1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมการข้าว แนะวิธีป้องและกำจัด “หนูศัตรูข้าว”
8 ส.ค. 2567
219
0
กรมการข้าว แนะวิธีป้องและกำจัด “หนูศัตรูข้าว”
กรมการข้าว แนะวิธีป้องและกำจัด “หนูศัตรูข้าว”

          นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ในการปลูกข้าวของชาวนา มีอีกหนึ่งปัญหาที่อาจพบเจอตั้งแต่ระยะเริ่มปลูก คือ การบุกรุกของหนูศัตรูข้าวที่กัดกินเมล็ดข้าวที่งอก โดยหนูศัตรูข้าวที่พบใน ประเทศไทย มี 3 สกุล 8 ชนิด ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก หนูท้องข้าวบ้าน หนูหริ่งนาหางยาว หนูหริ่งนาหางสั้น และหนูหริ่งใหญ่ ซึ่งหนูศัตรูข้าวจะกัดกินเมล็ดข้าวที่งอก ทำให้ข้าวเสียหายตั้งแต่เริ่มปลูก และเมื่อข้าวเริ่มงอกถึงระยะแตกกอ หนูจะกัดต้นข้าวโดยรอยกัดจะเป็นลักษณะเฉียงทำมุมประมาณ 45 องศา หรืออาจพบรอยกัดแทะลักษณะรอยถากด้านข้างลำต้น ซึ่งไม่ได้กัดให้ต้นข้าวขาด แต่ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองและเหี่ยว เมื่อข้าวออกรวงหนูจะกัดลำต้นหรือคอรวงให้ขาด แล้วแกะเมล็ดออกจากรวงกิน นอกจากนี้ยังเก็บสะสมรวงข้าวไว้ในรัง เพื่อเป็นอาหารหลังฤดูกาลเกี่ยว

         อธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อไปว่า สำหรับการป้องกันและวิธีกำจัดหนูศัตรูข้าวสามารถทำได้หลายวิธี แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.การใช้วิธีกล เป็นวิธีการที่สามารถทำได้เอง ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก แบ่งออกเป็น การใช้กับดักชนิดต่างๆ วางบริเวณทางเดินของหนู การขุดหนู เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกข้าวที่มีแรงงานและเวลามากพอ นิยมดำเนินการในช่วงฤดูแล้งหรือหลังการปลูกข้าว ขุดและจับหนูออกมาทำลายให้มากที่สุด การล้อมตีหนู ควรดำเนินการในช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เป็นวิธีการที่ต้องใช้ความร่วมมือ ในการช่วยกันไล่หนูให้เข้ามารวมกันและช่วยกันตีหนูที่อยู่ในวงล้อม 2.การเขตกรรม ได้แก่ การปรับสภาพแวดล้อมบริเวณแปลงนาไม่ให้เหมาะต่อการอยู่อาศัยของหนู เช่น การปรับลดขนาดของคันนาให้เล็ก เพื่อลดพื้นที่อยู่อาศัยและที่ผสมพันธุ์ ให้มีขนาดเล็กกว่า 30 เซนติเมตร และการกำจัดวัชพืชหรือกองวัสดุเหลือใช้ตามบริเวณคันนาอยู่เสมอ 3. การใช้ชีววิธี เป็นการป้องกันกำจัดหนูโดยอาศัยสัตว์ศัตรูธรรมชาติของหนู และการใช้ปรสิตที่พบเฉพาะในหนู ทำให้หนูป่วยเป็นโรคและตาย แบ่งออกเป็น การใช้สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น นกแสก งู พังพอน เหยี่ยว ช่วยกำจัดหนู ควรใช้ทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ปักไว้ในแปลงนา เพื่อเป็นคอนสำหรับนกผู้ล่า การใช้เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู โดยเหยื่อโปรโตซัว เป็นสารชีวินทรีย์กำจัดหนู โดยใช้ปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ที่พบเฉพาะในหนูและงูเหลือม มีการขยายพันธุ์แบบไม่มีเพศ บริเวณเซลล์บุผิวภายในหลอดเลือดของหนู และสุดท้ายสร้างเป็นซีสต์ ตามกล้ามเนื้อลำตัว เมื่องูเหลือมกินหนูติดเชื้อ โปรโตซัวจะขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศบริเวณเซลล์ผนังของลำไส้ และผลิตสปอร์โรซีสต์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการเจริญเติบโต และถูกขับถ่ายปะปนออกมาพร้อมมูลงู และ 4.การทำรั้วกั้น หรือการล้อมรั้วร่วมกับลอบดักหนูหรือกรงดักหนู พื้นที่ที่ปลูกพืชเป็นแปลงขนาดใหญ่ การล้อมรั้วและติดตั้งลอบดักหนู ในบริเวณที่หนูเข้าทำลายก่อน หรือแปลงปลูกพืชล่อ สามารถป้องกันหนูเข้าทำลายในพื้นที่ล้อมรั้วไว้ได้ และกำจัดหนูที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบได้ด้วย ซึ่งแปลงที่ทำการล้อมรั้วและติดตั้งลอบดักหนูควรมีขนาดกว้าง ประมาณ 20 - 50 เมตร และยาวประมาณ 20 - 50 เมตร และยาวประมาณ 20 - 25 เมตร ระบบนี้มีประสิทธิภาพการป้องกันกำจัดหนูได้ในรัศมี 200 เมตร จากแปลงที่ทำการล้อมรั้ว

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง