1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เร่งเครื่องสร้างศูนย์กลางคอกกักโคเนื้อ เชียงแสนที่ได้มาตรฐาน
27 พ.ย. 2563
1,253
0
‘รมช.ประภัตร’ เร่งเครื่องสร้างศูนย์กลางคอกกักโคเนื้อ เชียงแสน ที่ได้มาตรฐาน ควบคุมโรค ก่อนส่งออกจีน
เร่งเครื่องสร้างศูนย์กลางคอกกักโคเนื้อ
เร่งเครื่องสร้างศูนย์กลางคอกกักโคเนื้อ เชียงแสนที่ได้มาตรฐาน

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้าการสร้างคอกกักโคเนื้อเพื่อการส่งออก  บ้านจอมกิตติ หมู่.เวียง .เชียงแสน .เชียงราย ว่า วันนี้ได้หารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย เป็นต้นเพื่อติดตามความคืบหน้าการสร้างศูนย์กลางคอกกักโคขุน ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่รกร้าง จึงได้เข้ามาพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางคอกกักควบคุมโรค ก่อนส่งออกขายประเทศจีน โดยมีองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์พื้นฐานตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าด้านการควบคุมโรค และสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าปศุสัตว์ไทย ซึ่งมีพื้นที่ 10 ไร่ รองรับโคขุน 1,000 ตัว ตลอดจนมีระบบชลประทาน ขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ

 

นายประภัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ พบว่าพื้นที่โดยรอบมีศักยภาพในการส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้แปลงสาธิตของหน่วยงานต่างๆ กระทรวงเกษตรฯ ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการส่งออกแบบครบวงจร และให้เกษตรกร ประชาชนได้เข้ามาเรียนรู้ ต่อไป อีกทั้ง คาดว่าในปี 2564 จะเริ่มดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อนำร่องพื้นที่แรก เนื่องจากจีนมีความต้องการโคเนื้อมากถึง 500,000 ตัว หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง จะทำให้การส่งออกมีมูลค่าสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ พบว่าธุรกิจส่งออกโคและกระบือมีชีวิตลุ่มน้ำโขงผ่านชายแดน .เชียงแสน .เชียงราย มีมูลค่าการค้าค่อนข้างสูง ดังนั้นการสร้างศูนย์กลางคอกกักเพื่อการส่งออกของประเทศ ที่ได้มาตรฐานจะเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศอย่างไรก็ตาม จีนได้กำหนดคุณสมบัติของโคที่จะรับซื้อจะต้องปลอดโรค และเป็นลูกผสมอเมริกันบราห์มัน หรือลูกผสมยุโรปทุกสายพันธุ์ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 350–400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100 บาท โดย สปป.ลาว จะนำโคจากไทยไปเลี้ยงต่อ ระยะเวลาตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน เพื่อเตรียมน้ำหนักของโค จากนั้นจึงจะสามารถส่งข้ามไปจีนได้

 

สำหรับ สถานการณ์ปัจจุบัน (เดือนพฤศจิกายน 2563) ข้อมูลจากกลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ระบุประมาณการผลผลิตโคเน้ือปี 2563 คาดว่ามีจำนวน 1.224 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 2.09 เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น โคเข้าฆ่ามีขนาดใหญ่ข้ึน และเปอร์เซ็นต์ซากเพิ่มข้ึน ส่วนการส่งออกโคเนื้อมีชีวิตปี2563 (..-..) มีจำนวน 205,460 ตัว ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.02 ส่งออกไปลาวร้อยละ 61

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง