1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรฯ โดย สวก. จับมือ ม.ราชภัฏเชียงราย โชว์พลัง Soft Power จ.เชียงราย ชูเอกลักษณ์ความเป็นไทยผ่านผลงานวิจัยพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
17 ก.พ. 2567
328
0
กระทรวงเกษตรฯโดยสวก.จับมือม.ราชภัฏเชียงราย
กระทรวงเกษตรฯ โดย สวก. จับมือ ม.ราชภัฏเชียงราย โชว์พลัง Soft Power จ.เชียงราย ชูเอกลักษณ์ความเป็นไทยผ่านผลงานวิจัยพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูง

        ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “การแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม “Innovation for Sustainable Local Development: นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 Soft power กับการขับคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะ ดนตรี กวี วิจัย” เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรม และสร้างการรับรู้ Soft power อัตลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย ภายใต้การดำเนินงานของชุมชนในพื้นที่และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรกับ Soft Power เพื่ออนาคตประเทศไทย” โดยมี ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย  

        ภาคการเกษตรเป็นรากฐานสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย จากข้อมูล GDP ภาคเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่ามีสัดส่วนประมาณร้อยละ 8.5 ของ GDP ทั้งประเทศ โดยมีเนื้อที่ทางการเกษตร 147.7 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.1 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ มีสัดส่วนแรงงานภาคเกษตรประมาณร้อยละ 46.4 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ และที่สำคัญภาคเกษตรเป็นแหล่งวัตถุดิบหรือต้นน้ำของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี โดยจากข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 923,551 ล้านบาท

        อย่างไรก็ตาม “สินค้าเกษตรไทย” ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานและบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูง พร้อมผลักดันสู่ Soft Power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการชูเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้สามาถแข่งขันในตลาดโลกได้

        ด้าน ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เปิดเผยว่า สวก. พร้อมสนับสนุนผลงานวิจัยที่นำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาปรับใช้ต่อยอดในกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อพัฒนาผลผลิตการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้าเกษตรตลอดจนเป็นการเพิ่มโอกาสและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรไทยตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นการสร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูงผลักดันให้เป็นสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรกินดี อยู่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีฐานะที่มั่นคง ด้วยการส่งเสริม Soft Power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาล “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”   

        ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดย สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตั้งแต่ปี 2556 รวมงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท โดยสามารถพัฒนาผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และนำไปขยายผลให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงรายกว่า 10 โครงการ การพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตซึ่งนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรทำให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรสามารถให้ผลผลิตสูงมากกว่าเทคโนโลยีเดิมของเกษตรกร 20 - 30 %  สามารถพัฒนากระบวนการผลิตของเกษตรกรเพื่อให้ได้รับมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐาน GAP, GMP, Q เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตรแบบเดิม 2-3 เท่า รวมถึงการพัฒนาช่องทางทางด้านการตลาดได้มากขึ้น เช่น ไร่สิงค์ปาร์ค บิ๊กซี ท็อป โลตัส ร้านจำหน่ายสินค้าของฝาก เป็นต้น ซึ่งสามารถพัฒนาคุณภาพภาพชีวิตให้กับเกษตรกรเกษตรกรไม่น้อย 300 ราย ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรไม่น้อยกว่า 2,000 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

        สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้มีการนำเสนอนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวก. ที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาการตลาดข้าวจาปอนิกาในจังหวัดเชียงราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบไซรัปเพื่อสุขภาพจากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ การเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำหว้าด้วยการแปรรูปเป็น เนื้อเทียมอรรถประโยชน์สูง ที่มีการดัดแปรเชิงหน้าที่โปรตีนด้วยเอนไซน์จากสัปปะรด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงอาซาอิด้วยนวัตกรรมเอนแคปซูเลชัน นวัตกรรมการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย รวมถึงการพัฒนาสแน็คจากเศษมะคาเดเมีย ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าของเสียจากกระบวนการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง