแผนการผลิตการเกษตรเพื่อให้เกษตรกร ประชาชนทั่วไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ประกอบกับการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการนำข้อมูล Big Data ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปใช้ประโยชน์ ให้ทันต่อกับการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของโลกในยุคปัจจุบัน

“สำหรับ Web Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D” พัฒนาขึ้นเพื่อการจำลอง ออกแบบ และเปรียบเทียบผลตอบแทนสุทธิในการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรในแต่ละรูปแบบ ซึ่งเกษตรกรสามารถออกแบบฟาร์มผ่าน Website โทรศัพท์มือถือ ในการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมหรือปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรที่ผลิตอยู่แล้วซึ่งมีผลตอบแทนต่ำไปสู่สินค้าเกษตรชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าได้ด้วยตนเอง โดยสามารถวิเคราะห์ได้ครั้งละ 3 แผนการผลิตเพื่อเปรียบเทียบแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่ดีที่สุดให้กับตนเอง” นายอลงกรณ์กล่าว

ด้านนางสาวภวิตา จันทันแก้ว นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า การพัฒนา Web Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D” สศก. ได้ใช้แนวคิดการจัดการฟาร์ม (Farm management) โดยในระยะแรกกำหนดให้เกษตรกรสามารถเลือกผลิตสินค้าเกษตรในรอบปีได้ไม่เกินที่ดินที่เกษตรกรมีอยู่ และแสดงผลออกมาเป็นปฏิทินการผลิต (Calendar) และข้อมูล ราคาผลผลิตสินค้าเกษตร ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และผลตอบแทนสุทธิสินค้าเกษตรของพืช ปศุสัตว์ และประมง ในระดับตำบล รวมทั้งข้อมูลจำนวนครัวเรือนเกษตร ความเหมาะสมของที่ดิน และเนื้อที่การเพาะปลูก จากการพัฒนาฐานข้อมูล Big Data ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยความร่วมมืออันดีจากทุกกรมภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพัธมิตรที่เล็งเห็นความสำคัญของการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน ระยะต่อไปจะทำการเพิ่มข้อมูลอันเป็นประโยช์ต่อการตัดสินใจเลือกผลิตสินค้ายิ่งขึ้น ได้แก่ ราคาที่ขายได้รายเดือนในพื้นที่ใกล้เคียงในรอบปี แหล่งเงินทุน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การใช้งาน Web Application สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก เริ่มด้วยการเลือกพื้นที่ (ตำบล) จากนั้นกำหนดจำนวนที่ดินที่จะวางแผนการผลิต และเลือกสินค้าที่จะผลิต กำหนดจำนวนพื้นที่ที่จะใช้ผลิตในแต่ละสินค้า โดยหากสินค้าที่เลือกมาในช่วงเวลาเดียวกันเต็มพื้นที่ดินที่มีอยู่ ก็จะไม่สามารถพิ่มสินค้าได้อีก และสามารถจำลองการใช้พื้นที่ได้ 3 รูปแบบ

     ทั้งนี้ Web Application “ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช Farm D”  สามารถทดลองใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์ของ สศก.  ผ่านทาง http://quickwin.oae.go.th หรือ QR Code ด้านล่างนี้ ซึ่งขณะนี้ สศก. อยู่ระหว่างเร่งพัฒนาเพื่อการตอบรับความต้องการใช้ข้อมูลเพิ่มเติมของเกษตรกรต่อไป ท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทรศัพท์ 0 2561 2870 Email : prcai@oae.go.th

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง