พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการเกษตรอุตสาหกรรม
  •           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำรัสในโอกาสที่คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง และสมาชิกผู้รับนมสด เข้าเฝ้าฯ ณ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่า

              ".....สมัยนี้ก็จะต้องมีการดัดแปลงผลิตผลที่มี เช่นข้าวก็ต้องสีแล้วในที่นี้ก็มีนมก็ต้องปรับปรุงนมนั้นให้ขายได้ เช่น การทำให้นมนั้นเก็บอยู่นานกว่า ๑ วัน เพราะตามธรรมดานมโดยเฉพาะในประเทศร้อน อย่างประเทศไทยเก็บไว้ไม่กี่ชั่วโมงก็จะเสีย ฉะนั้นก็ต้องมีวิธีการที่จะดัดแปลงให้เก็บไว้ได้ เพื่อที่จะส่งไปสู่ตลาดได้และเป็นนมที่มีคุณภาพดี....."

              ".....หลักการของสถานที่นี้ก็คือจะต้องดูว่าผลิตผล ผลิตอย่างไร ตั้งแต่ต้น เช่น ในที่นี้ก็มีการเลี้ยงโคนม มีการปลูกข้าว และปลูกพืชอื่นๆ เป็นการทดลอง และจากนั้นมีการค้นคว้าวิจัยว่าจะดัดแปลงผลิตผลเหล่านั้นอย่างไร สำหรับให้ไปสู่ผู้บริโภค เช่น โคนมก็ให้นมซึ่งผ่านกรรมวิธีต่างๆ เพื่อที่จะเป็นนมสำหรับผู้บริโภค นมสำหรับเก็บไว้ได้นานหน่อย หรือข้าวก็มีโรงสีสำหรับสีข้าว แล้วก็ส่งไปให้แก่สมาชิก ทั้งนมก็มีสมาชิกที่รับนมเป็นประจำวัน ฉะนั้น ก็เป็นกิจการที่ครบวงจรตั้งแต่ต้น คือ การผลิตแต่ต้น และมาดัดแปลง เสร็จแล้วก็ได้จำหน่ายและบริโภค ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวข้องกับการเกษตรนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันต้องผลิต ดัดแปลง จำหน่าย และบริโภคคือใช้ ถ้าตลอดทางเป็นไปโดยดี และแต่ละคนก็ได้ทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยความตั้งใจดี ด้วยความมีหลักวิชาที่ดี ทุกคนก็ได้ประโยชน์ ทุกคนได้รับผลดี ไม่ว่าผู้ที่ผลิต ไม่ว่าผู้ที่ดัดแปลง ไม่ว่าผู้ที่บริโภค ได้ประโยชน์ทั้งนั้น และทำให้ส่วนรวมของเรามีความมั่นคงได้....."

              พระราชดำรัสดังกล่าวแสดงการมองกิจกรรมการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก หรือผลิตจนถึงนำผลผลิตไปขาย

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าปัญหาของเกษตรกรไทย ส่วนใหญ่อยู่ที่การขาดความรู้ ทั้งวิชาการในด้านเกษตรและความรู้ในด้าน การตลาด ส่วนใหญ่มีความรู้เท่าที่บรรพบุรุษจะถ่ายทอดมาให้ การผลิตจึงเป็น การเกษตรเพื่อยังชีพ การที่จะก้าวไปถึงขั้นเกษตรอุตสาหกรรมจําเป็นจะต้องมี ความเข้าใจเรื่องการวางแผนการเพาะปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว คือ ต้องมี ความประณีตในการผลิต และมีวินัยในการผลิต จึงจะได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรู้ในการยืดอายุผลผลิตเพื่อขายให้ได้ราคา มิใช่มุ่งแต่ จะขายวัตถุดิบอย่างเดียว คือต้องมีความรู้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะ ให้ได้ราคาที่ดีกว่าเดิม กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นผู้ผลิตที่ได้ประสิทธิผลสูงสุด

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในการเกษตรอุตสาหกรรม ความข้อนี้ยืนยันได้จากโครงการต่างๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทําการวิจัยเพื่อหาผลสรุป ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและ โครงการในพระราชดําริต่างๆ แนวทางที่ทรงใช้ได้แก่ การพัฒนาด้านการเกษตร

              การพัฒนาด้านการเกษตร คือ การให้ความรู้และวิทยาการในการผลิตโดยทรงนําผลที่ได้จากการทดลองมาพระราชทานให้นําไปปฏิบัติ ทําให้เกษตรกร มีความรู้เพิ่มขึ้น เช่น รู้จักปลูกพืชผักเมืองหนาวหลายหลากชนิด รู้จักพืชพันธุ์ หรือเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รู้จักปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ เป็นต้น นอกจากความรู้ที่ได้ เกษตรกรยังต้องพัฒนาความสามารถให้เหมาะสมที่จะ ดำเนินการในการทําเกษตรอุตสาหกรรม กล่าวคือ ต้องรู้จักวางแผนการผลิต และมีวินัยในการผลิต เพื่อควบคุมคุณภาพของผลผลิต

              การพัฒนาด้านการตลาด คือ การทําให้ผลผลิตขายได้ในราคาที่เหมาะสม โดยทรงสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็นหมู่บ้านสหกรณ์ การเกษตรเพื่อจะได้มีอํานาจต่อรองในการซื้อขาย ดังเช่น ศูนย์สาธิตสหกรณ์ การเกษตรหุบกระพง จังหวัดเพชรบุรี พัฒนาวิธีการบรรจุหีบห่อและเก็บรักษาผลผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวง ตลอดจนแปรรูปผลิตผลที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์หลายหลากชนิด โดยจัดตั้งเป็นโรงงานขนาดเล็กในระดับหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านสามารถทําเองได้ เช่น โรงงานห็บน้ํามันปาล์มขนาดเล็กซึ่งทรงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปศึกษาพัฒนาต้นแบบ ฯลฯ

  • โครงการต้นแบบถ่ายทอด เทคโนโลยี

             สืบเนื่องมาจากการที่มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโครงการหลวงขึ้นในภาคเหนือเพื่อพัฒนาชาวเขา และแนะนําการปลูกพืชอื่นๆ แทนฝืน ทําให้ผลผลิตของราษฎรเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือเกิดภาวะผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด ราษฎรจําต้องขายในราคาต่ำ

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดําริให้จัดตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขนาดย่อมขึ้น เพื่อรองรับผลิตผลทางการเกษตรของราษฎร โดยนํามาแปรรูปเพื่อถนอมผลผลิตเหล่านั้นให้สามารถเก็บไว้ได้นาน และส่งจําหน่ายเป็นรายได้ต่อไป

    ปัจจุบัน มีโรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป ๕ แห่ง ได้แก่

              ๑. โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป ตําบลแม่งอน อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๑๕
              ๒. โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป ตําบลป่าซาง อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เริ่มดําเนินการ พ.ศ. ๒๕๑๗
              ๓. โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป ตําบลเต่างอย กิ่งอําเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เริ่มดําเนินการ พ.ศ. ๒๕๒๕
              ๔. โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป ตําบลโนนดินแดง อําเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มดําเนินการ พ.ศ. ๒๕๒๕
              ๕. โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงงานหลวงทางภาคเหนือ ๒ โครงการแรก เดิมตั้งขึ้นมาภายใต้โครงการอาหารสําเร็จรูปในพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ซึ่งหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้ควบคุมดูแล เพื่อเป็นตลาดรองรับผลิตผลผักและผลไม้เมืองหนาว ซึ่งโครงการหลวงได้ไปแนะนําให้เกษตรกรและชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น โรงงานทั้ง ๒ แห่ง มีบทบาทส่งเสริมให้ชาวเขาและชาวบ้านซึ่งอยู่ในบริเวณที่ตั้งโรงงาน ปลูกพืชผักเพื่อส่งโรงงานในราคาประกัน และโรงงานให้สินเชื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวเขาและเกษตรกรในท้องถิ่นของโรงงาน

              ส่วนโรงงานหลวงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งขึ้นภายใต้โครงการตามพระราชดําริ ซึ่งหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี เป็นผู้ควบคุม ต่อมาได้เข้าไปอยู่ภายใต้คณะกรรมการบริหารโรงงานหลวง ซึ่งมีสํานักงาน กปร. เป็นเลขานุการ เพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่แทรกซึมของผู้ก่อการร้ายและในเขตใกล้ชายแดน โดยในระยะแรกได้สนับสนุนให้ราษฎรปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งเข้าโรงงานผลิตเป็นมะเขือเทศเข้มข้น ส่งไปขายในกรุงเทพฯ และแหล่งผลิตปลากระป๋อง ต่อมาได้สนับสนุนให้ปลูก ข้าวโพดฝักอ่อน เพื่อบรรจุกระป๋องส่งขายต่างประเทศโดยตรง ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

              จุดมุ่งหมายสําคัญของโรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป คือ การยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร บทบาทหลักของโรงงานนี้จึงเป็นการพัฒนาระบบทางการเกษตรให้ครบวงจร โดยกิจกรรม ๓ อย่าง ได้แก่ การผลิตพืชเกษตรในเชิงเกษตรอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในกระบวนการอุตสาหกรรม เกษตร และการพัฒนาด้านตลาด

  • การผลิตพืชเกษตรในเชิงเกษตรอุตสาหกรรม 

              โรงงานหลวงได้ทําหน้าที่เป็นต้นแบบในการสร้างเสริมศักยภาพของราษฎร โดยการช่วยพัฒนาเกษตรกรให้เข้าใจระบบเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อจะได้ปลูกพืชผลส่งโรงงานได้ เพราะการปลูกพืชในระบบนี้จะต้องมีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม เกษตรกรต้องมีความเข้าใจเรื่องการวางแผนการเพาะปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวให้สัมพันธ์กับช่วงเวลา ปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบ

              โรงงานหลวงจึงทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรกับตลาดรับซื้อ โดยศึกษาความต้องการของตลาด นํามาวางแผนการผลิต และส่งเสริมเกษตรกรจัดระบบสมาชิกให้เกษตรกรผลิตพืชเกษตรส่งโรงงาน โดยมีการประกันราคาที่จะรับซื้อแน่นอน สนับสนุนด้านวิชาการ จัดหาปัจจัยที่สําคัญในการผลิตโดยการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ โดยอาศัยการประสานงานกับเจ้าหน้าที่เกษตรตําบล และเกษตรอําเภอในท้องที่

              การสร้างเสริมศักยภาพหรือเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรเป็นหน้าที่สําคัญยิ่ง เพราะในการผลิตพืชเกษตรในเชิงอุตสาหกรรมนี้ ตัวแปรสําคัญ ที่จะกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวก็คือตัวเกษตรกรเอง เกษตรกรจะต้องมีวินัย มีความชื่อสัตย์ จะต้องคุมคุณภาพของผลผลิตที่ส่งเข้าโรงงานได้ มิฉะนั้น ะมีผลกระทบโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์ที่จะออกจากโรงงาน และกระทบต่อระบบ การตลาด หากเกษตรกรขาดวินัย ขาดเทคโนโลยีสําหรับการผลิตพืชส่งโรงงานแล้ว ก็จะไม่มีโรงงานเอกชนเข้ามาตั้งเพื่อเป็นตลาดรองรับพืชผลในท้องถิ่นนั้นเลย

              ดังนั้น โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูปจึงเน้นความสําคัญของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้การศึกษาเกษตรกรเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมเกษตร สมดังที่ ดร. ศักรินทร ภูมิรัตน์ ผู้ดําเนินงานโครงการโรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูป ได้เล่าออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า

              "..... ทรงมีพระราชดําริเสมอว่า โรงงานนี้จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน จะเป็นโรงงานแยกออกมาโดดๆ ไม่ได้ เพราะว่าจะต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ของชาวบ้านเป็นที่ฝึกนอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมเกษตร ระบบการทํางาน ฝึกอย่างอื่นๆ เป็นคล้ายๆ กับหน่วยงานซึ่งถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชาวบ้านด้วยครับ..."

    การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในกระบวนการอุตสาหกรรมเกษตรและตลาด

               เป็นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต ในโรงงานซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี

               ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปและอาหารกระป๋องในเครื่องหมายสินค้าว่า "ดอยคํา"

               ผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ แยมสตรอเบอรี่ แยมพลัม แยมฝรั่ง แยมท้อ แป้งข้าวสาลี ขนมปัง ข้าวโพดเม็ด ข้าวโพดครีม สาลี่อบแห้งแช่อิ่ม ลูกอมท้อ ลูกอมพลัม บ้วยดอง ผักกาดดองปรุงรส ท้อแช่น้ําผึ้ง ท้อสุกแช่อิ่ม พลัมแช่อิ่ม ลิ้นจี่แช่อิ่มอบแห้ง มะละกอแก้ว ดอกเก๊กฮวยแห้ง สับปะรดอบแห้ง เห็ดหอมแห้ง ลูกแพร์อบแห้ง ผักแห้งอนามัย สตรอเบอรื่อบแห้ง ต้นหอมอบแห้ง กระเทียมอบแห้ง ตังฉ่าย กาแปคั่ว น้ำผึ้งลิ้นจี่ น้ำผึ้งลำไย

               อาหารกระป๋อง ได้แก่ น้ำกระเจียบเข้มข้น น้ำเก๊กฮวยเข้มข้นขึ้น น้ำเสาวรสเข้มข้น น้ำบ้วยเข้มข้น น้ำสตรอเบอรีเข้มข้น น้ำมะเขือเทศเข้มข้น น้ําฝรั่งพร้อมดื่ม น้ํากระเจี๊ยบพร้อมดื่ม น้ําพลัมพร้อมดื่ม ลําไยในน้ําเชื่อม สิ้นจีลอยแก้ว สาลีลอยแก้ว ท้อลอยแก้ว เงาะลอยแก้ว เงาะในน้ําเชื่อมสอดไส้ สับปะรด เห็ดแชมปิญองในน้ําเกลือ ผักกาดดอง ถัวแดงหลวงในน้ําเกลือ และผลผลิตเหล่านี้มีวางจําหน่ายในท้องตลาดและขายได้ราคาตามกลไกตลาด ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สินค้าของโครงการหลวงซึ่งใช้เครื่องหมาย "ดอยคํา" ได้รับ รางวัลเกียรติยศมาตรฐานสินค้าไทยส่งออกในสาขาผัก ผลไม้สด และผลไม้กระป๋องส่งออกดีเด่นประจำปี ๒๕๓๑ Thai Expo Award, 1988

  • โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา : สถานีทดลองเพื่อการพัฒนา

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มโครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับ การเกษตรกรรมขึ้นภายในบริเวณสวนจิตรลดา เป็นเสมือนสถานีทดลอง ลองผิด ลองถูก ให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากผลที่ได้ โดยนําไปปรับใช้ให้เหมาะ กับท้องถิ่นของตน

               โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพยายาม หาวิธีการเก็บรักษาข้าวและวิธีการสีข้าวให้เสียหายน้อยที่สุดโดยในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการในพระองค์ รวมกลุ่มกันขึ้นในรูปสหกรณ์ และพระราชทานทดรองจ่ายพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์เป็นจํานวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้เริ่มกิจการโรงสีข้าวตัวอย่างแบบ สหกรณ์ เพื่อดําเนินการจัดซื้อข้าวเปลือกในราคาเป็นธรรมมาเก็บรักษาไว้ เพื่อสี เป็นข้าวสารจําหน่ายในราคายุติธรรม

               โรงสีข้าวตัวอย่างนี้เป็นโรงสีแบบใช้ระบบเหวี่ยงออกแบบโดยหม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล ประกอบด้วยอาคารโรงสี อุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกทําด้วยไม้ ขนาด ความจุ ๑๕ เกวียน และฉางเหล็กทรงกลมมีท่อระบายอากาศ จํานวน ๒ ฉาง จุข้าวเปลือกได้ฉางละ ๑๕ เกวียน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างฉางข้าวขนาดบรรจุ ๕๐๐ เกวียน ตามแบบของกรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ

               ได้มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องสีข้าวแบบต่างๆ ให้ทรงทดลองอีกหลายราย ท้ายสุดทางกองเกษตรวิศวกรรม ได้รับแนวพระราชดําริมาออกแบบและปรับปรุง เครื่องสีข้าวที่มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูง สามารถแยกปลายข้าวและข้าว ท่อนออกได้ ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กลุ่มเกษตรกร นําไปใช้ต่อไป เช่น โรงสีข้าวพิกุลทอง ในหมู่บ้านสหกรณ์ปูยู ตําบลเกาะสะท้อน อําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พระองค์ได้พระราชทานโรงสีข้าวให้กลุ่ม เกษตรกร ดําเนินงานในรูปสหกรณ์ ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาระบบธนาคาร ข้าวและบริการสีข้าวเปลือกให้แก่ราษฎร

  •            ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากโครงการส่วนพระองค์อันเกิดจากการแปรรูป ผลิตผลทางการเกษตร ที่สําคัญ ได้แก่

               ผลิตภัณฑ์นม น้ํานมโคสดในระยะแรกที่ขายในสวนจิตรลดาเป็น น้ํานมที่ได้จาก "โรงโคนมสวนจิตรลดา" ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ บรรจุ นมใส่ขวดปิดปากขวดด้วยกระดาษแก้วรัดยาง จําหน่ายให้แก่ข้าราชบริพาร ภายในสวนจิตรลดา ต่อมาเมื่อจํานวนโคนมเพิ่มขึ้นจึงทําให้สามารถผลิตออกมา จําหน่ายแก่บุคคลภายนอกในละแวกใกล้เคียงได้ และได้เปลี่ยนการบรรจุเป็น ใส่ถุงพลาสติกสีดําแทนในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นช่วงที่เกิดภาวะ น้ํานมดิบล้นตลาด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดําเนินการช่วยเหลือผู้เลี้ยง โคนม โดยตั้ง "ศูนย์รวมนมสดสวนจิตรลดา" ขึ้น เพื่อซื้อนมดิบจากสหกรณ์ และฟาร์มโคนมต่างๆ ที่ผลิตมากเกินความต้องการของตลาด และได้ตั้ง "โรง นมผงสวนดุสิต" ขึ้นเป็นโรงงานขนาดย่อมโดยมี หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้ออกแบบ เพื่อแปรสภาพนมสดให้เป็นนมผงที่มีคุณภาพดี สามารถ เก็บไว้ได้นาน และเพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างให้แก่ผู้สนใจและสมาชิกผู้เลี้ยงโคนม ทั่วประเทศได้มาเห็นและศึกษาวิธีการผลิตนมผง 

               ปัจจุบัน โรงนมผงสวนดุสิตเป็นโรงนมผงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะผลิตนมผง ทั้งนมผงหวานบรรจุถุงและบรรจุกระป๋องแล้ว ยังสามารถใช้อุปกรณ์ของโรงงานนี้ผลิตทอฟฟื้นมน้ํากลั่นสําหรับบริโภคบรรจุขวด และน้ํากลั่นสําหรับแบตเตอรีรถยนต์อีกด้วย

               ในด้านนมสดนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดาได้ซื้อ เครื่องพาสเจอไรส์และเครื่องโฮโมจิไนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงแทนเครื่องมือเดิม ทําให้การผลิตนมสดมีคุณภาพดีขึ้น จึงรับนมจากสหกรณ์หนองโพและจากโคนม สวนจิตรลดามาผ่านกรรมวิธีพาสเจอไรส์ ใช้เครื่องหมาย "นมสดสวนจิตรลดา" จําหน่ายให้กับสมาชิกและโรงเรียนต่างๆ ในราคาถูกเป็นพิเศษเพื่อส่งเสริม สุขภาพและพลานามัยให้แก่เยาวชน

               ปัจจุบันนมสดสวนจิตรลดาบรรจุถุง ๒๒๕ มิลลิลิตร บรรจุขวด ๑,๐๐๐ มิลลิลิตรมีหลายรสให้เลือกทั้งรสจืด รสหวานกลิ่นวานิลลา รสหวานกลินสละ และ รสโกโก้ 

               นมเม็ดสวนดุสิต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีมากที่สุดโดยเฉพาะนมเม็ด ช็อคโกแลตซึ่งผลิตไม่พอขาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ ให้ผลิตนมเม็ดเพื่อส่งเสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่ชอบดื่ม น้ํานมสดและผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพสามารถพกพาไปได้สะดวก ทั้งยังช่วยให้การดําเนินงานโรงนมผงคล่องตัวยิ่งขึ้นเพราะรับนมซื้อนมจากโรงนมผง สวนดุสิตมาผลิตนมเม็ด โรงนมเม็ดสวนดุสิตจึงเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗

               ในปัจจุบัน นมเม็ดสวนดุสิต มีทั้งรสนม รสช็อกโกแลตและรสกาแฟบรรจุ ในซองๆ ละ ๒๐ เม็ด

  •            ผลิตภัณฑ์จากโรงเนยแข็งสวนจิตรลดา โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะกรรมการบริหาร ของบริษัทสหกรณ์ ซี.ซี. ฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บริษัทโฟรโมสต์ฟรีแลนด์ (ประเทศไทย) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องมือสําหรับ ผลิตเนยแข็งเนื่องในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งในวาระเดียวกันนี้ทางโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาได้เตรียมสร้างอาคารโรงเนยแข็งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้เงิน กําไรสะสมของโรงนมเม็ดและศูนย์รวมนมเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง

              ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากโรงเนยแข็งแห่งนี้ ได้แก่

                   - เนยแข็ง "มหามงคล" ชื่อตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี พระราชทาน มี ๓ ชนิด ได้แก่ gouda cheese เนยแข็งชนิดปรุง แต่งบรรจุในถุงพลาสติกในระบบสุญญากาศ ขนาด ๒๕๐ กรัม และ cheddar Cheese
                   - ไอศกรีม ๖ รส ได้แก่ รสสตรอเบอรี วานิลลา กะทิ กาแฟ ช็อกโกแลต และรสเผือก ขนาดบรรจุ ๘๐ กรัม
                   - นมสดปราศจากไขมัน บรรจุในถุงพลาสติกฟอยล์ ขนาด ๒๒๕ ซีซี และขวดพลาสติกขนาด ๕๐๐ ซีซี
                   - เนยสด บรรจุในกล่องพลาสติก
                   - คุ้กกี้เนยสด เป็นผลิตภัณฑ์เบอเกอรีที่ใช้เนยสดจิตรลดาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิต บรรจุในกล่องพลาสติกใส
                   - โยเกิร์ตพร้อมดื่ม มี ๔ รส ได้แก่ รสองุ่น รสมะนาว รสสตรอเบอรี และรสสัม บรรจุในถุงพลาสติกฟอยล์
                   - นมข้นหวาน เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุในรูปแบบใหม่ คือหลอดลามิเนต ขนาด ๑๒๐ กรัม เพื่อสะดวกในการพกพา

              ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ โครงการน้ำผลไม้คั่นเป็นโครงการที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริให้ทดลองเป็นตัวอย่าง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนอาชีพจากการทํานามาเป็นการปลูกพืชอื่นทดแทน และเพื่อ ส่งเสริมให้คนไทยได้ดื่มน้ำผลไม้ที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น

              โครงการนี้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เนื่องมาจากศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา ได้เลิกใช้เครื่องพาสเจอไรส์แอคตินีของเก่าซึ่งใช้มานานในการผลิตนม จึงได้นํามาใช้ในการผลิตน้ำผลไม้แทน โดยทดลองผลิตน้ำส้ม น้ำอ้อยและ น้ำกระเจี๊ยบออกมา ปรากฏว่าได้รับความนิยมมาก จึงส่งเสริมให้เกษตรกร ตั้งกลุ่มดําเนินงานในรูปสหกรณ์การเกษตรเพื่อจัดตั้งเป็นโรงงานแปรรูป น้ำผลไม้ ดังเช่นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรฯ จัดตั้ง สหกรณ์อ้อยคั่น ลาดบัวหลวง ขึ้นที่ ตําบลหลักชัย อําเภอลาดบัวหลวง ซึ่งเกษตรกรที่นี่เดิมทํานา แต่ประสบปัญหาผลผลิตราคาตกต่ํา ขาดทุนมาตลอด จึงเปลี่ยนมาทําไร่อ้อยแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่ก็ประสบปัญหาถูกกดราคา จึงได้รวมกลุ่มตั้งเป็น สหกรณ์เพื่อรวมกันขาย เมื่อได้รับการส่งเสริมในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จึงรวมกลุ่ม จัดตั้งเป็นสหกรณ์และสร้างโรงงานน้ำอ้อยคั่นพาสเจอไรส์โดยใช้ฝีมือช่างไทย ทั้งหมด ผลิตน้ำอ้อยพาสเจอไรส์ ออกมาขายในท้องตลาด เป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกได้ดีกว่าก่อนมาก  

               ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้ตั้งโรงน้ำผลไม้พาสเจอไรส์ขึ้นในสวนจิตรลดา ผลิตน้ำผลไม้บรรจุขวดพลาสติกขนาดครึ่งลิตรและขนาด ๑ ลิตร ได้แก่ น้ำมะม่วง น้ำชิง น้ำเก๊กฮวย น้ำอ้อย น้ำมะตูม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะนาว น้ำลําไย น้ำใบเตย น้ำแห้ว น้ำตะไคร้ และผลิตน้ำผลไม้เข้มข้น ได้แก่ น้ำมะม่วง บรรจุแก้วขนาด ๗๕๐ ซีซี ต่อมาได้ขยายงานผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้เป็นบรรจุกระป๋องขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยใช้ภาชนะชนิดเปิดฝาง่ายบรรจุกระป๋องพร้อมดื่ม และเพิ่มผลิตภัณฑ์ บางชนิด ได้แก่ น้ำผึ้งผสมมะนาวกระป๋อง น้ำมะขาม น้ำกาแฟดํา น้ำเห็ดหลินจือ น้ำสับปะรด และน้ำแพชชั่น

               โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดายังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกเช่น กระดาษสา ที่ทําจากต้นปอสาเห็ดหลินจือจากโรงเพาะเห็ดเอทิลแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาล ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นที่ยอมรับว่า "คุณภาพดี ราคาถูก"

               คุณรสริน สมิตะพินทุ รองผู้อํานวยการฝ่ายบริหารโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทมากว่า ๒๐ ปี ได้ให้สัมภาษณ์ นิตยสารผู้หญิง ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ถึงโครงการส่วนพระองค์ เหล่านี้ว่า "การทํากําไรไม่ใช่นโยบายของเรา แต่ทุกโครงการจะต้องเลี้ยงตัวเองได้ การทําแบบที่เราทําที่นี้ แน่ใจแล้วว่าราษฎรจะต้องมีกําไรแน่ๆ พระองค์อยากให้ มีสหกรณ์เล็กๆ เหล่านี้กระจายไป และเติบโตเหมือนสหกรณ์หนองโพ ซึ่งเกือบ ๓๐ ปีแล้วที่เติบโตแข็งแรงจากการที่เขาทําโรงนมมา...อยากให้มีสหกรณ์แบบนี้ หลายๆสหกรณ์ ทั้งความเจริญในหมู่บ้านเองแล้วก็พลานามัยของเด็กๆ ก็จะได้ด้วย..."

  •            โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก โครงการเพื่อชาวสวนปาล์ม พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของภาคใต้ที่นิยมกัน คือ ปาล์มน้ำมัน ชาวสวน ปาล์มนิยมปลูกเป็นสวนขนาดเล็ก กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปนับตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป เกษตรกรมักจะประสบปัญหาการส่งผลปาล์มไปยังโรงหีบน้ำมันปาล์ม ซึ่ง ในช่วงแรกๆ มีโรงงานขนาดใหญ่อยู่ที่จังหวัดกระบี่เท่านั้น การขนส่งที่ไม่สะดวก ทําให้น้ำมันที่อยู่ในลูกปาล์มเสื่อมลงตามระยะเวลา รายได้ที่เกษตรกรควรได้รับ ก็ลดลงตามไปด้วย

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยชาวสวนปาล์มเหล่านี้ จึงมี พระราชดําริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทําการศึกษาวิจัยพัฒนาต้นแบบ โรงงานห็บน้ำมันปาล์มขนาดเล็กในระดับที่ชาวบ้านจะสามารถดําเนินการเองตามลําพังได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาต้นแบบเสร็จแล้ว มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ได้ไปติดตั้งเครื่องห็บขนาด ๑ ตันที่โรงงานสหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัด กระบี โดยใช้ต้นทุนไปเป็นเงินประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น ปรากฏว่า มีขนาดเล็กเกินไปไม่เหมาะสมกับปริมาณผลปาล์มที่ผลิตได้ กลุ่มเกษตรกร จึงได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขยายโรงงานเป็น ๖ ตัน ปรากฏว่า ได้ผลดี นอกจากจะหีบเอาน้ำมันปาล์มออกมาแล้ว ยังได้นําเอากากของลูกปาล์มไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ และเอาไขน้ำมันปาล์มมาทําสบู่จําหน่ายได้อีกด้วย

               โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กนี้นอกจากจะมีราคาถูกแล้ว ยังได้ช่วย ลดค่าขนส่งและลดการสูญเสียคุณภาพของผลปาล์ม เกษตรกรสามารถกําหนด ระยะเวลาการขายผลปาล์มของตัวเองได้และสามารถพัฒนาผลิตผลให้ได้

               ปัจจุบันในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส ก็มีพระราช ดําริให้จัดสร้างโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก เพื่อแปรรูปผลผลิตที่ได้จากการทดลองตลอดจนถึงการแปรรูปผลผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภค

               กล่าวได้ว่า โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันขนาดเล็กเป็น โครงการศึกษาวิจัยด้านเกษตรอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ สามารถยกระดับการครองชีพในภาคใต้ให้ดีขึ้น

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนา : การยกระดับเกษตรกรสู่อุตสาหกรรมเกษตร

               วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดําริในภูมิภาคต่างๆ คือ การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ และการนํา ผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ก็คือ การแปรผลสรุปของโครงการพระราชดําริในการ พัฒนาโดยเฉพาะในด้านการเกษตรในยุคต้นๆ มาสู่ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และ ถ่ายทอดวิทยาการ เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเกษตรอุตสาหกรรมที่เหมาะสม

               ผลิตภัณฑ์ยาง ชาวภาคใต้มีสํานวนภาษาซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตสํานวนหนึ่ง ว่า "ตื่นสายให้ปลูกสวนพร้าว ตื่นเข้าให้ปลูกสวนยาง" ชาวสวนยางต้องตื่นเช้า เพราะการกรีดยางที่ให้น้ำยางที่มีปริมาณและคุณภาพดี ต้องทําตอนตี ๓ ตี ๔ ชาวสวนยางจึงต้องเป็นคนขยัน

               ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญในภาคใต้ สามารถนํามาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ เดิมงานอุตสาหกรรมยางนั้นโครงการศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯได้ดําเนินการงานวิจัยทดสอบการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์ ยาง และได้แปรรูปผลิตภัณฑ์ยางในรูปแบบต่างๆ เช่นจานรองแก้ว เบาะฟองน้ำ เท้าเทียม เป็นต้น จนกระทั่งประสบผลสําเร็จ และได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยยาง สงขลา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร รับใปดําเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖

               ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ สถาบันวิจัยยางได้ขยายแผนงานเป็นแผนงาน การศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติครบวงจร ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการแปรรูปยางดิบ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ จากยาง การตลาดและการค้า ในด้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยางนั้น ได้จัดทําโครงการย่อยหลายโครงการ เช่น ศึกษาสูตรและวิธีผลิตเท้าเทียม ผลิต ยางรัดของ ยางฟองน้ำรองพรม เป็นต้น และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ กรมวิชาการ เกษตรได้จัดสร้างโรงงานผลิตภัณฑ์ยางขนาดเล็กที่เขาสํานัก เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติครบวงจร

               ในปัจจุบันโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้มุ่งเน้นผลผลิตยาง จากสวนยางของศูนย์ฯ และของเกษตรกรในหมู่บ้านรอบศูนย์เป็นหลัก โดยนํา น้ำยางสดที่ได้มาผลิตน้ำยางข้นในโรงงานอุตสาหกรรมยางของศูนย์ น้ำยางข้น ที่ได้จะจําหน่ายให้แก่โรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง และองค์การสวนยางส่วนหนึ่ง ส่วนหางน้ำยางนํามาผลิตเป็นยางเครป น้ำยางข้นที่ได้อีกส่วนหนึ่งจะนําเข้า แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มราคา ในระยะแรกนี้สามารถผลิตฟองน้ำรอง เสื่อกระจูดและฟองน้ำเบาะรองนั่งได้

  •           ผลิตภัณฑ์จากถั่วเขียว ถั่วเขียวเป็นพืชที่สามารถนํามาแปรรูปเป็น วุ้นเส้นและซีอิ๊วได้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ คุณศรีวัย สิงหะคเชนทร์ ผู้วิจัยการทํา วุ้นเส้นจากถั่วเขียวตามโครงการพระราชดําริ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ได้ทดลองทําแป้งถั่วเขียวตามกรรมวิธีดั้งเดิมเพื่อถวายทอดพระเนตร พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคําแนะนําว่า

              "โปรตีนที่ล้างออกไปนั้นไปไหนหมด โปรตีนเป็นของที่มี ประโยชน์ต้องทิ้งไป ควรหาทางนําโปรตีนกลับมาใช้ประโยชน์"

              ด้วยพระราชดํารัสดังกล่าว คุณศรีวัยจึงได้ตั้งคณะทํางานวิจัยเป็น ๒ คณะ ผลก็คือ ได้ออกแบบเครื่องมือผลิตแป้งและวุ้นเส้นขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วย เครื่องบดและกรองแยกกากในชุดเดียวกันสําหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ซึ่งต่อมาได้ขยายผลไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และศูนย์ศึกษาการ พัฒนาเขาหินซ้อนฯ ตามลําดับ และได้วิจัยสูตรซีอิ๊วที่มีคุณภาพโดยการสกัด เอาโปรตีนที่ได้จากการล้างแป้งถัวเขียวมาผลิตเป็นซีอิ๊ว

              ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตการเกษตรตามศูนย์ศึกษาฯ ต่างๆ ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ถึงแม้ว่ายังไม่ได้ผลเต็มที่แต่ก็ทําให้เกษตรกรเห็นแนวทาง ขยายอาชีพจากเดิมได้ นับเป็นการยกระดับทักษะอาชีพของเกษตรกร

              อาจกล่าวสรุปแนวพระราชดําริในด้านเกษตรอุตสาหกรรมได้ว่า ทรง ต้องการให้เกษตรกรพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน จะไม่เอื้อให้เกษตรกรยืนอยู่บนลําแข้งของตนเอง สําหรับเกษตรกรโดยทั่วไป ที่มีปัจจัยการผลิตพร้อมอยู่แล้ว คือ มีที่ดิน มีผลิตผล ก็ทรงส่งเสริมให้มี การจัดองค์กรเพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยศึกษาแบบอย่างได้จาก โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และโครงการต่างๆ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรของตนให้เจริญก้าวหน้า และสามารถ ดําเนินการเชิงธุรกิจที่ทํากําไรได้ด้วยการพึ่งตนเอง ส่วนเกษตรกรที่ขาดปัจจัยใน การผลิต ไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ ก็ทรงพยายามยกระดับความรู้ เพิ่มศักยภาพ ของตัวเกษตรกรเพื่อให้เข้าใจและสามารถอยู่ในระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมได้

  •  การขยายผลสู่ราษฎร : ผลิตภัณฑ์อาหารของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่าไผ่ จังหวัดเชียงใหม่

               บ้านป่าไผ่ หมู่ ๒ ตําบลแม่โป่ง อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านรอบศูนย์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ แต่เดิมก่อนที่จะตั้ง ศูนย์ฯ ขึ้น ชาวบ้านมีอาชีพทําไร่ ปลูกถัว หอม กระเทียม บ้างก็ตัดไม้ตามดอย

               เมื่อโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ เป็นต้นมา ผลประโยชน์ที่ได้กับราษฎรคือ มีคลองส่งน้ำ ทําให้ราษฎรร้อยละ ๙๐ หันมาทําการเกษตรอย่างจริงจัง ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ จนในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เกิดภาวะกระเทียมราคาตก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่าไผ่จึงรวมตัวกันแปร รูปกระเทียม มีวิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรมาช่วยสอนการดองกระเทียม ดองผลไม้ ดังนั้น การดองกระเทียมและผลไม้จึงเกิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา

               ในปัจจุบัน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่าไผ่มีสมาชิกถือหุ้น ๑๔๖ คน โดยมีนางฟองนวล ธาตุอินจันทร์ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก ๑๐ คน มาทํางาน ประจําในโรงงานดองกระเทียมและผลไม้แห่งนี้ นอกจากนี้ยังผลิตน้ำพริกแดง และน้ำพริกปูอีกด้วย

               กระเทียมดอง ผลิต ๘ เดือนในแต่ละปี ดองทั้งกระเทียมโทนและกระเทียม หัวใหญ่ โดยไปรับซื้อกระเทียมที่จังหวัดลําปาง เชียงราย และอําเภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกระเทียมหัวใหญ่รับซื้อจากเกษตรกรในหมู่บ้าน การดองกระเทียมเริ่มในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงท้ายปี ใช้เวลาดอง ๑ เดือนก็ส่งขายได้

               มะม่วงดอง ผลิต ๗ เดือนต่อปี โดยรับซื้อมะม่วงแก้วจากเกษตรกร ในหมู่บ้าน ดองมะม่วงครั้งละ ๓๐,๐๐๐ กก. บรรจุถุงพลาสติกจําหน่าย และยัง ทํากระท้อนดองจําหน่ายเช่นกัน

               ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่าไผ่ขายดีมาก มีจําหน่ายทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เป็นตัวอย่างหนึ่งของ การทําเกษตรอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของราษฎรใน การผลิตและจัดจําหน่ายเอง

ตกลง