1. เปลี่ยนการแสดงผล :
    2. C
    3. C
    4. C
    5. C
    6. ตัวช่วยการเข้าถึงเว็บไซต์
    7. แผนผังเว็บไซต์
    8. EN
    9. TH
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives
ตราสัญลักษณ์ 132 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
“ธรรมนัส” ควง “อนุชา” ฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง เล็งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มน้ำต้นทุน ช่วยพื้นที่เกษตรกว่า 1 หมื่นไร่
25 ก.พ. 2567
367
88
“ธรรมนัส”ควง“อนุชา”ฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท
“ธรรมนัส” ควง “อนุชา” ฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง เล็งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มน้ำต้นทุน ช่วยพื้นที่เกษตรกว่า 1 หมื่นไร่

“ธรรมนัส” ควง “อนุชา” ฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง เล็งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มน้ำต้นทุน ช่วยพื้นที่เกษตรกว่า 1 หมื่นไร่

         (วันนี้ 25 ก.พ.67) ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจังหวัดชัยนาท ซึ่งประสบปัญหาแหล่งน้ำในพื้นที่การเพาะปลูกข้าวไม่เพียงพอ ณ หนองชะโด ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โดยมี นายวิทยา ชพานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายมณเฑียร สงฆ์ประชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท เขต 2 นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรชาวนา เข้าร่วม

          รมว.เกษตรฯ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาของเกษตรกรผู้ทํานาในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสรรคบุรี และอำเภอสรรพยา โดยตําบลห้วยกรด ตําบลห้วยกรดพัฒนา ตําบลเที่ยงแท้ อําเภอสรรคบุรี ตําบลบางหลวง ตําบลสรรพยา ตําบลตลุก อําเภอสรรพยา ได้รับความเดือดร้อนในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ําไม่เพียงพอต่อการเกษตร จึงต้องอาศัยน้ําจากแหล่งน้ําธรรมชาติ บ่อบาดาล และในช่วงฤดูน้ําหลากจะมีการระบายน้ําในที่ลุ่มต่ํา ทําให้ดึงน้ําในที่ดอนไปด้วย ซึ่งเป็นปัญหาในการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่

          ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จึงได้มีแนวทางช่วยเหลือ โดยเห็นชอบให้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 3 จุด วงเงินงบประมาณ 40 ล้านบาท โดยใช้งบเหลือจ่าย ปี 2567 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ําช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ดังนี้ จุดที่ 1 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ํากลางคลองระบาย (คลองทิ้งน้ําหนองชะโด) วงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ 4,000 ไร่ เพื่อให้ราษฎรที่อาศัยในบริเวณโครงการและใกล้เคียงมีน้ําอุปโภค-บริโภคทําการเกษตร จุดที่ 2 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ําคลองระบาย (หนองน้ําร้อน) วงเงินงบประมาณ 10 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3,800 ไร่ 200 ครัวเรือน จุดที่ 3 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำคลองระบาย (คลองทิ้งน้ําทุ่งหนองบัว) วงเงินงบประมาณ 10 ล้านบาท (อยู่ในแผนงบกลางภัยแล้ง 67) พื้นที่รับประโยชน์ 4,800 ไร่ 250 ครัวเรือน

         สำหรับโครงการอื่นๆ ที่กลุ่มเกษตรกรได้นำเสนอ เช่น ขุดลอกคลองท่าหมาดอนงู การจัดทําโครงการบ่อบาดาลโซลาเซลล์ เพื่อเติมน้ําในสระไว้ใช้ในฤดูแล้ง การขุดลอกคลองลําน้ําบ้านหนองนั้น ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และให้เร่งนำเข้าแผนของบประมาณปี 2568 ต่อไป

          “รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาภัยแล้งที่ประสบทุกปีของชาวนาผู้ปลูกข้าวจังหวัดชัยนาท ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศ โดยเขื่อนเจ้าพระยาถือเป็นหัวใจสําคัญของโครงการชลประทานพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อการเพาะปลูกสําหรับพื้นที่ราบภาคกลาง จึงได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาเร่งด่วนเพื่อให้ชาวนาได้มีน้ำใช้เพื่อการทำเกษตร อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกร เช่น นโยบายลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ และนโยบายปุ๋ยคนละครึ่ง ที่กำลังจะดำเนินการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร” รมว.เกษตรฯ กล่าว

          “ขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการฯ ที่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวนาจังหวัดชัยนาท และได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากชาวนาโดยตรง โดยโครงการต่าง ๆ ที่กลุ่มเกษตรกรได้นำเสนอน้้น ทำให้เกษตรกรทำนาในพื้นที่อำเภอสรรคบุรี และอำเภอสรรพยา พื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ได้มีน้ำทำการเกษตรอย่างทั่วถึงและเพียงพอ เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร เกษตรกรมีต้นทุนการทำนาลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนาต่อยอดจากแหล่งน้ำเป็นการท่องเที่ยวทำให้มีรายได้เพิ่มนอกจากการทำนาได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผมในฐานะกำกับดูแลกรมการข้าว พร้อมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ที่ รมว.เกษตรฯ ได้เน้นย้ำ และจะเร่งหาแนวทางที่หลากหลายมิติ เพื่อนำพาพี่น้องเกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”  รมช.อนุชา กล่าวย้ำ

Loading...
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง