พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการปลูกพืช
  •           การพัฒนาการเกษตร นอกจากอาศัยปัจจัยของภูมิประเทศ ดิน น้ำ ภูมิอากาศ และการปลอดศัตรูพืชแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือพันธุ์พืช ซึ่งมีผลต่อความทนทานในสภาพภูมิอากาศ สภาพดิน น้ำ และความต้านทานโรค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงตระหนักถึงปัญหาการปลูกพืชในภูมิภาคต่างๆ จึงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดต่างๆ รวมทั้งการจัดการระบบการเกษตรในไร่นา ในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในท้องที่ต่างๆ จะมีพระราชกระแสให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นำพันธุ์พืชที่เป็นพันธุ์ดี มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และศัตรูพืชไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทดแทนพันธุ์เดิม เพื่อเพิ่มผลผลิต

              แนวพระราชดำริเกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดต่างๆ มี ดังนี้

              ในการเสด็จแปรพระราชฐานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการปลูกข้าว เนื่องจากเป็นอาหารหลักของคนไทย และยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ จนกระทั่งมีการจัดตั้งกรมการข้าวในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยมี หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก

              ต่อมาเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรก และได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการของสถานีทดลองข้าวพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพระองค์ได้ทรงซักถาม และพระราชทานพระราชดำริต่างๆ อันทรงคุณค่าแก่ข้าราชการประจำสถานีเป็นอันมาก 

              อนึ่ง ในการจัดตั้งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานในแปลงนาข้าวทดลองสวนจิตรลดาตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ในการผลิตข้าวพันธุ์ดีเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการปลูกพืช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการปลูกพืช
  •           ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ได้ทอดพระเนตรแปลงทดลอง แล้วมีพระราชดำรัส ว่า

              "...ในอนาคต ข้าวไร่มีบทบาทมากเพราะไม่ต้องใช้น้ำมาก และอาศัยฝนตามธรรมชาติ สำหรับพวกข้าวสาลี และข้าวบาเลย์ ให้เป็นพืชสำหรับแปรรูป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวเขา และเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง..."

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเห็นความสำคัญของการค้นคว้าวิจัยการทดลองพืชในสิ่งแวดล้อมแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่มีสภาพใกล้เคียงกับเขตตั้งถิ่นฐานของชาวไทยภูเขา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ พระองค์ได้พระราชทานที่ดินของสถานีเกษตรหลวงสะเมิง ซึ่งตั้งบนที่สูงในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ให้อยู่ในความดูแลของกรมวิชาการเกษตร โดยมีวัตุประสงค์ในการศึกษาวิจัยการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต และพืชเมืองหนาวอื่นๆ โดยมีชื่อใหม่ว่า "สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง" มีพื้นที่ประมาณ ๔๐ ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่สูง ๗๓๕ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ กรมวิชาการเกษตรได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า" ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปาย (ปางมะผ้า) เพื่อพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในภาวะล่อแหลมจากการคุกคามของคอมมิวนิสต์ โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๗๐๐ ไร่ อยู่ในระดับความสูง ๕๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

  •           ๑) ข้าวไร่ (Upland Rice) เหมาะกับพื้นที่นาที่อาศัยน้ําฝน พื้นที่ตามไหล่เขาและที่ดอน เป็นพันธุ์ข้าวทนแล้ง ต้องการน้ําน้อย ฝนตกชุกก็อยู่ได้

    ข้าวไร่มี ๒ กลุ่มคือ
              – ข้าวไร่ที่สูง ทดลองในโครงการพระราชดําริในภาคเหนือ ส่วนใหญ่ อยู่บนที่สูงเกิน ๗๐๐ เมตรขึ้นไป เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขา สายพันธุ์ ข้าวไร่ที่ให้ผลผลิตสูงคือ พันธุ์เจ้าฮ่อ ข้าวขาว และเบลโช่ เป็นต้น
              – ข้าวไร่ที่ราบต่ํา เหมาะกับพื้นที่ในระดับความสูงไม่เกิน ๗๐๐ เมตร ค่อนข้างเป็นนาดอน สภาพดินไม่อุ้มน้ํา ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ําโขง อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ราบลุ่มแม่น้ําโจน จังหวัดนครนายก ที่ราบเชิงเขาปราจีนบุรี หรือพื้นที่บนที่เนินลอนลาดในภาคใต้ ได้แก่ พันธุ์ดอกพะยอม กู้เมืองหลวง และ ชิวแม่จัน เป็นต้น

              ๒) ข้าวนาสวน (Lowland Rice) ได้แก่ ข้าวที่ปลูกในที่ราบหถบเขา ที่อยู่ในระดับความสูง ๗๕๐ - ๙๐๐ เมตร เหนือระดับน้ําทะเล ซึ่งมีน้ําสมบูรณ์

         ซึ่งชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและมังเคยปลูกข้าวอยู่แล้ว ทรงแนะให้ปลูกข้าวนาสวนในที่สูง โดยใช้พันธุ์บือฮอบือ บือโคดี และนาป่าแป๋ เป็นต้น

              นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมวิชาการเกษตร ดําเนิน การวิจัยและส่งเสริมการปลูกข้าวนาสวน ข้าวไร่ และปรับปรุงระบบการผลิตข้าว ในศูนย์การศึกษาการพัฒนาฯ ๕ แห่ง คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ

             ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยฮ่องใคร้ฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ดังพระราชดํารัสที่พระราชทานแก่คณะกรรมการ กปร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ณ พระตําหนัก สวนจิตรลดารโหฐานว่า

              "...ศูนย์ศึกษาการพัฒนานั้น แม้จะมีการปลูกข้าวก็อาจจะมีการปลูกข้าวในลักษณะต่างกัน หรือดูว่าในภูมิประเทศอย่างนี้ เราจะปลูกอย่างไร อาจจะไม่ถูกหลักวิชาก็ได้ แต่ว่าชาวบ้านเขาทําอย่างนั้น เราก็ทดลองบ้าง หรือว่าถ้าปลูกข้าวไม่เกิดประโยชน์ก็ลองแก้ไขโดยใช้วิธีอื่นด้านชลประทานก็ได้ หรือด้านพัฒนาที่ดิน หรือด้านวิชาการเกษตรนํามาประยุกต์เพื่อที่จะให้ได้ผลมากขึ้น รวมทั้งตอนปลูกข้าวแล้วทําอย่างไร เก็บรักษาอย่างไร สีอย่างไร หรือขายอย่างไร ก็หมายความว่า ให้สามารถที่จะแก้ปัญหาทั้งทางต้นและทางปลาย แต่การแก้ ปัญหานั้น อาจจะมีคนว่า ไม่ถูกหลักวิชาก็ได้ไม่เป็นไร โดยมากเราพยายามที่จะทําอย่างไรที่ง่ายแล้วในที่สุดถ้า ทําง่าย แล้วได้ผลก็จะเป็นหลักวิชาโดยอัตโนมัติ..."

  • การปลูกข้าวในนิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่

    การแก้ปัญหาการปลูกข้าว

              นิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ ดําเนินการเกี่ยวกับการปลูกปาล์ม การซื้อขายและแปรรูปผลผลิต ปาล์ม แต่เดิมมีที่นาในพื้นที่นิคมประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ สามารถปลูกข้าวพันธุ์ พื้นเมืองได้เฉลี่ย ๒๕ ถังต่อไร่ ปลูกข้าวปีละครั้ง แต่มีปัญหาการขาดแคลนน้ํา จึงทิ้งนาร้างเป็นเวลาหลายปี เกษตรกรจึงต้องซื้อข้าวเพื่อการบริโภค

              เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และเกษตรกรของนิคม สหกรณ์เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้า ของโครงการ ณ พระตําหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส พระราชทาน พระราชดําริว่า เกษตรกรที่ทําสวนปาล์มมีเวลาว่าง ควรส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อ บริโภคจึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้ประสานงาน กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาการปลูกข้าวในนิคมสหกรณ์ ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงและสถานีทดลองข้าวกระบี่ จึงเป็น ผู้ดําเนินการพัฒนาข้าวในนิคมสหกรณ์อ่าวลึก โดยมีวัตถุประสงค์ในการหาพันธุ์ ที่เหมาะสมในพื้นที่และปรับปรุงวิธีการผลิต การเขตกรรม พร้อมทั้งจัดหาเครื่อง นวดข้าว เครื่องอบ และเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ยุ้งฉาง เพื่อแปรรูปข้าวแบบครบ

    ผลการวิจัยด้านพันธุ์ข้าว พบว่า ข้าวที่เหมาะสมมี ๓ ประเภท คือ

              ๑) พันธุ์ข้าวนาสวน พันธุ์ข้าวหนัก พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ได้แก่ พันธุ์ กข ๑๓ นางพญา ๑๓๒ แก่นจันทร์ ลูกแดง เผือกน้ํา และเล็บนก 

              ๒) พันธุ์ข้าวนาสวน พันธุ์ข้าวเบา ซึ่งเป็นพันธุ์อายุสั้น ต้องการน้ําใน ช่วงสั้นๆ เหมาะกับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ํา ได้แก่ พันธุ์กขค เหลือง ๑๕๒ ตำเมไหร ขาวเบตง KGT 7359-4-3-1 และ KBN 6840-3KGT-97

              ๓) พันธุ์ข้าวไร่ ใช้ปลูกเป็นพืชแซมสลับแถวต้นปาล์ม ในขณะที่ต้น ปาล์มอายุ ๑ - ๒ พันธุ์ที่เหมาะสมได้แก่ กู้เมืองหลวง ดอกพยอม กะเหรี่ยง และดอกไม้ไทร

              นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบการทํานาหว่าน พบว่า พันธุ์ข้าวเบา ได้แก่ ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ มีความเหมาะสมต่อสภาพฝนทิ้งช่วง นาข้าวในนิคมสหกรณ์ อ่าวลึกสามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยถึง ๕๐ ถังต่อไร่ และภายหลังจากการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ําคลองหยาเสร็จสิ้งลง มีผลให้บริเวณดังกล่าวสามารถทํานาได้ถึงปีละ ๒ ครั้ง

  • การแก้ปัญหานาร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

              เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ณ วัดไทรโสภณ ตําบลบ้านเกาะ อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกษตรกรได้ถวาย ฎีกาว่า ชาวนาในตําบลบ้านเกาะและตําบลห่อหมก ประสบปัญหาฝนแล้ง น้ําท่วม หนูนาระบาด ศัตรูพืชรบกวน จนทํานาแล้วขาดทุนตลอดมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงละทิ้งถิ่นฐานไปขายแรงงาน ปล่อยให้ที่นารกร้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ ในเขตอําเภอบางไทร เสนา บางบาล บางปะอิน และลาดบัวหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดําเนินการ “โครงการพัฒนาเกษตรกรรม เบ็ดเสร็จตามพระราชดําริ” ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ราษฎร โดยมีวัตถุประสงค์

              ๑) เพื่อแนะนําพันธุ์ข้าวรัฐบาลที่ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับสภาพพื้นที่
              ๒) เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการเกษตรแผนใหม่แก่เกษตรกร
              ๓) เพื่อพัฒนาอาชีพของราษฎร

              กรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการ โดยการทดลองปลูกข้าว ๔๐ สายพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๓๐ และพบว่า มีข้าวหลายสายพันธุ์ซึ่งสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่ของโครงการ ได้แก่ ปิ่นแก้ว ขาวราชินี พานทอง ขาวตาแห้ง ฯลฯ ซึ่งให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเกือบเท่าตัว คือ ๕,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ บาทต่อเดือนต่อครอบครัว ในขณะนี้ เกษตรกรจึงมีรายได้มากขึ้นรวมทั้งการมีรายได้จากโร่นาสวนผสม สภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น

  •           ในโอกาสวาระฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี Dr. George Rothschild จํานวยการสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ ได้กล่าวคําสดุดีเนื่องในโอกาส ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ดังนี้

              For Your Majesty's long and outstanding devotion to the betterment of the lives of rice farmers and Consumers in Thailand and elsewhere, and Your Contributions to the improvement of rice production;

              For Your Majesty's example of leadership through Your personal research at the Royal Palace and through Your encouragement of rice research throughout the Kingdom;

              For Your Majesty's production of foundation seed at the palace for multiplication and distribution to farmers at the annual Ploughing Ceremony at Sanam Luang, and for setting up a Rice Bank to provide stores of rice from which farmers can borrow for family Consumption or planting and then return after havest;

              For Your Majesty setting up of a Cattle Bank to provide the means by which poor farmers can prepare their rice fields; 

              For Your Majesty's promotion of the theory of sustainable production for small farms by using 30 percent of the land for ponds, 30 percent for rice, 30 percent for mixed crops (fruit trees and vegetables), and 10 percent for house and animals; 

              For Your Majesty's interests for over 30 years in the engineering aspects of rice production, which are reflected in the rapid mechanisation of rice production in Thailand;

              For Your Majesty's promotion of the utilisation of rice hulls as a clean fuel; 

              For Your Majesty's efforts in encouraging the Work of government officials through development centers in all five parts of the Country for rehabilitaion and conservation of the environment:

              For Your Majesty's tireless efforts in putting the interests of your people foremost in the 50 years of Your reign in the Royal Kingdom of Thailand;

              The International Rice Research Institute in honoured to present to Your Majesty the International Rice Award Medal, on this 5th Day of June 1996.

  •           โครงการหลวงร่วมกับกรมวิชาการเกษตรได้เริ่มทดลองกาแฟอาราบิก้า จากประเทศปาบัวนิวกินี ให้ชาวไทยภูเขาปลูกบนพื้นที่สูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ จึงส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาปลูกมากขึ้น

              เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดําเนินตรวจเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านมูเซอส้มป่อย อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีรับสั่งว่า

              "...บริเวณนี้กาแฟน่าจะปลูกได้เหมาะ ขอให้ช่วยกันแนะนําชาวเขา ให้มีการปลูกกาแฟที่ถูกต้องและมีการจัดการที่ดี เพราะรู้สึกว่าชาวเขาจะปลูกอยู่ไม่เป็นระเบียบ และพันธุ์กาแฟที่จะส่งเสริมให้ชาวเขาปลูก ควรจะเป็นพันธุ์กาแฟที่แตกต่างจากภาคใต้..."

              ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๓ กรมวิชาการเกษตรได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ให้ศึกษาค้นคว้าหาพันธุ์กาแฟอาราบิก้า ที่ทนต่อโรคราสนิม การอารักขาพันธุ์ การบํารุงสวน ได้แก่ พันธุ์ Baltimor ซึ่งต่อมาได้ขยายผลไปยังหน่วยงานและโครงการต่างๆ บนพื้นที่สูงภาคเหนือ

              ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พื้นที่ปลูกกาแฟ สายพันธุ์ต้านโรคราสนิมที่บ้านแม่หลอด ตําบลสบเป็ง อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยกฐานะเป็น ศูนย์ วิจัยและส่งเสริมกาแฟอาราบิก้า ภายใต้การสนับสนุนของโครงการหลวงภาคเหนือ โดยมีกลุ่มนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ดําเนินการ กาแฟอาราบิก้าต้านทานโรคราสนิม จึงแพร่ไปสู่สถานีส่งเสริมของโครงการหลวงสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี เขาค้อ ขุนวาง และสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ

              ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ เยี่ยมสถานีทดลองเกษตรขุนวาง และตรวจแปลงทดสอบ และศึกษาพันธุ์กาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์ต่างๆ ที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้มีพระราชดํารัสว่า

              "...สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นที่สุดในการปลูกกาแฟ แม้ว่าจะได้พันธุ์ ที่ต้านทานต่อโรคราสนิมแล้วก็ตาม คือ ระบบรากต้นกล้า ต้องสมบูรณ์ก่อนย้ายปลูก โดยเฉพาะรากแก้วจะต้องไม่ คดงอ และไม่ควรจะให้งอแม้แต่เหมือนกับหางสุนัขก็ตาม..."

  • แนวพระราชดําริเกี่ยวกับการปลูกไม้ผล

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อวันที่ ๑๔ - ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้ดําเนินการพัฒนาการเกษตร ในพื้นที่ราบเชิงเขา กรมวิชาการเกษตรจึงเริ่มดําเนินการทดลองการปลูกพลับ และสาลี่ ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เสด็จฯ ยัง ศูนย์ศึกษาพัฒนาลุ่มน้ำปาย ทอดพระเนตรแปลงเพาะปลูก และขยายพันธุ์ไม้ของ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้ปลูกต้นมะคาเดเนียนัทไว้แล้ว มีพระราชดําริให้ปลูก พืชไร่แซมระหว่างแถว คณะทํางานจึงปลูกข้าวโพด มะเขือเปราะ ผักกาดหัว ผักคะน้า โดยดําเนินการเก็บผลผลิต และทําเมล็ดพันธุ์พืชไว้แจกจ่ายเกษตรกร

             ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จากการเสด็จฯ ทรงงาน และทอดพระเนตรเห็นมะนาวเป็นโรค จึงมีพระราชดําริให้หามะนาวที่ทนต่อโรค ในที่สูง ซึ่งต่อมากรมวิชาการเกษตรได้นํามะนาวพันธุ์ตาฮิติไปทดลองปลูก

              นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระราชกระแสรับสั่งให้ ขยายผลการปลูกบ๊วยในเขตที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ๊วยพันธุ์ฉินเหมย ซึ่งให้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

  •           นอกเหนือจากโครงการเพาะเห็ด ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ยังมีพระราชดําริในการส่งเสริมการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ ตามศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ ทุกแห่ง เพื่อเป็นสถานที่ให้การศึกษาดูงาน การสาธิต และอบรมการเพาะเห็ดเพื่อเป็นอาหารและเพื่อเป็นรายได้ของเกษตรกร กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเห็ดที่กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้สนองพระราชดําริของพระองค์ มีดังนี้

              ๑) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พระราชทาน พระบรมราโชบายให้พยายามใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่ชาวบ้านสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ ปฏิบัติได้ และต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้เสด็จฯ ตรวจงานพัฒนาเกษตรกรรม และมีรับสั่งให้กรมวิชาการเกษตรจัดหาอุปกรณ์ เพื่อดําเนินการฝึกอบรม สาธิตการทําเชื้อและเพาะเห็ดให้แก่ราษฎร ซึ่งต่อมามีการเพาะเห็ดในศูนย์ฯ ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดฟาง เป็นต้น

              ๒) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ การเพาะเห็ดได้เริ่มดําเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น เช่น ขี้เลื่อย ไม้ยางพารา ผสมกับดินพรุที่ปรับสภาพให้เป็นกลาง ใช้เพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดตีนแรด เห็ดเป่าซื้อ เป็นต้น

              ๓) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมโรงเพาะเห็ด ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดภูฐาน และเห็ดหูหนู ได้มีพระราชกระแสรับสังว่า ความชื้นในโรงเพาะเห็ดมีไม่พอ เนื่องจากพื้นที่ศูนย์เป็นที่แห้งแล้ง และมีลมพัดแรง หลังจากนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงพัฒนาโรงเพาะเห็ดให้เก็บความขึ้นได้ดีขึ้น ในปัจจุบันได้มีการเพาะเห็ดโดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่นฟางข้าว หญ้าแฝก มาเพาะเห็ดนางรมภูฐาน เห็ดนางรมฮังการี เห็ดเป๋าซื้อ และเห็ดหอม เป็นต้น

              ๔) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีพระราชดํารัสให้พยายามหาวิธีเพาะเห็ดหูหนู เห็ดหอมโดยใช้วัสดุอื่นๆ แทนการ ตัดไม้มาเพาะ ซึ่งจะทําให้ไม้หมดป่าได้

              ๕) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินช้อนฯ การเพาะเห็ดเป็นกิจกรรมของศูนย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยทดสอบการเพาะเห็ดนางรม เห็ดภูฐาน เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าซื้อ เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง โดยใช้ฟางข้าวและเศษต้นถั่วเหลืองเป็นวัสดุในการเพาะ

              ๖) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ เริ่มทําการศึกษาการเพาะเห็ด หลังปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยใช้วัสดุขี้เลื่อย ไม้ยางพารา ในการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน เห็ดฮังการี เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮือ เห็ดหลินจือ

              นอกจากนี้ จากการที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่ภูเขา มีพื้นที่เกษตรจํากัด จึงไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับการบริโภคในท้องถิ่น งานศึกษาการเพาะเห็ดจึงเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่ศูนย์วิจัยท่าโป่งแดง อําเภอเมือง ตามแนวพระราชดําริที่ทรงเห็นควรให้มีการพัฒนาอาชีพของราษฎรด้วยการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสูดเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น เห็ดที่เพาะ ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าจีน เห็ดหอม โดยใช้เศษฟางข้าว เศษต้นถั่วเหลือง ขี้เลื่อย และในโครงการบริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี เริ่มเพาะเห็ดนางรมในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อใช้เป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียนและถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ในวัด ในปัจจุบันยังได้เพาะเห็ดหลินจืออีกด้วย และได้เผยแพร่การเพาะเห็ดแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโครงการ ทําให้ราษฎรมีอาชีพเสริมและสามารถผลิตเป็นอาหารได้อีกด้วย

  • แนวพระราชดําริเกี่ยวกับการปลูกหม่อนไหม

              เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินตรวจเยียมสถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง มีพระราชดําริ ดังนี้

              ".....ให้ทดลองปลูกหม่อนเลี้ยง ไหมบนที่สูง บ้านขุนวาง ต.แม่จัน กิ่ง อ.แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าจะสามารถดําเนินการได้หรือไม่ เพื่อหาอาชีพอื่นให้แก่ชาวไทยภูเขาเลิกปลูกฝิ่น เปลี่ยนอาชีพมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแทน....."

              สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร จึงจัดทําโครงการปลูก หม่อนเลี้ยงไหมบนที่สูงในพื้นที่สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในสภาพที่สูง เพื่อปลูกทดแทนการ ปลูกฝิ่น และเป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร

              ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ เสด็จฯ ยังสถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง และเสด็จทอดพระเนตรแปลงหม่อนทดลองและโรงเลี้ยงไหม ได้รับสั่งว่า

              "...ให้พยายามรักษาสายพันธุ์ไทยเอาไว้ด้วย เพราะว่าไหมไทยก็มีคุณภาพดี..."

              สถานีหม่อนไหมได้ดําเนินการศึกษาวิจัยพันธุ์หม่อนและพันธุ์ใหม ทั้งพันธุ์พื้นเมือง และลูกผสม และขยายผลสู่เกษตรกรชาวไทยภูเขาเพื่อปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น

  • แนวพระราชดําริเกียวกับการปลูกยางพารา

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีพระราชดําริในการปรับปรุงยางพันธุ์ ในคราวเสด็จพระราชดําเนินทรงงานในจังหวัดนราธิวาส ดังเช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ทรงให้ทดสอบการปลูกยางพันธุ์ดีในพื้นที่ ๒๐ ไร่ ในบริเวณพระตําหนักทักษิณราชนิเวศน์ นอกจากนั้น ยังมีการทดลองปลูกยางในพื้นที่สวนยางเขาสํานักอําเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีเนื้อที่ ๒๐๐ ไร่ รวมทั้งมีการปลูกพืชไร่ ไม้ดอกในระหว่างแถวยาง โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดําเนินการ

              นอกเหนือจาก การใช้ยางพันธุ์ดีซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตของน้ำยางแล้ว ยังมีพระราชกระแสรับสั่งให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อทํายางแผ่นที่มีคุณภาพดี ปราศจากมลทิน เพื่อให้ขายยางแผ่นได้ราคาดีขึ้น โดยสํานักงานเกษตรอําเภอ ทุกแห่งในจังหวัดนราธิวาสเป็นผู้ดําเนินการ

              ในปัจจุบัน การปลูกยางได้แพร่หลายมากขึ้นในภาคตะวันออก โดยมี ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา เป็น ศูนย์วิจัยหลักของภาค ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์พัฒนาการศึกษาพัฒนาภูพานฯ ทําหน้าที่ส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดสกลนคร ซึ่งต่อไปเมื่อต้นยางให้น้ำยางแล้วก็จะสามารถนํายางแผ่นไปขายที่โรงหล่อยาง ที่จังหวัดอุดรธานี

  • แนวพระราชดําริเกียวกับการปรับปรุงพันธุ์พืช

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดําริในการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต ดังนี้

              ๑. การคัดพันธุ์ ทรงเห็นประโยชน์ของพันธุ์ซึ่งสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่น มีความต้านทานโรคและแมลง เช่น พันธุ์ข้าว พันธุ์หม่อนไหม มีพระราชประสงค์ให้คัดเลือกพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง มีความเหมาะสมในพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น ในพื้นที่สูง ที่ดินเปรี้ยว ที่ดินพรุ พื้นที่ดินเค็ม เป็นต้น ในกรณีที่ส่วนราชการยังไม่มีพันธุ์ที่เหมาะสม พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักวิชาการทดสอบพันธุ์หรือดําเนินการวิจัยในแปลงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชดําริทั่วประเทศ ให้สามารถผสมและคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ได้โดยเร็ว มีพระราชประสงค์ให้เป็นพันธุ์ธรรมดาสามัญที่เกษตรกรทั่วไป สามารถปลูกได้โดยไม่ยุ่งยากนัก และสามารถเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองได้

              ๒. การสร้างพันธุ์ลูกผสม ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นป้อยู่ในช่วงอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชทั้งในประเทศและต่างประเทศขยายตัวขึ้นโดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง ผัก และดอกไม้ ประดับ เป็นต้น มีพระราชดําริให้นักวิชาการไทยของสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยได้ริเริ่มการสร้างพันธุ์พืชลูกผสมขึ้น เพื่อเป็นพันธุ์ลูกผสมไทย และไม่ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศตลอดไป โดยมีพระราชดําริว่า

              "...ในการคัดเลือกพันธุ์โดยเฉพาะพวกที่กลายพันธุ์ (O.P. และ Hybrid) และพวกพันธุ์เลว (O.P. และพันธุ์พื้นเมือง) มาขยายหลายๆ ครั้ง (สกัดพันธุ์แท้ หรือ inbred) เพื่อให้ ได้พันธุ์ที่ไม่กลายพันธุ์อีกต่อไป หลังจากนั้นค่อยขยายข้าม สายพันธุ์ใหม่ (ทำลูกผสม) ที่จะเหมาะสมที่จะปลูกในพื้นที่ต่อไป ..."

              เพื่อสนองพระราชดําริเรืองนี้ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดําริ จึงได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้เริ่มทําโครงการข้าวโพดหวานลูกผสม ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาห็นช้อนฯ และโครงการพืชตระกูลแตงลูกผสมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ในการเสด็จฯ เปิดงานวันเกษตรแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ให้ตระหนักถึงความสําคัญ ในการสร้างพันธุ์พืชลูกผสม โดยเฉพาะผักและดอกไม้ ซึ่งควรหาพันธุ์ของเราเองบ้าง เนื่องจากการใช้พันธุ์ต่างประเทศในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตร

              ๓. การปลูกพืชเมืองหนาว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นําพืชประเภทใหม่และพันธุ์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิงพืชเมืองหนาวมาทดลองปลูกบนพื้นที่สูงในภาคเหนือ ตัวอย่างเช่น

                  - ผลไม้เมืองหนาว ได้แก่ ป่วย ท้อ พลับ สตรอเบอรี่
                  - ผักเมืองหนาว ประมาณ ๕๐ ชนิด เช่น เซเลอรี่ เทอนิพ ผักกาด ชนิดต่างๆ ซุกินี กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น เป็นต้น
                  - ดอกไม้เมืองหนาว ประมาณ ๒๐ ชนิด เช่น เบญจมาศ แกลดิโอลัส ลิลี คาร์เนชั่น และอัลสโตรมีเรีย เป็นต้น
                  - พืชไร่ต่างๆ เช่น มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง ลินิน ควีท และข้าวสาลี เป็นต้น

              พืชเมืองหนาวต่างๆ เหล่านี้ เป็นผลงานของสถานีเกษตรหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในที่ต่างๆ ซึ่งได้ขยายผลไปสู่ชาวไทยภูเขา โดยได้รับความสําเร็จอย่างดียิ่ง

  • แนวพระราชดำริเกี่ยวกับระบบการเกษตร

              นอกเหนือจากการพระราชทานแนวพระราชดําริในการปลูกพืชชนิดต่างๆ แล้ว ยังพระราชทานแนวพระราชดําริเกี่ยวกับระบบการปลูกพืช ดังนี้

              ๑. การปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ การปลูกพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ ภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ได้แก่ ถัวเขียว ถ้วเหลือง ถั่วลิสง เป็นต้น เนื่องจาก พืชตระกูลถั่วสามารถสร้างธาตุไนโตรเจนในดินซึ่งจะทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ โดยวิธีการธรรมชาติ และไม่เสียค่าใช้จ่าย

              ๒. การปลูกพืชผสมผสาน โดยพระราชทานแนวพระราชดําริ “ทฤษฎีใหม่” โดยให้มีการปลูกข้าว พืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ ฯลฯ เลี้ยงปลาในสระ ดังพระราชดํารัสซึ่งพระราชทาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ดังนี้

              "...การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา การปลูกพืชผสมผสานระหว่าง พืชสวน พืชไร่ ซึ่งมีไม้ผลเป็นหลัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงผึ้ง การปลูกพืชสมุนไพร การปลูกไม้ตัดดอก บ่อแก๊สชีวภาพ การทําสวนเกษตรนั้น ดีแล้ว นับว่าถูกต้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ จะให้นักวิชาการและป ะชาชนเข้ามาศึกษาดูงาน และขยายผลต่อไป..."

              แนวทางทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีการที่ทําให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจึงขายเป็นรายได้ แนวพระราชดําริดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ทรงเล็งเห็นความสําคัญของการผลิตอาหารในแปลงไร่นาของเกษตรกรที่สามารถทําให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการลดศัตรูพืชในแปลงไร่นาอีกด้วย ซึ่งแนวพระราชดําริในการปลูกพืชแบบผสมผสาน ได้รับการขยายผลไปอย่างกว้างขวางในขณะนี้

              ๓. เกษตรกรรมยั่งยืน หรือเกษตรธรรมชาติ เป็นแนวปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในไร่นาให้เกิดประโยชน์โดยสามารถลดอันตรายจากใช้สารเคมีในไร่นา เช่น การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคแมลงในพืช การปลูกพืชตระกูลถั่วช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน การไถเตรียมดินเพียงครั้งเดียวโดยไม่ไถพรวน ถางแล้วปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและความขึ้น การปลูกตะไคร้หอม เพื่อไล่แมลง การใช้เมล็ดสะเดาบตแล้วแช่น้ําในอัตรา ๑ กิโลกรัมต่อน้ํา ๒๐ ลิตร ใช้รดต้นไม้เพื่อป้องกันหนอนด้วง ผีเสื้อ ตั้กแตน หนอนซอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน แมลง หวีขาว ที่อยู่ในพืชผักจําพวกพริก กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดหัว แครอท ผักบุ้ง โดยการปลูกผักในมุ่งและนอกมุ้ง โดยที่พืชผักจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ว่าผักเหล่านั้นจะมีลักษณะเป็นรูจากการถูกหนอน และแมลงกัดกินบ้างก็ตาม

              สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ว่าผักเหล่านันจะมีลักษณะ เป็นรูจากการถูกหนอน และแมลงกัดกินบ้างก็ตาม

              ในปัจจุบัน มีการทดสอบวิธีการเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ศูนย์สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขา หินซ้อนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฯ เป็นต้น คาดว่าในอนาคตวิธีการดังกล่าวจะได้รับการยอมรับในหมู่เกษตรกรและ ผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น

ตกลง