ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี กุ้งกุลาได้กลายเป็นสินค้าออกสําคัญของ การประมงไทย ผลที่ตามมาคือป่าชายเลนซึ่งเป็นสาธารณสมบัติถูกบุกรุกทําลาย สัตว์น้ำที่เคยอาศัยตามบริเวณป่าชายเลนลดจํานวนลงอย่างน่ากลัว น้ำทะเล เอ่อล้น ส่วนน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากนากุ้งก็ก่อความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม ต่อแหล่งน้ำของราษฎร และพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียง และยังสร้างความขัดแย้ง ขึ้นในชุมชนระหว่างคนทํานากุ้งกับชาวประมงชายฝั่ง
สภาพเช่นนี้ เกิดขึ้นทั่วไปในพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุก เช่น ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม แถบชายฝั่งภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และกําลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในชายฝั่งทะเลอันดามัน
อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง มอบหมายให้ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เสด็จสํารวจพื้นที่บริเวณอ่าว คุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี พบว่าสภาพป่าชายเลนรอบชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนนั้นมีพื้นที่บางส่วนมีสภาพป่าเสื่อมโทรม มีราษฎรบุกรุกเข้า จับจองประกอบอาชีพอยู่จํานวนหนึ่ง ตัวอ่าวคุ้งกระเบนเองก็มีลักษณะธรรมชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นอ่าวใหญ่ที่ค่อนข้างปิด มีป่าชายเลนล้อมรอบ ติดกับบริเวณ อ่าวมีหาดทรายยาว ส่วนที่เชื่อมกันระหว่างอ่าวและหาดทรายเป็นสันทรายสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสภาพดังกล่าวเหมาะสมที่จะใช้เป็น สถานศึกษาการพัฒนาทางด้านฝั่งตะวันออกเพราะมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแทนของ ภูมิภาคนี้ได้ จึงทรงมอบหมายให้กรมประมงดําเนินการจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อศึกษาและพัฒนาการเพาะเลี้ยงชายฝั่งและจัดตั้งสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์แก่ราษฎรและชุมชนโดยรอบ ณ ตําบลคลองขุด อําเภอท่าใหม่ จังหวัด จันทบุรี
จากการศึกษาวิจัยโดยกรมประมงพบว่าสัตว์น้ำที่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพ ในพื้นที่นี้ได้มี ๒ ชนิด คือ การเลี้ยงกุ้ง ทั้งกุ้งกุลาดํา กุ้งทะเล และการ เลี้ยงปลาในกะซัง ได้ผลดีทั้งปลากะพงขาว ปลากะรังและปลาเกํา
นายวิเชียร สาคเรศ ผู้อํานวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้เล่าถึงการเลี้ยงกุ้งว่า พื้นที่ที่เหมาะแก่การเลี้ยงกุ้งมากที่สุด คือพื้นที่บริเวณ หลังแนวป่าชายเลน ไม่ใช่พื้นที่ที่ราษฎรชอบเข้าไปบุกรุกทํานากุ้ง เพราะพื้นที่ ป่าชายเลนมีสภาพดินเป็นกรดสูงเกินไป ไม่เหมาะแก่การทํานากุ้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริให้ศึกษาหาวิธีการเลี้ยงกุ้งแบบไม่สร้างมลภาวะหรือเรียกว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนา ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้คือ ในกรณีที่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่ครึ่ง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรก ๕ ไร่ใช้เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนที่สอง ๑ ไร่ ใช้เป็นบ่อเก็บน้ำทะเลไว้ เติมน้ําให้แก่บ่อเลี้ยง และส่วนที่สาม ครึ่งไร่ใช้เป็นบ่อเก็บเลน
ตลอดการเลี้ยงจะไม่มีการถ่ายเทน้ำเสียออกจากบ่อกุ้ง หากปริมาณน้ำลดลงจะเอาน้ำจากบ่อเก็บมาเติม ซึ่งที่บ่อเก็บน้ำนี้จะมีระบบบําบัดน้ำเสียแบบ ชีวภาพรักษาคุณภาพของน้ำ โดยใช้หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเลมาเป็นตัวบําบัด แล้วปล่อยปลาลงไปเป็นตัวควบคุมความสมดุลไม่ให้หญ้าและสาหร่ายทะเลเจริญ เติบโตเร็วเกินไป โดยวิธีนี้จะทําให้น้ำทะเลที่บ่อเก็บน้ำมีคุณภาพดีได้
ส่วนปัญหาเรืองการควบคุมค่าความเป็นกรด ด่างของน้ำในบ่อเลี้ยงนั้น ใช้วิธีการเติมปูนขาวแก้ความเป็นกรด และเติมคลอรีนแก้ความเป็นด่าง ใน ปริมาณที่เล็กน้อยทุกครั้งก่อนให้อาหารกุ้ง ๑ ชั่วโมง
สําหรับบ่อเก็บเลนจํานวนครึ่งไร่นั้น เมื่อจับกุ้งออกแล้ว เลนกันบ่อจะมี ค่าความเป็นกรด - ด่างสูงปล่อยลงทะเลไม่ได้ จะต้องตักมาเก็บไว้ในบ่อเลน เพื่อจะได้นําดินนั้นมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรต่อไป ซึ่งขณะนี้ปรากฏว่าดินเลน จากก้นบ่อกุ้งที่นี่สามารถนํามาใช้ปลูกดอกแกลดิโอลัสได้ผลดีมาก
ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมสภาพเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้ง กุลาดําแบบพัฒนา ผสมผสานกับการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนทดแทนเพื่อให้ เกิดการใช้ทรัพยากรแบบยังยืน มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จํานวน ๑๑๓ ราย โดยแต่ละรายจะมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดําประมาณ ๖ - ๗ ไร่และมีพื้นที่ปลูก ป่าชายเลนประมาณ ๓ ไร่ โครงการนี้ดําเนินงานมาได้ ๑๐ ปีพอดี จาก การสัมภาษณ์เกษตรกรในโครงการต่างเล่าว่า ในระยะแรกอยู่ในสภาพล้มลุก คลุกคลาน แต่เริ่มได้ผลดีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา