1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีเกษตรฯ ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคี
19 ก.พ. 2566
565
0
มอบกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดิน
รัฐมนตรีเกษตรฯติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคี
รัฐมนตรีเกษตรฯ ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคี

รัฐมนตรีเกษตรฯ ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคี ต.หาดยายอ.หลังสวน จ.ชุมพร มอบกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดิน เพื่อเป็นสถานที่ในการรวบรวมผลผลิต การจำหน่าย และการแปรรูปพร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรรักษาคุณภาพผลผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค

       ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามนโยบายตลาดนำการผลิต ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคีตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตมังคุดล้นตลาด เนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะสม ทำให้ผลผลิตกระจุกตัว ส่งผลให้ราคาตกต่ำ เกษตรกรจึงได้รวมตัวเพื่อผลิตมังคุดคุณภาพ และรวบรวมจำหน่ายโดยวิธีประมูล ซึ่งขณะนี้มีเครือข่ายประมูลมังคุด 28 กลุ่ม ทั้งนี้ จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งผลิตไม้ผลเขตร้อนที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอหลังสวนที่เป็นแหล่งผลิตมังคุดและทุเรียนรวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตเพื่อการส่งออก มีประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีโรงงานคัดบรรจุทุเรียนและมังคุดไม่ต่ำกว่า 400 แห่ง

         สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคี ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 โดยมีนายประเสริฐ ช่วยละแม เป็นประธานกลุ่ม สมาชิกร่วมกันตั้งจุดรวบรวมผลผลิตมังคุด โดยขอเช่าพื้นที่ของเอกชนเป็นจุดรวบรวมผลผลิตมังคุด มีสมาชิกจำนวน 59 ราย กิจกรรมของกลุ่ม ได้แก่ การผลิตมังคุดคุณภาพ การรวบรวมผลผลิต คัดแยก จัดจำหน่าย โดยวิธีประมูลและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยในปี 2564 กลุ่มสามารถผลิตมังคุดคุณภาพได้ จำนวน 495 ตัน ราคาที่ประมูลได้เฉลี่ย 27.10 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า13,414,500 บาท สำหรับในปี 2565 ภาคใต้มีปริมาณฝนตกชุกก่อนมังคุดออกดอก ทำให้ไม่เกิดช่อดอก จึงมีผลผลิตมังคุดเพียงเล็กน้อยทั้งภาค ทั้งนี้ การคาดการณ์ผลผลิตมังคุดในปี 2566 ผลผลิตมังคุดจะมีปริมาณมากใกล้เคียงกับปี 2564 ในช่วงที่มังคุดออกสู่ตลาดมากที่สุด กลุ่มจะประสบปัญหาตระกร้าหูเหล็กที่ใช้บรรจุเพื่อขนส่งผลผลิตและกระจายผลผลิตมังคุดไม่เพียงพอ เกษตรกรจำหน่ายได้ราคาลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่าจำนวนสมาชิกและปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กลุ่มไม่มีพื้นที่เป็นของตนเอง และสถานที่ไม่เพียงพอในการรวบรวมผลผลิต การจำหน่ายรวมทั้งการแปรรูป กลุ่มจึงขอใช้พื้นที่ของสหกรณ์นิคมอำเภอหลังสวนดำเนินกิจกรรม

       ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เข้ามาสนับสนุนปัจจัยการผลิตในด้านต่าง ๆ รวมถึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของสถานที่ในการรวบรวมผลผลิต การจำหน่าย รวมทั้งการแปรรูป จึงได้มอบกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินพื้นที่ของสหกรณ์นิคมหลังสวน หมู่ที่ 4 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 7 ไร่ 2 งาน เพื่อให้กลุ่มมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร สถาบันการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การตลาด การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ซึ่งส่งผลให้กลุ่มสามารถบริหารจัดการกลุ่มให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เกิดความมั่นคงและสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกได้เป็นอย่างดี

         “รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจอย่างยิ่ง ที่จังหวัดชุมพรได้นำนโยบายตลาดนำการผลิตมาขับเคลื่อนจนประสบความสำเร็จ มีตัวอย่างเป็นที่ประจักษ์ เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มผลิตมังคุดคุณภาพ และรวบรวมผลผลิตจำหน่ายโดยวิธีการประมูลให้แก่ผู้ประกอบการได้ตรงตามความต้องการของประเทศคู่ค้า จนสามารถแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาดในช่วงผลผลิตกระจุกตัว ซึ่งจังหวัดชุมพรมีกลุ่มผลิตมังคุดคุณภาพ จำนวน 28 กลุ่ม โดยรวมตัวกันในลักษณะของเครือข่าย ดำเนินกิจกรรมด้านการผลิตและการตลาดร่วมกัน สามารถทำให้มังคุดมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เข้าสู่ระบบตลาดประมูล ทำให้มูลค่าผลผลิตสูงขึ้น สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดคุณภาพหาดสำราญสามัคคี ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนดไว้ และการจำหน่ายโดยวิธีการประมูลทำให้มังคุดของกลุ่มเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ สอดคล้องกับนโยบายตลาดนำการผลิต เกษตรกรมีความสามารถในการวางแผนตามความต้องการของตลาด ทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งสร้างรายได้จากการประมูลสูงกว่าราคาตามท้องตลาด อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรรักษาคุณภาพผลผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคด้วย” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง