1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
รมว.ธรรมนัส ควง รมช.อรรถกร ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ดันสร้างปตร.บ้านท่าหัวลบ พร้อมขุดลอกอ่างฯ เพิ่มความจุ
13 พ.ค. 2567
254
0
รมว.ธรรมนัสควงรมช.อรรถกรติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์
รมว.ธรรมนัส ควง รมช.อรรถกร ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ดันสร้างปตร.บ้านท่าหัวลบ พร้อมขุดลอกอ่างฯ เพิ่มความจุ

รมว.ธรรมนัส ควง รมช.อรรถกร ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ดันสร้างปตร.บ้านท่าหัวลบ พร้อมขุดลอกอ่างฯ เพิ่มความจุ พัฒนาแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนให้ชาวเพชรบุรี

         ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ จ.เพชรบุรี ณ โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าหัวลบ ต.วังไคร้ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ซึ่งกรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ พื้นที่รับประโยชน์ 2,780 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 2 อำเภอ จ.เพชรบุรี (ต.วังไคร้ อ.ท่ายาง และ ต.วังจันทร์ อ.แก่งกระจาน) ให้ชาวบ้านรวมกว่า 1,937 ครัวเรือน ได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค รวมไปถึงเกษตรกรรมได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี

    จากนั้น เดินทางติดตามการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพความจุอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมพบปะเกษตรกร และมอบโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอหนองหญ้าปล้อง ต.ท่าตะคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง และลงพื้นที่ตรวจอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ท่าตะคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งปัจจุบันมีระดับความจุเก็บกักอยู่ที่ 42.20 ล้าน ลบ.ม. แต่เนื่องจากมีปริมาณน้ำท่าไหลเข้าอ่างฯ เฉลี่ยมากถึง 74.30 ล้าน ลบ.ม. ทำให้จำเป็นต้องพร่องระบายน้ำส่วนเกินออกจากอ่างเก็บน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน และช่วยรักษาระดับให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด กรมชลประทาน จึงมีแผนขุดลอกอ่างเก็บห้วยแม่ประจันต์ เพื่อเพิ่มความจุของอ่างฯจากเดิม 42.20 ล้าน ลบ.ม. เป็น 49.10 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร พื้นที่รับประโยชน์กว่า 9,990 ไร่ รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากให้พื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำได้อีกด้วย

 

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง