แนวทางพระราชดำริในการพัฒนาการเกษตร
  •           พระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาการเกษตร มิได้เป็นพระราชภารกิจ ที่ถูกกําหนดไว้ว่า “เป็นหน้าที่โดยตรงของพระมหากษัตริย์” แต่การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานและทรงริเริ่มสร้างโครงการต่างๆ ในด้านการ พัฒนาเกษตรขึ้นมากมายโดยต่อเนื่อง ก่ออุปการประโยชน์แก่เกษตรกรและ สังคมไทยอย่างกว้างขวาง เป็นสิ่งสะท้อนความสนพระราชหฤทัยในกิจการนั้น เป็นพิเศษ

              พระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสที่พระราชทานแก่บุคคลคณะต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการเกษตรและสหกรณ์สะท้อนแนว พระราชดําริในการพัฒนาการเกษตร และเนื่องจากพระราชกรณียกิจด้านการ พัฒนาการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนงานพัฒนาจึงได้นําพระบรมราโชวาท และพระราชดํารัสที่เกี่ยวเนื่องกับงานพัฒนาอื่นๆ มารวมศึกษาด้วย

              เนื้อหาในส่วนนี้จึงเป็นการเสนอพระราชดําริซึ่งประกอบด้วยแนวคิด อันเป็นนามธรรม และการปฏิบัติหรือการนำแนวคิดไปแปรสภาพเป็นกิจกรรม ที่ตอบสนองแนวคิดนั้นๆ อันเป็นรูปธรรม

  •           แนวพระราชดำริที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความหมายของการพัฒนากับคณะเยาวชนจังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ว่า

              "...พัฒนา ก็หมายถึง ทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ทําให้บ้านเมืองมันคงมีความเจริญ ความหมาย ของการพัฒนาประเทศนี้ก็เท่ากับตั้งใจที่จะทําให้ชีวิตของ แต่ละคนมีความปลอดภัย มีความเจริญ มีความสุข..."

              ความหมายของคําว่า “ความเจริญ” เป็นอย่างไร มีลักษณะและมี องค์ประกอบอย่างไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานคําอธิบายไว้ใน พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐

              "...ความเจริญนันมักจําแนกกันเป็นสองอย่าง คือ ความเจริญทางวัตถุอย่างหนึ่ง และความเจริญทางจิตใจอีกอย่างหนึ่ง ยิ่ง กว่านั้นยังเห็นกันว่า ความเจริญอย่างแรกอาศัยวิชาการทางด้าน วิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยสร้างสรรค์ ความเจริญอย่างหลังอาศัย ศิลปะ ศีลธรรม จรรยา เป็นปัจจัย แท้จริงแล้ว ความเจริญ ทางวัตถุกับความเจริญทางจิตใจก็ดี หรือความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์กับทางด้านศิลปะศีลธรรมจรรยา ก็ดี มิใช่สิ่งที่จะแยกออกจากกันให้เด็ดขาดได้ ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เราพยายามจะแยกออกจากกันนัน มีมูลฐานที่เกิดอันเดียวกัน คือ “ความจริงแท้” ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ถึงจะพยายามแยกจากกันอย่างไรๆ ที่สุดก็จะรวมลงสู่จุดกําเนิดเดียวกัน แม้แต่จุดประสงค์ก็จะลง สู่จุดเดียวกัน คือ ความสุข ความพอใจของทุกคน ดังนั้น ท่านทั้งปวงที่กําลังจะนําวิชาการออกไปสร้างความเจริญแก่ตน แก่ชาติ ควรจะได้ทราบตระหนักในข้อนี้ และควรจะถือว่าความเจริญทั้งสองฝ่ายนี้มีความสําคัญอยู่ด้วยกัน เป็นสิ่งทีเกียวเกาะเกื้อหนุน และอาศัยกัน จําเป็นที่จะต้องพัฒนาพร้อมกันไป ปฏิบัติพร้อมกันไป ความเจริญมั่นคงแท้จริงจึงจะเกิดขึ้นได้..."

              โดยนัยแห่งพระบรมราโชวาทนี้ คําว่าความเจริญที่เป็นผลสรุปรวม ต้องประกอบทั้งความเจริญทางวัตถุ และความเจริญทางจิตใจ มิอาจแยกจากกัน และต้องเป็นเอกภาพกัน

              ความเจริญทางวัตถุต้องอาศัยวิชาการทางวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยวิชาการ ย่อมต้องอาศัย “คน” ผู้มีวิชาความรู้ หรือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นปัจจัย ความเจริญทางจิตใจต้องอาศัยศิลปะ ศีลธรรมจรรยาเป็นปัจจัย ซึ่งศิลปะ ศีลธรรมจรรยา จะเกิดขึ้นได้ ดํารงอยู่ และสําแดงผลได้ย่อมต้องอาศัย “คน” ผู้ถือปฏิบัติศิลปะ ศีลธรรมจรรยาเป็นฐาน

              ดังนั้น การพัฒนาบ้านเมืองให้มั่นคงมีความเจริญต้องพัฒนา “คน” ให้ถึงพร้อมทั้งด้านวิชาการ และศิลปะ ศีลธรรมจรรยา โดยมี “ความสุข ความ พอใจของทุกคน” เป็นจุดมุ่งหมาย

  •           นอกจากต้องฝึกฝนพัฒนาจิตใจให้ดํารงอยู่ในครรลองแห่งธรรมเพื่อเป็นปัจจัยกํากับความรู้ความสามารถแล้ว หน้าที่ที่บุคคลโดยเฉพาะผู้ได้รับการศึกษา สูง ซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้รับโอกาสที่ดีกว่า พึงรับผิดชอบ เกื้อกูลสังคมส่วนรวม ผสาน พ้องกับการฝึกฝนพัฒนาตนทางความรู้ความสามารถ เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ ส่วนตนในการงาน และความก้าวหน้าในชีวิตก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทรงเน้นย้ำอยู่เสมอ ดังพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๖ ว่า

              "...ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง ท่านทั้งหลายย่อมมีความมุ่งหมายที่จะได้ใช้ความรู้ความสามารถทำงานตามแนวถนัด เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ คือ ความเจริญมั่นคงให้แก่ตนเอง แก่งาน และแก่ชาติบ้านเมืองให้ประจักษ์ผล..."

              สรุปได้ว่า การพัฒนาคนตามแนวพระราชดําริ ถือว่า “คน” เป็นปัจจัย สําคัญ และเป็นศูนย์กลางของงานพัฒนาชาติบ้านเมือง โดยการบ่มเพาะเสริม สร้างความรู้ความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ ควบคู่ไปกับการอบรมฝึกฝนจิตใจ ให้ตั้งมันอยู่ในความดี เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการสร้างความเจริญทั้งส่วนตน และส่วนรวม ดังพระราชดำรัสเมื่อวันทที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๗ ว่า

              "...การให้การศึกษาที่ครบถ้วนทั้งทางด้านศีลธรรมจรรยา วิชาสามัญ และวิชาชีพนั้น เป็นการปูพื้นฐานอย่างสําคัญในการ พัฒนาคน ให้เป็นคนดี มีความสามารถ ซึ่งจะเป็นกําลังใน การสร้างสร้างเสริมความเจริญมั่นคงของบ้านเมืองต่อไปในวันข้างหน้า..." 

              และพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๕ ว่า

              "...จุดมุ่งหมายสําคัญของการรักษาความมั่นคงของบ้านเมือง นั้น อยู่ที่การทําให้ประชาชนสามารถปกครองรักษาถิ่นฐานของตนเองได้ โดยมีสวัสดิภาพ และอิสรภาพเต็มที่ ในการนี้ ทางราชการมีหน้าที่อันจําเป็นที่สุด ที่จะต้องพิทักษ์คุ้มครองให้มี ความสงบ และปลอดภัย ทั้งจะต้องช่วยเหลือสนับสนุนโดยทางวิชาการทั้งด้านเทคนิค และด้านเศรษฐกิจสังคม เพื่อให้เขาช่วยตัวเอง และพัฒนาตัวเองได้ ในการอาชีพ การครองชีพ และการอยู่ร่วมกันโดยสามัคคีธรรม ขอให้ทุกท่านพยายามใช้ ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ ให้เป็นประโยชน์ช่วยเหลือประชาชน ตามหลักการที่ได้กล่าวแล้วให้มากที่สุด เมื่อประชาชนสามารถ พัฒนาตนเอง พัฒนาท้องถิ่นที่อยู่ให้เจริญขึ้นได้แล้ว บ้านของเราก็จะมีความมั่นคง และปลอดภัยอย่างแท้จริง..."

  • จุดมุ่งหมายในการพัฒนา

              ๑. สร้างพื้นฐานให้มันคง โดยให้ประชาชนพอมีพอกินพอใช้ สามารถพึ่งตนเองเสียก่อน จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้นไป ดังพระราชดํารัส เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า

              "...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการ และอุปกรณ์ที่ประหยัด 49 ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มันพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับต่อไป 

              และพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า

              "... การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่น เป็นพื้นฐาน เป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพ และฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้แน่นอน..." 

              ๒. สร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับความสามารถ และความต้องการของชุมชน ทรงนิยมใช้ศัพท์ว่า “ระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ชุมชนเข้มแข็งพร้อมที่ จะรับความเจริญจากโลกภายนอกแล้ว มิใช่เป็นการยัดเยียด นําความเจริญจากภายนอกเข้าไปให้ชุมชนโดยที่ประชาชนยังไม่พร้อมที่จะรับ หรือพร้อมที่จะคิดว่าเหมาะสมกับชุมชนของตนหรือไม่ 

               ดังพระราชดำรัสที่มีต่อกลุ่มชาวไร่ผักในพระบรมราชูปถัมภ์ ตําบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ว่า 

              "...ถ้าแต่ละคนมีความขยันหมันเพียร ทางราชการ และผู้มีวิชา อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางราชการก็จะช่วย ขั้นแรกที่สุดจะต้องแสดง ว่าตนมีความเข้มแข็ง มีความตั้งใจที่จะทํางานร่วมกันอย่าง เป็นสุขเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จะมีผู้ที่จะมาช่วยแล้ว ความเดือดร้อนต่างๆ ก็จะได้บรรเทาไปไม่ให้เป็นทุกข์...” 

              "...ระหว่างนี้ขอให้พยายามที่จะจัดระเบียบแบบแผนให้ดีให้อยู่กันเป็นกลุ่มให้เข้มแข็งยิง ๆ ขึ้น เพราะว่าการที่จะอยู่ในที่ใหญ่ขึ้นไปนั้น ถ้าขาดความเข้มแข็งก็ตาม ถ้าขาดความสามัคคีเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็ตามจะเกิดอันตรายอย่างมาก เพราะว่างานนั้นมากขึ้น ที่กว้างขึ้นก็ต้องดูแลมากขึ้น ก็มีภาระ มีหน้าที่มากขึ้น ทุกคนต้องเตรียมใจเตรียมกายเพื่อที่จะรับที่ใหญ่กว่านี้ ถ้าไม่พร้อม ให้ที่ใหญ่ไปก็จะเกิดทุกข์ใหญ่มากขึ้น แต่ว่าถ้าพร้อมแล้ว ที่ใหญ่ นั้นก็จะมีความเจริญได้ดี...”

  •           ๓. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ เป็นหลักสำคัญในการพัฒนา โดยทรงยึดหลักการปรับปรุง หรือดัดแปลงทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ ให้เกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันการทําเพื่อส่วนรวมก็อาจส่งผลกระทบต่อคนส่วนน้อยได้ ดังนั้น ในการพัฒนาจึงต้องเตรียมวิธีการแก้ไขไว้ด้วยเช่นกัน ดังพระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ว่า

              "...โครงการพัฒนาต่าง ๆ ตั้งขึ้นเพื่อปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดผลเป็นประโยชน์แก่ ประเทศ และประชาชนส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ในทางปฏิบัติ นั้น นอกจากจะได้ผลส่วนใหญ่ หรือส่วนรวมตามจุดประสงค์แล้ว บางทีก็อาจทำให้มีการเสียหายในบางส่วนได้บ้าง เพื่อจะให้โครงการมีผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จําเป็นต้องพิจารณาจัดตั้งโดยรอบคอบ และละเอียดถี่ถ้วน ให้ทราบว่าผลที่เกิดจากโครงการนั้นจะมีขอบเขตต่อเนื่องไปเพียงใด และมีผลเสียประการใดที่จุดใดบ้าง จะได้สามารถวางแผนงานให้สอดคล้องต้องกันทุกส่วนทุกขั้น เพื่อแก้ไขในส่วนที่จะเสียหายให้กลับเป็นดีให้โครงการได้ประโยชน์มากที่สุด... "

              ๔. เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรเพื่อนําผลไปทดลองปฏิบัติในพื้นที่อื่น งานพัฒนาด้านการเกษตรตามแนวพระราชดําริทุกงานทุกโครงการ ล้วนมีจุดมุ่งหมาย และพันธกิจร่วมกันอยู่ประการหนึ่ง คือ เป็นต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ แก่หน่วยชุมชนพื้นที่อื่น โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดํารินั้น ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแบบ เพื่อขยายผล และเรียนรู้สิ่งผิดสิ่งถูก ดัง พระราชดํารัส ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ตามพระราชดํารัส เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่ว่า

              "...มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษา และทดลองงานพัฒนา การเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สําหรับเป็นตัวอย่างแก่ เกษตรกรในการนําไปปฏิบัติในพื้นที่ของตน ตลอดจนเพื่อดำเนินกิจการด้านการเกษตรอุตสหกรรม โดยเฉพาะส่งเสริมการปลูกพืชตระกูลถั่ว สำหรับแปรรูปเป็นสินค้าอุตสหกรรม..."

             ในด้านที่เป็นแบบเพื่อศึกษาความผิดพลาดล้มเหลว ก็ได้มีพระราชดำรัสไว้ชัดเจน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า

             "...มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษา และทดลองงานพัฒนา การเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สําหรับเป็นตัวอย่างแก่ เกษตรกรในการนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตน ตลอดจนเพื่อ ดำเนินกิจการด้านเกษตรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะส่งเสริมการปลูกพืชตระกูลถั่ว สําหรับแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรม..."

              ในด้านที่เป็นแบบเพื่อศึกษาความผิดพลาดล้มเหลว ก็ได้มีพระราชดำรัส ไว้ชัดเจน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า

             "...มีเหมือนกันที่ทำการทดลองแล้วล้มเหลวทางฝ่ายศูนย์ศึกษา ไม่ควรที่จะอายในความล้มเหลว......ในศูนย์ศึกษาการพัฒนา นั้น ทำอะไรไม่ถูกแล้วก็อาจเป็นอนุสาวรีย์ของความไม่ถูก จะได้สังวรไว้ว่าทําอย่างนี้ไม่ได้ แต่ความเสียหายนั้นไม่มีมาก เพราะว่าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาทําการทดลองต่างๆ นี้ก็ทํา เป็นส่วนน้อยถือทําเป็นส่วนเล็ก ๆ สามารถที่จะเก็บไว้ให้คนดูว่าตรงนี้อย่างนี้มันไม่ค่อยดี ใช้ไม่ได้ ก็เป็นหลักวิชา..."

  • วิธีการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริ

              ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงาน กปร. ได้เขียนไว้ในเอกสาร “พัฒนาการเศรษฐกิจจากแนวพระราชดําริ” พิมพ์เผยแพร่โดยกองวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ในส่วนที่เกี่ยวกับแนว พระราชดําริในการพัฒนาว่า

              "...แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้เน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเป็นสําคัญ แต่ทรงให้ความสำคัญ และเน้นการพัฒนา ในทุกด้านอย่างสัมพันธ์กัน ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคม รวมทั้งการอนุรักษ์ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแนวพระราชดำริในการพัฒนาเช่นนี้ จะเป็นผลให้เกิดความสมดุลต่อการพัฒนาประเทศ และกล่าวได้ว่า วิธีการพัฒนาตามแนวพระราชดําริ โดยการยึดหลักความต้องการที่แท้จริงของประชาชน สภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนในสังคม นั้นเป็นหลัก ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด และมองการณ์ไกลเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ครอบคลุม และเข้าถึงแก่นของการพัฒนา โดยได้สร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน เพื่อให้ช่วยตนเองได้ พร้อมทั้งพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม ศีลธรรม และวัฒนธรรมพื้นบ้าน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิต และสภาพจิตใจของคนไทยอย่างลึกซึ้ง และแยบคายเป็นอย่างยิ่งด้วย ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ในท้ายที่สุด..."

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสนอวิธีการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ดังจะได้จำแนกออกเป็นข้อๆ ดังนี้

              ๑. ศึกษาพื้นฐานเดิมของสังคม เพื่อจะได้กําหนดแนวทางการพัฒนา ได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน กล่าวคือ การพัฒนาเพื่อประชาชนจะต้องเข้าใจพื้นฐานการดําเนินชีวิต ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเสียก่อน ต้องรู้ว่ามีข้อใดเป็นจุดเด่น และจุดด้อยของสังคม การพัฒนา ไม่ใช่การรื้อของเก่าทิ้ง แล้วนําของใหม่เข้าไปให้ ควรค้นหาสิ่งที่ดีมีอยู่ออกมา แล้วนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติ ดังพระราชดํารัสเมื่อ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า

    "...นักบริหารการพัฒนามีภาระสําคัญในการที่จะต้องเป็นผู้นำ และตัวการควบคุมการพัฒนาบานเมือง ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง สู่ทิศทาง และสภาพที่ทุกฝ่ายพึง ปรารถนา และการที่จะปฏิบัติภาระอันนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีได้นั้น นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางวิชาการตามที่ได้ ศึกษามาแล้ว ยังจําเป็นจะต้องมีความรอบรู้ และความเข้าใจ อันกระจ่าง และเพียงพอในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม และสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด รวมทั้งระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรม และความรู้สึกนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จด้วย..."

              และพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ว่า

              "...การสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทุกอย่างนั้นต้องเริ่มต้นที่การศึกษาพื้นฐานเดิมก่อน เมื่อได้ศึกษาทราบชัดถึงส่วนดี ส่วนเสียแล้ว จึงรักษาส่วนที่ดีที่มีอยู่แล้วให้คงไว้ แล้วพยายาม ปรับปรุงสร้างเสริม ด้วยหลักวิชา ด้วยความคิดพิจารณาอันประกอบด้วยเหตุผล และความสุจริตจริงใจ ให้ค่อยเจริญงอกงาม มั่นคงบริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป ตามความเหมาะสม ตามกําลังความสามารถ และตามกําลังเศรษฐกิจที่มีอยู่..."

              ๒. ศึกษาข้อมูลของพื้นที่ การพัฒนาด้านการเกษตรเป็นงานที่ต้อง เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๒ ประการคือ ราษฎรหรือชุมชนในท้องถิ่น และสภาพภูมิประเทศในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งการสํารวจข้อมูลจากพื้นที่ คือ ปัจจัยพื้นฐานที่จะกําหนดแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้แนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ว่า

              "...ในด้านพัฒนานั้นที่ไหนแบนเราก็ใช้เป็นที่แบน ที่ไหนที่เขาเราก็ใช้เป็นที่เขา และการแบ่งสรรภูมิประเทศนี้เราก็ไป ตามภูมิประเทศนี้ เราก็ไปตามภูมิประเทศ เพราะภูมิประเทศ นี้มันใหญ่กว่าเรา ไม่ใช่ว่าเราใหญ่กว่าภูมิประเทศ เราไปย้าย ภูมิประเทศมันยากกว่าย้ายตัวเรา ตัวเราก็หมายความว่า ร่างกายเรา สมองของเรา และความคิดของเรา เราต้องไป ตามภูมิประเทศ อันนี้เป็นหลักของการพัฒนาอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ มาพูดถึงภูมิประเทศคือ ที่ดิน หรือภูมิประเทศด้าน ภูมิศาสตร์ แต่ว่าภูมิประเทศตามสังคมวิทยาก็มีเหมือนกัน ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาก็คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับคนให้คิดอย่างอื่นไม่ได้เราต้องแนะนํา และก็ถ้าไปตาม อัธยาศัยของคน เมื่อได้รับการแนะนําแล้วคนก็ไม่ดื่อ โดยมากดี้อเพราะว่าผู้ที่ไปจัดรูปของภูมิประเทศ หรือจัดรูปของ สังคม เป็นคนที่เอาหัวชนฝา เอาหัวชนฝาแล้วเราก็เจ็บ แล้วคนที่เราคิดอยากจะช่วยเขาก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะเขาอยู่ข้างหลังฝา ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย แล้วเราก็จะยิ่งโกรธว่าพวก นี้ไม่เข้าใจเสียที ที่จริงเขาเข้าใจไม่ได้ เพราะเขาก็มีเหตุผลของเขา ฉะนั้นการพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา เพื่อที่จะให้เหมาะสมทุกประการ..."

              กล่าว คือ ในการพัฒนาด้านการเกษตร สภาพทางภูมิประเทศ และนิสัยของราษฎรในพื้นที่แต่ละโครงการก็มีสภาพเงื่อนไขปัจจัยผิดแผดแตกต่างกันไป ดังนั้น การเข้าไปพัฒนาจึงไม่อาจใช้สูตรสำเร็จเข้าไปดำเนินการโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของข้อมูลพื้นที่ทั้งทางด้านสังคม และด้านภูมิศาสตร์ได้

  •            ๓. ใช้หลักวิชาการ ในการพัฒนาด้านการเกษตรจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจข้อมูลพื้นที่การวางแผน การปฎิบัติทดลอง การตรวจสอบผลงาน และการประสานวิชาการแขนงต่างๆ ให้กลมกลืนเกื้อกูลกัน ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ว่า

               "...การพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความเจริญความมั่นคง แก่คนส่วนรวมทั้งชาติได้แท้จริงนั้น จะต้องอาศัยหลักวิชาอันถูกต้อง และต้องกระทําพร้อมกันไปทุก ๆ ด้านด้วย เพราะความเป็นไปทุกอย่างในบ้านเมือง มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงถึง กันหมดเพียงแต่จะทํางานด้านการเกษตร ซึ่งโดยหลักส่วนใหญ่ ได้แก่ การกสิกรรม และสัตวบาล อย่างน้อยที่สุด ก็ยังต้องอาศัยวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์สหกรณ์เข้าช่วยด้วย ทุกคนซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้วิชาการ ในการพัฒนาบ้านเมืองต่อไป ควรทราบให้ถ่องแท้ว่าในการนั้นจําเป็นที่สุดที่จะต้องใช้วิชาการทํางานร่วมมือกัน ให้ประสานสอดคล้องทุกฝ่าย..."

              และพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ว่า

              "...คนที่จะใช้วิชาได้ดีนั้น ประการแรกต้องรู้จักวิชาเป็นอย่างดี คือ รู้อย่างแจ่มแจ้ง ชำนิชำราญ และทั่วถึงตลอดทั้งในหลักใหญ่ ทั้งในรายละเอียด รวมทั้งในส่วนที่จะต้องประสานกับวิชาอื่น ๆ เพื่อให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน และกันด้วยประการที่สอง จะต้องรู้จักพิจารณาเลือกทํางานที่เป็นงานสร้างสรรค์ มิใช่งานมีผลข้างลบ หรือที่ปราศจากคุณค่า ปราศจากประโยชน์อันพึงประสงค์ ประการที่สาม ไม่ว่าจะทํางานฝ่ายใดสาขาใด จะต้องเรียนรู้ลักษณะงานให้ทราบอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะในจุดประสงค์ขอบเขต และแนวทางที่จะปฏิบัติ ประการที่สี่ จะต้องมีความตั้งใจที่แน่วแน่ และมีความอุตสาหะพรักพร้อมอยู่เสมอ ที่จะปฏิบัติงานนั้นให้จนสําเร็จประโยชน์ตามที่มุ่งหมาย..." 

              ๔. กระทําอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นขั้นตอน คือ มีการวางแผน งาน ไม่ทําเพราะความรีบร้อนอยากลองของใหม่ หรืออยากพัฒนาให้เกิดความ เจริญอย่างรวดเร็ว จําเป็นต้องคํานึงถึงความพร้อมของชุมชนด้วย ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า

              "...ในการสร้างความเจริญก้าวหน้านี้ ควรอย่างยิ่งที่จะค่อย สร้างค่อยเสริมที่ละเล็กละน้อยตามลําดับ ให้เป็นการทําไปพิจารณาไป และปรับปรุงไป ไม่ทําด้วยอาการเร่งรีบตามความ กระหายที่อยากจะสร้างของใหม่เพื่อความแปลกใหม่ เพราะความจริงสิ่งที่ใหม่แท้ๆ นั้นไม่มี สิ่งใหม่ทั้งปวงย่อมสืบเนื่อง มาจากสิ่งเก่า แต่ต่อไปย่อมจะต้องกลายเป็นสิ่งเก่า..."

              มีพระราชดําริอยู่เสมอว่า ประชาชนควรจะพึ่งตนเองให้ได้ในเรื่องอาหาร ก่อนเป็นลําดับแรก จากนั้นจึงค่อยขยายไปในเรื่องการทําธุรกิจการเกษตร

              ๕. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เข้าพระทัยดีว่าคนไทยเป็นฝ่ายรับเทคโนโลยีมาใช้มากกว่าจะเป็นฝ่ายผลิตเทคโนโลยี ทรงคํานึงถึงความจําเป็นในการรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ จากต่างชาติมาใช้ จึงทรงเตือนให้รู้จัก “เลือก” ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพ สังคมไทย

               จากพระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สรุปลักษณะการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้ว่า ควรมีลักษณะประหยัด คุ้มค่า และง่าย ประชาชน ทัวไปสามารถใช้ได้

               "...เทคโนโลยีที่ดี ที่สมบูรณ์แบบ จึงควรจะสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้แต่สิ่งที่เป็นของเสียเป็นของเหลือทิ้งแล้ว ก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีแปรสภาพให้เป็นของใช้ได้ เช่น ใช้ทําขยะ และมูลสัตว์ให้เป็นแก๊ส และปุ๋ย เป็นต้น โดยทางตรงข้ามโนโลยีใดที่ใช้การได้ไม่คุ้มค่า ทําให้เกิดความสูญเปล่า และ เสียหายได้มาก จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่บกพร่อง ไม่สมควรจะ นํามาใช้ไม่ว่าในกรณีใด ท่านทั้งหลายจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี ในการสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อพิจารณาสภาพบ้านเมือง และฐานะ ความเป็นอยู่ของประชาชนต่อไป ควรหัดเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตในการปฏิบัติงานของตนเอง นอกจากเทคโนโลยีที่ใหญ่โตระดับสูงสําหรับใช้ในงานใหญ่ ที่ต้องการผลมาก แล้วแต่ละคนควรจะคํานึงถึง และค้นคิดเทคโนโลยีอย่าง ง่ายๆ ควบคู่กันไป เพื่อช่วยให้กิจการที่ใช้ทุนรอนน้อยมีโอกาส นํามาใช้ได้โดยสะดวก และได้ผลด้วย..."

               นอกจากนี้พระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ยังกล่าวถึง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเช่นกัน ดังพระราชดํารัสที่ว่า

               "...การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆ นั้นว่าโดยหลักการควรจะให้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัด และการทุ่นแรงงานแต่อย่างไรก็ตามก็คงยังจะต้องคำนึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐาน และส่วนประกอบของแรงงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเรา ประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัวด้วยการกสิกรรม และการลงแรงทำงานเป็นพื้น การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศย่อยจะมีปัญหา เช่น อาจทำให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้น เป็นต้น ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกล และกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน คือควรจะพยายามใช้ให้พอเหมาะพอดีแก่สภาวะของบ้านเมือง และการทำกินของราศฎรเพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วย เกิดประหยัดอย่างแท้จริงด้วย..."

  •           ๖. รวมกลุ่มประชาชน กระตุ้นให้เกิดความสามัคคีเพื่อจะได้ ร่วมแรงร่วมใจกันทํางาน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกัน และเพื่อสะดวกในการประสานงานกับทางราชการ การรวมกลุ่มที่ทรงแนะนำบ่อยครั้ง คือ การ รวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์ พระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พระราชทานแก่คณะกรรมการสหกรณ์ต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ได้ทรงอธิบายถึงลักษณะ ของสหกรณ์อย่างง่ายๆ ว่า

               "...สหกรณ์ในเมืองไทยในรูปสหกรณ์โดยมีชื่อว่าสหกรณ์มีมา นานพอสมควรแต่ว่าการปฏิบัติได้ปฏิบัติมาเป็นเวลานานทีเดียว เช่น กลุ่มผู้ที่ใช้น้ำในบางจังหวัดก็มีมานานเป็นร้อยปี อันนี้ก็ คือสหกรณ์นั่นเอง มาปัจจุบันนี้ก็เรียกว่า สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ..."

               "...คําว่าสหกรณ์หรือตั้งเป็นสหกรณ์ก็มีความสําคัญมาก เพราะว่าจะทํางานด้วยกัน เมื่อคนหนึ่งคนใดทํางานอยู่คนเดียว ก็มีแรงหนึ่งคนหรือหนึ่งครอบครัว ทําได้ไม่มากนัก แต่ถ้ารวมกันหลายครอบครัวเป็นสหกรณ์หรือหมู่บ้านสหกรณ์ก็ทํางานได้ดีกว่า เพราะมีกําลังมากกว่า เราช่วยกันได้ เช่น ถ้าครอบครัวหนึ่งประสบความเดือดร้อนมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนบ้าง ผู้อื่นก็ช่วยได้ ถึงตาของตัวเอง ไม่สบายคนอื่นก็ช่วย..."

               พระราชดำรัสเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ทรงยกตัวอย่างเรื่องฝายเพื่อชี้ให้เห็นการประสานร่วมมือกันเองในหมู่ประชาชน และความสะดวกในการประสานงานกับทางราชการ

               "...อย่างเช่น การร่วมกันสร้างฝาย สร้างฝายนั้นถ้าทําคน เดียวก็จะทําได้ไม่ใหญ่โต อาจจะไม่เพียงพอสําหรับการทํา มาหากิน แต่ถ้าร่วมกันทําก็สามารถที่จะทําให้มีน้ำมากใช้ในการเพาะปลูกให้เพียงพอ ฉะนั้นจึงมีการร่วมกันสร้างฝาย ซึ่งจะต้องสร้างฝายอยู่ทุก ๆ ปี เพราะว่าการสร้างฝายนั้นถ้าถึงเวลาที่เสื่อมลงไปตามสภาพก็ทําให้ฝ่ายนั้นใช้การไม่ได้ก็จะต้องมาซ่อม หรือต้องมาสร้างขึ้น ส่วนมากก็ทำเกือบทุกปี ต่อมาเมื่อมีโครงการของทางราชการเป็นส่วนกลาง ส่วนกลางก็มีกรมขึ้นมา กรมนั้นก็มีหน้าที่ที่จะทำให้โครงการต่างๆ มีความคงทนถาวร จึงเป็นงานของทางราชการขึ้นมา งานของเอกชน ของกสิกรก็ทําอยู่ แต่ว่าทางราชการก็เข้ามาช่วยด้วย จนกระทั่งรู้สึกว่าเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของทางราชการทางเดียว ที่จะทําให้มีสิ่งที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้น ทางราชการทําแล้ว ราษฎรหรือกสิกรก็รับประโยชน์ไป ทําให้เกิดความคิดขึ้นมาที่ไม่สู้จะถูกต้องว่าทางราชการมีหน้าที่บริการประชาชน และ ประชาชนก็รับแต่ฝ่ายเดียว ถ้าอย่างนี้งานก็ไม่ก้าวหน้า เพราะว่าทางราชการก็ต้องใช้เงินงบประมาณก็จะต้องมาจากการเก็บภาษีอากรนั่นเอง ซึ่งถ้ามีทุนไม่พอก็ไม่สามารถที่จะทำให้ทั่วถึง ราษฎร และกสิกรก็เกิดความเดือดร้อนนั้นเอง ฉะนั้น ก็ต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกสิกรกับหน่วยงานต่างๆ ของทางราชการ แต่ว่าถ้ามีการติดต่อของราษฎรเป็นส่วนตัวเป็นรายบุคคลก็ทำให้โครงการต่างๆ ไม่สามารถที่จะทําเพื่อ ประโยชน์ของส่วนรวมอย่างสอดคล้องได้ การที่กสิกรได้รวมกลุ่มเข้าเป็นกลุ่มเกษตรกรบ้างเป็นสมาคมบ้าง และเป็นสหกรณ์ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสําหรับการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้มากเท่าที่จะกระทําได้โดยไม่มีการสิ้นเปลือง...”

              ๗. วางระบบการทํางานที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ (Integration) กล่าวคือ หน่วยงานต่างๆ ทํางานประสานสัมพันธ์กัน ภายใต้แผนงานและ รูปการจัดการเดียวกัน โดยมีหน่วยงานหนึ่งเป็นแม่งาน ลักษณะดังกล่าวนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากการทำงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ทั้ง ๖ ศูนย์

              อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า แนวพระราชดําริในด้านการพัฒนาการเกษตรมีวิธีคิดหรือหลักการในการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน กล่าวคือสิ่งแต่ละสิ่งแต่ละปัญหา แต่ละปรากฏการณ์ ล้วนเกิดขึ้น ดำรงอยู่ ดำเนินไปงอกงามแปรเปลี่ยนหรือเสื่อมสลาย ก็ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องซึ่งกัน และกันเกษตรกรรมก็เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นสิ่งที่ดํารงอยู่อย่างโดดๆ แต่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติหรือระบบนิเวศ ฉะนั้นการพัฒนา การเกษตรหรือการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกร จึงต้องสัมพันธ์กับระบบอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่

              ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่า

              "...ในการปฏิบัติงานเกษตรนั้น นักวิชาการเกษตรควรจะศึกษา สังเกตให้ทราบชัดว่าเกษตรกรรมย่อมเป็นไป หรือดําเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นวงจร และเป็นส่วนหนึ่งของวงจร ธรรมชาติ ซึ่งมีการเกิดสืบเนื่องทดแทนกันอย่างพิสดาร จากปัจจัยหนึ่ง เช่น พันธุ์พืช เมื่อได้อาศัยปัจจัยอื่นๆ มีดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น เข้าปรุงแต่งทำให้เกษตรกรได้พืชผลขึ้นมา พืชผลที่ได้มานั้น เมื่อนำไปบริโภคเป็นอาหาร ทำให้ได้พลังงานมาทํางาน เมื่อนำออกจำหน่ายก็ทำให้เกิดผลทางเศรษฐกิจขึ้น ทั้งแก่ผู้ซื้อ และผู้ผลิต คือผู้ซือ ย่อมนําไปทำผลประโยชน์ให้งอกเงยต่อไปได้ ผู้ผลิตก็ได้เงินทองมาจับจ่ายใช้สอยยังชีพ รวมทั้งซื้อหาปัจจัยสําหรับสนับสนุนการผลิตของตนให้เกิดผลหมุนเวียนเพิ่มเติมขึ้น เห็นได้ว่า แม้เพียงงานเกษตรอย่างเดียว ยังจําเป็นต้องเกี่ยวพันกับงานต่าง ๆ กับเหตุปัจจัยต่าง ๆ มากมายหลายขอบข่าย ทั้งต้องเกี่ยวกัน อาศัยกันอย่างถูกต้องสมดุลอีกด้วย..."

     

     

ฝายทดน้ำ
ฝายทดน้ำ
ตกลง