พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านการปศุสัตว์
  •           เมื่อ ๗๐ ปีก่อน คนไทยน้อยคนที่จะรู้จักดื่มนมสด ในกรุงเทพฯ เราจะเห็นแขกเลี้ยงวัวถีบจักรยานไปส่งนมที่พึ่งรีดแก่สมาชิกในตอนเข้า การเลี้ยงโคใน ระยะต้นอยู่ในมือชาวอินเดียแทบทั้งสิ้น โดยใช้โคพื้นเมืองซึ่งเป็นโครีดนมที่ให้น้ำน้อยมาก ต่อมามีการนําโคจากอินเดียเข้ามาเลี้ยงมากขึ้น โคที่ใช้รีดนมจึง ค่อยๆ กลายมาเป็นโคแบบอินเดีย พันธุ์บังกาสา

              นมโค นับเป็นอาหารใหม่ของคนไทยซึ่งบริโภคกันอยู่ในวงจํากัดเฉพาะ คนชั้นสูง และชาวต่างชาติซึ่งคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบตะวันตก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งยังทรงเป็นหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ก็ทรงเป็นผู้หนึ่งที่เล็งเห็นคุณประโยชน์ของการดื่มนมเพื่อพลานามัย พระโอรส และพระธิดาดื่มนมเป็นประจําทุกวัน ดังปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งยังทรงเป็นนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนมาแตร์เดอี วิทยาลัยนั้น ทรงมีกระติกน้ำร้อนใส่นมไปโรงเรียนทุกวัน

              แม้ว่าคนไทยจะไม่ได้ถือว่านมเป็นอาหารหลัก แต่คนไทยก็บริโภคนมเพิ่ม ขึ้นทุกปี และนมส่วนใหญ่ในระยะนั้นต้องซื้อหามาจากต่างประเทศ ในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดการขาดแคลนอาหารนมซึ่งเคยได้รับจาก ต่างประเทศ รัฐบาลสมัยนั้นจึงได้จัดตั้งองค์การเกี่ยวกับการผลิตนมขึ้น โดยรวบ รวมซื้อโคนมของชาวอินเดีย ๓๐๐ ตัวมาเลี้ยงเพื่อรีดนมจําหน่าย และยังได้โอน กิจการโคนมของคุณหญิงวาสุเทพ ซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ทําการเลี้ยงโคนมเป็น อาชีพเข้ามาดำเนินงานต่อ กรมกสิกรรมเองก็ได้จัดตั้งโรงงานนมผงขนาดเล็กขึ้น ที่เกษตรกลางบางเขน นับเป็นโรงงานนมผงโรงแรกของไทยซึ่งมี หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้คิด และสร้างโรงงานนมผงนี้ แต่เมื่อสงครามยุติลง ปรากฏว่าทั้งองค์การนม และโรงงานนมผงก็สลายตัวไปด้วย

              ผลพลอยได้อย่างหนึ่งซึ่งมีที่มาจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็คือการ เปลื่ยนแปลงพันธุ์โคนม สืบเนื่องมาจากในช่วงสงคราม กองทัพญี่ปุ่นได้นําโคนม พันธุ์โฮลสไตน์ หรือพันธุ์ขาวดํา มาจากสิงคโปร์เพื่อใช้รีดนมเลี้ยงกองทัพ เมื่อสงครามเลิก โคเหล่านี้กระจายไปอยู่ในฟาร์มของชาวอินเดียได้ผสมกับพันธุ์ บังกาสาได้ลูกผสมที่ให้นมมากกว่า จึงเกิดความนิยมในการเลี้ยงโคลูกผสม โฮลสไตน์ขึ้นมาแทนที่พันธุ์บังกาลา

  •           การส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ โดยกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลองนําพันธุ์ โคนมจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยง เช่น นําโคนมพันธุ์เจอร์ซีมาจากประเทศ ออสเตรเลีย พันธุ์เบราน์สวิสจากสหรัฐอเมริกา และพันธุ์เรดซินติจากปากีสถาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ กรมปศุสัตว์ได้ตั้งสถานีผสมเทียมแห่งแรกขึ้นที่ เชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการผสมเทียมโคนม และในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จัดตั้งเป็นหน่วยผสมเทียม โดยวิธีนี้ทําให้เกิดโคลูกผสมที่ใช้เป็นโคนมขึ้นเป็นจํานวนมาก ทําให้เกิดความตื่นตัวในการเลี้ยงโคนมซึ่งแพร่หลายไปยังจังหวัดอื่นๆ เช่น นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

              ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งโรงงานฆ่าเชื้อ และบรรจุนมขวดแบบทันสมัยขึ้นแห่งหนึ่ง สามารถผลิตนมบรรจุขวดได้เป็น จํานวนมาก และยังรับเป็นตลาดกลางจําหน่ายนมสดให้แก่กสิกร การเลี้ยงโคนม จึงเริ่มเป็นอาชีพจริงจังขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และขยายต่อไปยังจังหวัด นครปฐม และราชบุรี การส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยมาเริ่มต้นจริงจังและมีแบบแผน หลังจากการเสด็จฯ เยือนประเทศเดนมาร์กของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓

              ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในกิจการด้านปศุสัตว์ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรกิจการฟาร์มโคนมและกิจการ ผลิตอาหารจากนมหลายแห่งในครั้งนั้นรัฐบาลเดนมาร์กและองค์การเกษตรกรรม ต่างๆ ของเดนมาร์กได้น้อมเกล้าฯ ถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมใน ประเทศไทย โดยจัดตั้งฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์ก ขึ้นที่อําเภอมวกเหล็ก จังหวัด สระบุรี และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีสมเด็จ พระเจ้าเฟรดเดอริกที่ ๙ แห่งเดนมาร์ก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประธานในพิธีร่วมกัน

              ฟาร์มแห่งนี้นับเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ซึ่งนอกจากจะดําเนินกิจการเลี้ยง โคนมและผลิตนมเป็นจํานวนมาก จัดอบรมฝึกผู้เลี้ยงโคนมให้รู้จักการเลี้ยงโคนม อย่างถูกวิธีแล้ว ยังดําเนินงานโรงนมและช่วยรับซื้อนมสดจากกสิกรในเขต ใกล้เคียงด้วย กล่าวได้ว่าการเลี้ยงโคนมของเมืองไทยฟื้นตัวขึ้นมาใหม่จาก พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้

  •           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดํารัสแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ เข้าเฝ้าฯ ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ว่า

              “...กิจการเลี้ยงโคนม และอาชีพเลียงโคนมนี้เป็นอาชีพที่ยาก แต่ถ้าทําดีๆ และช่วยกันทํา ก็มีความสําเร็จอย่างยิ่งและ ใหญ่หลวง เป็นประโยชน์สําหรับตน สําหรับประเทศชาติ..."

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริว่า อาชีพเลี้ยงโคนมเป็น อาชีพหนึ่งที่จะสามารถทํารายได้สูงให้แก่เกษตรกรไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการ ส่งเสริมให้คนไทยรู้จักบริโภคน้ำนมอันจะช่วยให้เด็กไทยมีร่างกายที่แข็งแรง และมีส่วนสูงเพิ่มขึ้น เหมือนชาวตะวันตกซึ่งนิยมบริโภคนมเป็นอาหารหลัก แต่ เนื่องจากนมเป็นอาหารที่มีราคาแพงในขณะนั้น ทั้งยังเป็นสินค้านําเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงทรงหาทางให้ชาวไทยได้บริโภคนมราคาถูก พระองค์ทรงริเริ่มทดลองเลี้ยงโคนมขึ้นในบริเวณสวนจิตรลดา โดยกรมปศุสัตว์และนายนิคม ไรวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวายโคพันธุ์ ๖ ตัว เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นการทดลองดําเนินกิจการเลี้ยงโคนมแบบพื้นๆ ที่ราษฎรจะเลี้ยงเองได้ โดย เลี้ยงในจํานวนจํากัดเท่ากับแรงงานของสมาชิกในครอบครัว ปลูกหญ้าและพืช อาหารสัตว์เอง ทําบัญชีรายรับรายจ่ายโดยละเอียด

              ในระยะนั้นกระทรวงเกษตรฯ กำลังส่งเสริมการเลี้ยงโคนม มีจำนวนโคนมเพิ่มมากขึ้น สามารถผลิตน้ำนมได้มากจนเกิดภาวะนมล้นตลาดในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ทางโครงการฯ ต้องหาเครื่องมือที่จะแปรรูปนมให้หลายหลากขึ้น โรงงาน นมผง "สวนดุสิต" จึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นโรงงานแห่ง แรกที่ทําโดยมุ่งหวังให้เป็นโรงงานตัวอย่างแก่เกษตรกรและผู้สนใจในการผลิตนม ดังพระราชดํารัสที่พระราชทานแก่คณะกรรมการดําเนินงานสร้างโรงงานนมผงที่ ตําบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ว่า 

              "...เรื่องโรงงานทำนมผงนี้ทำระยะยาว เบื้องต้นที่ทำที่สวนจิตลดานี้มีจุดประสงค์ที่จะค้นคว้า และดูว่าการทำนมผงทำได้หรือไม่เพราะเคยปราสบกับ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ มานานแล้วว่าเรามีนม ประเทศไทยมีการเลี้ยงโคนม มีจุดประสงค์ให้ผลิตนมให้มากขึ้นอีก และมีการส่งเสริม ทางราชการก็ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมแต่หนักใจที่ว่า ถ้าเลี้ยงโคเป็นล่ำเป็นสันแล้วจะไม่มีตลาด..."
              "...การสร้างโรงนมในสวนจิตรลดาไม่ใช่สำหรับการค้า แต่สำหรับทดลองดูว่าการทำเช่นนี้จะได้ผลอย่างไร และเก็บข้อมูลเอาไว้..."
              "...เท่าที่ได้พิสูจน์มาก็พิสูจน์ว่าวิธีเลี้ยงก็ทำได้ในประเทศไทย เมื่อตั้งโรงทำนมผงก็พิสูจน์ได้ว่าทำได้ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาตัวเลขต่างๆ ที่ได้มา จะต้องมาย่อย หมายความว่าจะต้องมาค้นคว้า มาวิจัย มิใช่ว่าเมื่อดูตัวเลขที่ลงทุนว่าเท่าไหร่แล้ว จะทำให้เกิดออกมาเป็นผลลัพธ์ว่า ผู้เลี้ยงโคนม และสร้างโรงโคนม สร้างโรงนมผงจะได้ตามตัวเลขนี้..."

              โรงงานนมผงสวนดุสิตนี้ ได้ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี เป็นที่สนใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงดคนมทั่วไปเป็นอันมาก สมดังพระราชประสงค์ที่มุ่งให้ราษฎรนำไปดำเนินการตามโดยวิธีการรวมกลุ่มกันขึ้นในรูปสหกรณ์

  • โรงนมหนองโพราชบุรี : แบบขยายจากโรงนมผงสวนดุสิต

              ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เกิดภาวะน้ํานมดิบล้นตลาด กลุ่มเกษตรกรจึง ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานความ ช่วยเหลือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ความช่วยเหลือในการที่จะสร้าง โรงงานนมผงขึ้น นายทวิช กลิ่นประทุม ส.ส. จังหวัดราชบุรีในขณะนั้น ได้ บันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ในหนังสือที่ระลึกการเสด็จฯ เปิดโรงนมหนองโพ พ.ศ.๒๕๑๕ ว่า

              "...โปรดเกล้าฯ ให้คุณแก้วขวัญ (วัชโรทัย) มาหาข้อมูล ปรากฏว่าการดําเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวยังไม่สมบูรณ์ ทีว่ายังไม่สมบูรณ์หมายถึง ยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มสหกรณ์ตามกฎหมายแต่ประการใด..."

              "...ข้าพเจ้าได้พูดได้คุยกับคุณแก้วขวัญบ่อยขึ้น เพราะเราทั้งสองมี จุดประสงค์ตรงกันที่ว่าทําอย่างไรจะให้ชาวไทยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มิใช่ว่าปล่อยให้การค้า ซึ่งปัจจุบันอยู่กับมือชาวต่างประเทศเกือบทั้งหมดมาคอย กําหนดว่าชาวไทยเราจะต้องบริโภคอะไรตามราคาที่เขากําหนดหาทางให้ชาวไทย บริโภคนมราคาถูก ผู้เลี้ยงขายนมได้ราคาที่สมควร และทําให้คนไทยมีอาชีพทาง ด้านนี้เป็นหลักเป็นฐาน..."

              "...ต่อมาข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าฯ ณ พระตําหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล หัวหิน เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย เกี่ยวกับที่ดินเพื่อจัดตั้งโรงงาน ซึ่งในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าได้ซาบซึ้งในพระปรีชาสามารถแห่งองค์พระประมุขเป็นยิ่งนัก เพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อคิด ข้อควรระวังเกี่ยวกับความ เหมาะสมของที่ตั้งค่าใช้จ่ายในการถมที่ ความสะอาดของอากาศ ทิศทางลมที่จะ พัดพาฝุ่นละอองมากเกินควรเพราะนมผงต้องการความสะอาดมากที่สุด..."

              ในที่สุด ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดําเนินเปิดโรงนม หนองโพซึ่งขยายแบบไปจากโรงนมผงสวนดุสิต และทรงรับบริษัทผลิตภัณฑ์ หนองโพ ราชบุรี จํากัด ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้เสด็จพระราชดําเนิน เยี่ยมชมกิจการและพระราชทานกําลังใจแก่สมาชิกสหกรณ์โคนมอยู่เสมอ

    การขยายผลสู่ราษฎร

              นายถวิล เท่งฮวง  การขยายผลสู่ราษฎร นายถวิล เท่งฮวง อายุ ๕๓ ปี รองประธานกรรมการสหกรณ์โคนม หนองโพราชบุรี จํากัด บ้านเลขที่ ๗ หมู่ ๔ ตําบลหนองโพ อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี นายถวิล เลี้ยงวัวนมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งเป็นช่วงแรกทีทาง ราชการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงโคนม วัวที่เลี้ยงเป็นวัวพันธุ์ผสม "Black and White” โดยใช้น้ำเชื้อของกรมปศุสัตว์ผสมกับวัวพันธุ์พื้นเมือง
              ปัจจุบัน นายถวิล มีวัว ๔๐ ตัว ในแต่ละวัน จะทําความสะอาดคอกวัว และวัวทุกตัววันละ ๒ ครั้ง แล้วนํานมไปส่งที่สหกรณ์ฯ ทันที ส่วนอาหารของวัว ซื้อต้นข้าวโพดจากจังหวัดกาญจนบุรีวันละ ๕๐ มัดๆ ละ ๕ บาท ปัญหาในการ เลี้ยงวัว คือ ผสมวัวแล้วติดลูกยาก อีกทั้งอาหารวัวก็หายากมากขึ้น คนรุ่นใหม่ ไม่นิยมเลี้ยงวัว เนื่องจากเป็นงานหนัก ต้องเอาใจใส่มาก มิฉะนั้นจะขาดทุน

              สิ่งที่นายถวิลมีความประทับใจในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็คือ พระองค์เคยมีรับสังว่า "นมของเรา" อันแสดงถึงความผูกพันของพระองค์ที่มีต่อกิจการของสหกรณ์โคนมหนองโพนี้

  • ศูนย์รวมนมสกลนครตามพระราชดําริ : ความพยายามรวมกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมในภาคอีสาน

              เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิน ทอดพระเนตรการดําเนินงานของสถานีบํารุงพันธุ์สัตว์สกลนคร และมีพระราชดําริให้กรมปศุสัตว์ร่วมกับจังหวัดสกลนคร ดําเนินการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และจัดทําโครงการโรงนมพาสเจอไรซ์ขึ้น โดยในขั้นต้นให้ใช้เครื่องมือขนาดเล็กเพื่อจะได้เป็นการทดสอบและศึกษาการแปรสภาพนมสด ตลอดจนการตรวจสอบ คุณภาพน้ํานม ต่อเมื่อราษฎรเข้าใจและดําเนินการได้ผลดีแล้ว ก็อาจจะขยายเป็น ระบบสหกรณ์ต่อไป

              วันที ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ศูนย์รวมนมสกลนคร จึงเริ่มเปิดดําเนินการโดยรับน้ํานมดิบเข้าโรงงานเป็นครั้งแรกจากแม่โค ๒๕ ตัว เลี้ยงโคนมจํานวน ๒๐ ครอบครัว ต่อมาเมื่อกิจการการเลี้ยงโคนมขยายตัวเพิ่มขึ้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่มีอยู่ประสบปัญหาไม่เหมาะสมกับปริมาณน้ํานมดิบที่รับเข้าโรงงาน บริษัท เอสโซแสตนดาร์ดแห่งประเทศไทย จํากัด ได้น้อมเกล้าฯ ถวายอาคารหลังใหม่ และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ  พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงทำให้สามารถเพิ่มจํานวนการผลิตได้ถึง ๒,๐๐๐ กก./วัน ผลิตนมพาสเจอไรซ์ที่มีชื่อว่า “นมภูพาน”

              ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ กลุ่มผู้เลี้ยงโคนมได้รวมตัวกันตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์โคนม จังหวัดสกลนคร โดยมีสมาชิกก่อตั้งจํานวน ๑๑๕ คน ดําเนินการในรูปของ สหกรณ์ การดําเนินงานของสหกรณ์ฯ ในระยะแรกเป็นไปด้วยดี แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ สหกรณ์ฯ เริ่มประสบปัญหาเนื่องจากไม่สามารถจําหน่ายผลิตภัณฑ์นม ได้หมด ขณะเดียวกันก็มีปัญหากระแสไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง ทําให้น้ำนมดิบเสีย เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างมากจนเลิกเลี้ยงโคนมไปหลายราย กอปรกับ ปัญหาการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์เอง ทําให้กิจการสหกรณ์ต้องเลิกไป กรมปศุสัตว์ต้องส่งเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและบํารุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่มาช่วย ศึกษาหาข้อมูลและเสนอแนวทางแก้ไข      

    ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชดําริให้นําน้ำนมพาสเจอร์ไรซ์จากโรงงานนมภูพาน นี้ไปให้การสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันโดยใช้เงินกองทุนพัฒนาเด็กเล็กใน ถิ่นทุรกันดารมาจัดซื้อในระยะเริ่มต้น ๒ ปี พร้อมกับดําเนินการพัฒนาอาชีพ ผู้ปกครองเด็กให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจนสามารถซื้อน้ำนมบริโภคเองได้ ทั้งยังพระราชทานพระราชดําริให้เพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูปน้ำนมเพื่อให้สามารถ รองรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรได้พอเพียง กรมปศุสัตว์จึงได้จัดทําแผนพัฒนา ศูนย์รวมนมสกลนครตามพระราชดําริขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อสนองพระราชดําริดังกล่าว และช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้มีการจัดตั้ง สหกรณ์ขึ้นมาอีกในอนาคต

              ในปัจจุบัน ศูนย์รวมนมสกลนครผลิตน้ำนมพาสเจอร์ไรซ์ยี่ห้อ "นมสด ภูพาน" ได้วันละ ๒๐,๐๐๐ ถุงต่อวัน โดยมีเกษตรกรส่งน้ำนมอยู่ ๑๔๐ ราย จาก จํานวนสมาชิกทั้งหมด ๒๕๓ คน เกษตรกรเหล่านี้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านบริวาร ๘ หมู่บ้าน เช่น บ้านโพนสวรรค์ บ้านดงกุมข้าว บ้านดงมะไฟ เป็นต้น โคนมที่เลี้ยง ในบริเวณนี้มีจํานวนประมาณ ๒,๐๐๐ ตัว แต่ละครอบครัวจะเลี้ยงได้มากที่สุด ประมาณ ๑๖ ตัว ซึ่งเป็นการเลี้ยงในระดับกลางเท่านั้น ปริมาณการผลิตดังกล่าว ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากร้อยละ ๗๐ ของนมที่ผลิตได้ เป็นนมในโครงการนักเรียน มีเพียงร้อยละ ๓๐ เท่านั้นที่ขายในท้องตลาดของ เมืองสกลนคร ทั้งๆ ที่ตลาดยังมีความต้องการรับนมเพิ่ม แต่ก็ยังไม่สามารถผลิต ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้เพราะอาชีพการเลี้ยงโคนมที่สกลนครนี้ยังเป็นแค่ อาชีพเสริมของเกษตรกร แม้ว่าโคนมในจังหวัดสกลนครจะได้เดินและเล็มหญ้า กินอย่างอิสระเสรี แต่หญ้าในท้องทุ่งสกลนครก็มีไม่เพียงพอในหน้าแล้ง และแม้ ว่าปริมาณโคนมจะเพิ่มจํานวนขึ้น แต่ปริมาณนมที่ได้รับยังคงที่ เนื่องจากขาด การให้อาหารเสริมแก่โคนมอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงโคนมทําให้ เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น แม้จะเป็นเพียงอาชีพเสริมในขณะนี้

  • แนวพระราชดำริเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

              ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา เกษตรกรไทยเริ่มตื่นตัวและสนใจการเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมทำรายได้ดี สม่ำเสมอและมั่นคง ทั้งรัฐบาลก็มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้น

              จรัญ จันทลักขณา  เขียนไว้ในบทความ "ปฏิวัติขาวเพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย" ว่า

              "...ปัจจุบันมีฟาร์มโคนมกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า ๒๐,๐๐๐ ราย มีจํานวนโคนมทั้งสิ้นเกือบ ๒๔๐,๐๐๐ ตัว ๙๐% ของฟาร์มโคนมเป็นฟาร์ม ขนาดเล็ก มีจํานวนโคนมตํากว่า ๔๐ ตัว ส่วนใหญ่มีโค ๑ - ๑๐ ตัว..."

              "...เกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินน้อย จบการศึกษาระดับประถมสี่ ต้องกู้เงินจากธนาคารมาลงทุน ผู้ที่กู้เงินมาดําเนินกิจการเลี้ยงโคนมส่วนใหญ่ (ราว ๗o%) กู้จาก ธ.ก.ส. เกษตรกรส่วนใหญ่ยึดอาชีพการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลัก..."

              สุวิทย์ ผลลาภ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ก็ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ การเลี้ยงโคนมไว้ในเอกสารประกอบการอภิปรายในการประชุมวิชาการ เรื่อง "โคนม และผลิตภัณฑ์" ระหว่างวันที่ ๕ - ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ อาคาร ๖๐ ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า

              "...การเลี้ยงโคนมโดยถือเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง ส่วนใหญ่มักไม่ ประสบความสําเร็จ เนื่องจากการเลี้ยงโคนมเป็นงานประณีต ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ และมีเวลาดูแลโดยใกล้ชิด ทําให้ได้ผลผลิตสูงต้นทุนการผลิตต่า การจ้างเลี้ยง และมีเวลาดูแลไม่เพียงพออาจไม่คุ้มทุน..."

              นอกจากนี้ ปัญหาในการเลี้ยงโคนมที่เกิดขึ้นในระยะหลัง นอกจากจะเป็น เพราะปัจจัยภายนอก เช่น ต้นทุนอาหารสัตว์สูง ต้นทุนค่าพันธุ์โคสูง ค่าที่ดินและ ค่าแรงงานที่สูงขึ้น ฯลฯ แล้ว ปัจจัยภายในคือตัวเกษตรกรผู้เลี้ยง ส่วนใหญ่ยังมี ความรู้ความสามารถและศักยภาพจํากัดในการจัดการและแก้ไขปัญหาการเลี้ยง โคนมของตนกล่าวคือการเลี้ยงดูลูกโคเพื่อไปเป็นแม่พันธุ์ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสม การให้อาหารโคยังไม่เพียงพอและถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นฐานเดิมของ เกษตรกรไทยซึ่งมาจากชาวนา เคยชินกับการปลูกพืชฤดูเดียว เช่น ข้าว มันสําปะหลัง ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวครั้งต่อครั้ง ไม่ต้องดูแลมาก ทําให้ ขาดการมองระบบการผลิตอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เช่น ไม่ยอมลงทุนค่าอาหาร เสริมที่จะช่วยโคให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น หรือลูกโคมีความสมบูรณ์เต็มที่ ส่วนใหญ่ยัง เลี้ยงในลักษณะให้หาหญ้ากินเอง ผลก็คือ ลูกโคไม่สมบูรณ์พอ ผสมพันธุ์ยาก แม่โคก็ให้ปริมาณน้ำนมดิบน้อย เป็นต้น

              นอกจากนั้น อาชีพการเลี้ยงโคนมยังต้องการวินัยจากผู้เลี้ยงสูง แม้จะมี รายได้ดีก็ตาม แต่ผู้เลี้ยงต้องรีดนมวันละ ๒ ครั้ง เช้า - เย็น ต้องรักษาความ ะอาดน้ำนมอย่างเคร่งครัด และต้องไปส่งน้ำนมดิบยังศูนย์รวมนมทุกวันๆ ละ ๒ ครั้ง ถ้าเลี้ยงในลักษณะ “วัวยืนโรง” ก็ต้องให้อาหารเป็นเวลา และรักษา ความสะอาดโรงโคอยู่เสมอ ลักษณะงานที่มี “เวลา” เป็นตัวกําหนดนี้ กอปรกับ การคลุกคลีกับงานที่ไม่สะอาด ทําให้คนรุ่นหนุ่มสาวซึ่งยังยึดติดกับค่านิยมรัก ความสบาย แต่งกายสวยงาม ไม่นิยมรับสืบทอดกิจการจากครอบครัว จึงปรากฏ การขาดแคลนแรงงานในวัยหนุ่มสาวเป็นจํานวนมาก  

  •           ในปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำนมดิบได้เพียงประมาณร้อยละ ๒๕ ของปริมาณนมและผลิตภัณฑ์นมที่บริโภคภายในประเทศ อาชีพการเลียง  โคนมจึงยังเป็นอาชีพที่มีอนาคตและยังเป็นการช่วยประเทศชาติอีกทางหนึ่ง อาชีพนี้หลายกลุ่มหลายสหกรณ์ จะยังไม่ประสบความสําเร็จ หากผู้เกี่ยวข้องคือ

               ตัวเกษตรกรและรัฐผู้มีหน้าที่ส่งเสริม จะได้ยึดแนวพระราชดํารัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ในโอกาสที่อธิบดีกรมปศุสัตว์ นําผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้แทน สมาชิกสถานีผสมเทียมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ปะรําพิธีบริเวณโครงการ เกษตรสวนจิตรลดา ก็จะได้สาระที่เป็นประโยชน์และทันสมัยแม้เป็นเวลา ๑๓ ปี ล่วงมาแล้วก็ตาม

              "...ข้อขัดข้องต่างๆ จะว่าเป็นของธรรมดาก็ได้ เพราะว่า ด้วยเหตุหลายประการ เหตุอย่างหนึ่งซึ่งเป็นรากฐาน เลียงโคนม และกิจการโคนมนีเป็นสิ่งที่ยาก เพราะว่าผลิตผล ที่เรามุ่งที่จะทําเป็นผลิตผลที่ถ้าไม่จําหน่ายทันทีก็อาจจะเสียไป เสียประโยชน์ไป และทําให้ล่มจมขาดทุนได้ ฉะนั้นกิจการนี้ จึงต้องศึกษามาก และเกียวข้องกับวิชาการหลายด้าน วิชาการ โดยตรง ก็คือวิชาการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงโคให้ สมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลิตนมได้มากที่สุด ต่อไปก็จะต้องหา aalal ทางที่จะรักษานมให้สดจนกระทั่งถึงตลาดคือผู้บริโภค ให้นมนี้มีคุณภาพดี ไม่เสียหายก็มีหลายวิธี วิธีที่ทําต่างๆ นี้ ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้ในด้านอื่นนอกจากปศุสัตว์ไม่ใช่น้อย ฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคได้ นอกจากนี้ก็มีอุปสรรคใน ให้ ด้านการบริหารกิจการนัน ๆ ทําให้ความลําบากซับซ้อนเข้าไปอีก ทั้งนีท่านทั้งหลายกัทราบดีแล้วว่ามีอุปสรรคอะไร มี ปัญหาอะไรและจะต้องปฏิบัติตามหลักวิชาอย่างไร เพราะได้ ศึกษามาเป็นเวลาช้านานพอสมควร สิ่งที่จะต้องขาดไม่ได้ก็ อย่างที่ได้รายงาน คือ ต้องมีความสามัคคี และขอย่าว่าที่ว่า แต่ละคนมีความสําคัญสําหรับแต่ละคนหมายความว่าถ้าตัวเรา บําเพ็ญตนดี ปฏิบัติดี ก็ตัวเองได้รับประโยชน์เพราะเหตุว่า ถ้าตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ แต่ละคนสมาชิกแต่ละคนมีความสําคัญ ถ้าสมาชิกทําตนไม่ตรงตามจุดประสงค์ของสหกรณ์ก็เท่ากับ ทรยศต่อตัวเอง ก็ไม่คุ้ม ฉะนั้นขอย้าว่าความซื่อสัตย์สุจริต ต่อกันและต่อตัวเองเป็นสิ่งสําคัญ และเป็นหัวใจของการอยู่ เป็นสหกรณ์ และที่ว่าสหกรณ์นีเป็นทางออกหรือทางเดียวที่จะปฏิบัติอาชีพที่จะเลี้ยงโคนมนี้อย่างเดียว ก็เพราะว่าการเลี้ยง โคนมนี้ต้องมีกําลังร่วมกัน ถ้ามีกําลังร่วมกัน ผลิตก็ได้ดี และ จําหนายก็ได้ดี ฉะนันหัวใจสําคัญของอาชีพทีท่านเลือกก็คือ ความสามัคคี ความร่วมมือกันดีๆ ใช้ความรู้ทางวิชาการและ เผื่อแผ่กัน นอกจากนี้ก็ขอให้เข้าใจกัน ไม่ใช่เฉพาะวิชาการ ปศุสัตว์เท่านั้นเองที่จะทําให้อาชีพโคนมอาชีพเลี้ยงโคนมสําเร็จ จะต้องสนใจในด้านวิชาการ ทั้งในด้านความรู้ในการจําหน่ายจะมีความสําเร็จได้..."

  • ธนาคารโค-กระบือ : พระปรีชาในการแก้ปัญหาการขาดแคลน ปัจจัยการผลิตของเกษตรกร

              เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ เสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ราบเชิงเขาจังหวัด ปราจีนบุรี ในครั้งนั้นราษฎรได้ถวายฎีกาว่าขาดแคลนวัวควายใช้ไถนา ต้องเช่า มาใช้งานในราคาแพงมาก บางคราวเมื่อจําหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้วก็ กลายเป็นค่าเช่าไปเกือบหมด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดําริให้กรมปศุสัตว์หาทางช่วยเหลือราษฎรโดยการตั้งธนาคารโค- กระบือขึ้น

              พระราชดํารัสทีพระราชทานแก่คณะสมาชิกผู้รับนมสวนจิตรลดา คณะ สมาชิกผู้เลี้ยงโคนม และคณะผู้นํากลุ่มสหกรณ์ที่เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ทรงอธิบายถึงพระราชดําริในเรื่องนี้ว่า

              "...เรื่องธนาคารกระบือนี้เป็นเรื่องที่นับว่าใหม่สําหรับโลก เพราะ ว่าโดยมากในโลกปัจจุบันนี้ก็นึกแต่ที่จะมีความก้าวหน้า ในทางที่จะใช้เป็นเครื่องจักรกลไกสําหรับมาช่วยทําการเกษตร ทําการกสิกรรม แต่มาเดียวนี้รู้สึกจะเกิดความลําบากเพราะว่า เชื้อเพลิงแพง จึงทําให้ความก้าวหน้าในด้านเครื่องหุ่นแรงจะ เสียไป ฉะนั้นจึงต้องพยายามหาทางที่จะใช้เครื่องหุ่นแรงแบบโบราณก็คือใช้สัตว์พาหนะสัตว์ที่จะใช้ในงานสําหรับการเกษตร เช่น โคหรือกระบือ การที่จะมีโคหรือกระบือนั้นก็มีปัญหามาก ܵ เพราะว่าชาวนาชาวไร่ไม่มีทุนพอที่จะไปซื้อ หรือแม้จะเลียงก็ อาจจะลําบาก จึงมีความคิดขึ้นมาว่า ถ้าทําเป็นหนวยหนึ่งที่มี โคหรือกระบือไว้พร้อมที่จะให้ชาวนาชาวไร่ได้ใช้ก็จะเป็นการดี จึงทําในรูปที่เรียกว่า ธนาคาร..."

              คําว่า “ธนาคารโค - กระบือ” เป็นศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดขึ้น หมายถึงศูนย์กลางรวบรวมโคและกระบือโดยมีบัญชี ควบคุมดูแลรักษา แจกจ่ายให้ยืมเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเกษตร และ เพิ่มปริมาณโคและกระบือตามหลักการธนาคาร

              ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมปศุสัตว์ได้นํากระบือพันธุ์ จํานวน ๒๘๐ ตัว ไปให้เกษตรกรผู้ยากจนในท้องที่อําเภอสระแก้ว และอําเภอวัฒนานคร จังหวัด ปราจีนบุรี เช่าซื้อและผ่อนส่งในระยะเวลา ๓ ปี ต่อมาเมื่อข่าวโครงการนี้แพร่หลายออกไปทางสื่อมวลชน ผู้มีจิตศรัทธาหลายท่านจึงได้ร่วมบริจาคโดย เสด็จพระราชกุศลอีกจํานวนหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการโครงการธนาคารโค - กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดําริทั้งหมด

  •           ธนาคารโค - กระบือนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการกําหนดประเด็นปัญหาและหาทางแก้ไข ปัญหาได้ตรงประเด็น วัวควายเป็นปัจจัยการผลิตที่สําคัญของคนไทยมาแต่ อดีตกาล ในปัจจุบัน แม้การเพาะปลูกแบบสมัยใหม่จะทําให้เลิกใช้วัวควาย เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่แพงขึ้น แต่สําหรับเกษตรกรที่ยากจน ทั่วไป แม้ปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานคือวัวควาย ก็ยังไม่สามารถมีไว้ในครอบครอง

              ธนาคารโค - กระบือ จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรยากจนที่มีอาชีพ ในการทําไร่ทํานา โดยการให้เช่าซื้อผ่อนส่งในระยะยาว ให้เช่าเพื่อใช้งาน ให้ยืม เพื่อผลิตพันธุ์หรือเพื่อใช้งาน การจัดตั้งและบริหารธนาคารโค - กระบือ เป็นการรวมพลังเพื่อร่วมมือ กันระหว่างเกษตรกรในหมู่บ้านเดียวกัน เกษตรกรที่มีฐานะยากจน ไม่มีโค - กระบือเป็นของตนเอง แต่มีความขยันหมันเพียรสามารถกู้ไปใช้งานในรูปแบบ ต่างๆ ตามที่ตกลงในราคาถูก เกษตรกรที่อยากเป็นเจ้าของโค - กระบือ มี โอกาสเช่าซื้อผ่อนส่งระยะยาวหรือยืมไปเลี้ยง โดยเมื่อตกลูก ลูกโค - กระบือตัว - แรกจะเป็นของธนาคาร ตัวต่อไปใช้วิธีแบ่งจํานวนกับธนาคารฝ่ายละครึ่ง การใช้ ประโยชน์จากธนาคารโค - กระบือดําเนินด้วยดี เกษตรกรที่เป็นสมาชิกได้รับบริการอย่างทั่วถึงโดยรัฐบาลไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจํานวนมากในการซื้อโค - กระบือมาแจกให้แก่ราษฎรยากจนเหมือนเช่นอดีต

              สิ่งหนึ่งที่ควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของ เราทรงมีน้ําพระทัยเมตตามิใช่ต่อราษฎรเท่านั้น แม้วัวควายที่แก่ชราก็ทรงมี พระเมตตาสงสาร นายทิม พรรณศิริ อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์เล่าว่า พระองค์ ทรงเสนอให้จัดทํา บ้านโค - กระบือชรา ขึ้น ที่ปากช่องในเนื้อที่ ๒ - ๓ ไร่ เพื่อเอาวัวควายที่ปลดระวางแล้วไปเลี้ยงที่นัน มีพระราชดํารัสว่า ไม่อยากให้ฆ่า วัวควายที่มีคุณต่อเกษตรกร น้ําพระทัยที่เอื้ออาทรต่อทุกสรรพสิ่งเช่นนี้เป็น คุณสมบัติอันประเสริฐยิ่งนัก

               สรุปได้ว่า ในส่วนของงานด้านปศุสัตว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งช่วยเหลือให้เกษตรกรส่วนใหญ่ซึ่งยากจนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยง ปศุสัตว์ภายในครัวเรือน โดยการแจกพันธุ์ให้เลี้ยงบ้าง ให้เช่ายืมพ่อพันธุ์ไปบ้าง ผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนก็คือ ปุ๋ยคอกซึ่งสามารถนําไปใช้ใน ไร่นา ส่วนเกษตรกรที่ยึดอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ทรงสนับสนุนให้พัฒนา วิธีเลี้ยงโดยพระราชทานพระราชทรัพย์ให้มีการค้นคว้า ทดลองด้านกิจการโคนม เพื่อนําความรู้และประสบการณ์มาเป็นตัวอย่างเผยแพร่แก่เกษตรกร ทรง สนับสนุนให้เกษตรกรหันมานิยมเลี้ยงโคนมเพิ่มขึ้น และเลี้ยงให้ถูกต้องตาม หลักวิชาการ เป็นการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร และช่วยลดเงินตราที่จะต้องนําไปซื้อผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศปีละหลายล้านบาท นอกจากนี้ยังได้ทรงวาง รากฐานการจัดการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมเพื่อเป็นแบบอย่างของการเกษตร ที่ครบวงจร กล่าวได้ว่าความสําเร็จของกิจการโคนมในประเทศไทยมีที่มาจาก พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านโดยแท้

ตกลง