เกษตรกรรมคือวิถีชีวิตแห่งสังคมไทย
  •           สังคมไทยมีรากฐานมาจากสังคมเกษตรกรรมการสังคมไทยมีรากฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม การปลูกข้าวเป็นการผลิต ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกข้าวจึงเป็นพื้นฐานสําคัญ ในการรังสรรค์วัฒนธรรมในด้านต่างๆ ทั้งวัฒนธรรมการเมือง การปกครอง วัฒนธรรมการกินอยู่ วัฒนธรรมทางความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมทางภาษา และตลอดจนการแสดงออกต่างๆ ซึ่งรวมเรียกได้ว่า เป็นวัฒนธรรมข้าว (Rice Culture)  

              ในด้านการเมือง การปกครอง หรือการจัดระเบียบทางสังคมของ ชุมชน วัฒนธรรมข้าว เช่น สังคมไทยในอดีต สุภางค์ จันทวานิช เสนอบทความไว้ใน งานสัมมนา "วัฒนธรรมข้าวในสังคมไทย" ว่า วิธีการเพาะปลูกข้าวแบบนาดำเป็นเงื่อนไขสําคัญที่ทําให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองแบบศักดินาขึ้น เนื่องจากในการเพาะปลูกข้าวแบบนาดําซึ่งเป็นวิธีการผลิตของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานมั่นคงมีการนําระบบชลประทานเข้ามาช่วยในพื้นที่ที่น้ำหลากเข้าไปไม่ถึง ต้องใช้แรงงานจํานวนมาก ตั้งแต่เริ่มทําคันน้ำ ขุดคลองส่งน้ำ ตกกล้า ทํานา จนไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนั้น แรงงานจึงเป็นปัจจัยสําคัญในการผลิตของสังคมศักดินาจํานวนแรงงานในสังกัด ผนวกกับขนาดที่ดินที่ใช้เพาะปลูก จึงเป็นตัววัดยศของผู้ปกครอง ดังนั้น ศักดินา จึงหมาย อํานาจในการถือที่นา เป็นตัวกําหนดขนาดที่ดินที่เพาะปลูกข้าว และจํานวนแรงงานที่ใช้ในการเพาะปลูก

              เนื่องจากการเพาะปลูก คือ หัวใจของการผลิตในสังคมศักดินา จึงต้องกําหนดให้มีการดูแลกิจกรรมการปลูกข้าวเป็นพิเศษ กรมหลักในจตุสดมภ์ ซึ่งเป็นหลักสําคัญของการปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงปรากฏ กรมนา มีเสนาบดีนา หรือเกษตราธิการ มีหน้าที่ดูแลนาหลวง สนับสนุนให้ ราษฎรทํานา เก็บภาษีนา ซื้อข้าวเข้าฉางหลวง ตลอดจนตั้งศาลชําระความเกี่ยวกับที่นา และวัวควาย

  •           การจัดการระเบียนการปกครองด้วยระบบศักดินา ได้ดําเนินมาจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูป การปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล และยกเลิกระบบศักดินาไป มีการ ตั้งกระทรวงเกษตรพนิชการขึ้นแทนกรมนา เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเกษตราธิการ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน

              ถึงแม้ระบบศักดินาจะถูกยกเลิกไป แต่ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ระหว่าง “นาย” กับ “ไพร่" ยังคงตกค้างอยู่ในสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์แบบ “นาย กับบ่าว” ได้วิวัฒน์มาเป็น “เจ้านายกับลูกน้อง” ในปัจจุบัน สรุปได้ว่าแม้ การเพาะปลูกข้าวจะไม่ใช่การผลิตที่สําคัญที่สุดอีกต่อไป แต่ระเบียบสังคมที่ถูกสร้างขึ้นจากสังคมวัฒนธรรมข้าวกลับฝังรากลึกยิ่งในสังคมไทย

              ในด้านความคิดความเชื่อของชุมชนในวัฒนธรรมข้าวแสดงออกในรูปของ พิธีกรรมเพื่อความ อุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นการอ้อนวอนธรรมชาติ หรือเทพแห่งธรรมชาติ ให้อำนวย ความอุดมสมบูรณ์แก่ผลผลิตที่ได้ลงแรงผลิตไป ซึ่งรวมความถึงความอยู่เย็นเป็นสุขของครอบครัว และความมั่นคงของชุมชน พิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวและการทำนา หรือรวมเรียกว่า พิธีกรรมที่เกี่ยว ข้องกับ การเพาะปลูก จึงเป็นพิธีกรรมสำคัญของชุมชนวัฒนธรรมข้าว เช่นสังคมไทย 

              หากจะนับเวลากิจกรรมตั้งแต่เริ่มทำนาถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องใช้เวลา ถึง ๙ เดือน ตลอด ระยะเวลาดังกล่าว คนไทยได้จัดให้มีพิธีกรรมในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ พิธีกรรมบวงสรวง อ้อนวอน เสี่ยงทายในช่วงก่อนการเพาะปลูก หรือ ขณะเพาะปลูก เช่น พิธีเซ่นไหว้ผีบ้านผีเมือง หรืออารักษ์ หลักเมือง พิธีกรรม ขอฝน ฯลฯ เมื่อเพาะปลูกก็มีการอ้อนวอนขอให้การเพาะปลูกดำเนินไปด้วยดี เช่น พิธีแรกไถนา พิธีเชิญขวัญแม่โพสพลงนา ฯลฯ มีการจัดพิธีกรรมเพื่อการบำรุง รักษาต้นกล้าให้เจริญ งอกงาม เช่น พิธีรับขวัญแม่โพสพ ฯลฯ เมื่อถึงฤดูกาล เก็บเกี่ยวก็มีพิธีแสดงความอ่อนน้อมต่อ ธรรมชาติ ที่บันดาลให้ได้ผลผลิต เช่น พิธีทำขวัญข้าว ทำขวัญลาน ทำขวัญอุ้งข้าว เป็นต้น ท้ายสุดก็ คือพิธีกรรมเพื่อเฉลิมฉลองผลผลิตที่ได้ เช่น พิธีกวนข้าวทิพย์ พิธีบุญข้าวจี่ ฯลฯ ตลอดจนแสดง ความกตัญญูต่อผู้มีบุญคุณในการเพาะปลูก ซึ่งได้แก่ พิธีสู่ขวัญวัวควาย เป็นต้น 

              เมื่อสังคมไทยรับศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ เข้ามาในภายหลัง ศาสนาทั้งสองก็ได้ผสม กลมกลืนกับความเชื่อดั้งเดิมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ ในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกมีการ ผสมผสานแนวคิดไว้อย่างชัดเจน ดังเช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

              ในปัจจุบันเมื่อความต้องการข้าวมีมากขึ้น มีการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามามีบทบาทในการผลิต พิธีกรรมเหล่านี้ค่อยๆ ลดบทบาทลงจากการอ้อนวอน เพื่อขอฝนจากเทวดา เปลี่ยนเป็นการทําฝนเทียม หรือใช้เทคโนโลยี การชลประทานจากการใช้แรงงานวัวควายเปลี่ยนมาเป็นใช้แรงงานเครื่องจักรกล จากการอ้อนวอนขอความเมตตาจากเทวดาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เปลี่ยนเป็นการใส่ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลง ฯลฯ เทคโนโลยีทันสมัยเหล่านี้ได้เข้ามาแทนที่พิธีกรรมดั้งเดิม จึงปรากฏว่าพิธีกรรมในการเพาะปลูกของคนไทยเป็นพิธีกรรมที่หมดไปเร็วที่สุดก่อนพิธีกรรมประเภทอื่นๆ

  • พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ : การรื้อฟื้นเพื่อบำรุง ขวัญเกษตรกร

              พระราชพิธีจรดพระนังคัล หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าพิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธี โบราณปรากฏมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วสืบทอดต่อมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกกันแต่เดิม ว่า “พระราชพิธีไพศาขจรดพระนังคัล"

              พิธีกรรมนี้เดิมเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีพืชมงคลอีกพิธี หนึ่ง เป็น พิธีพุทธ ทำล่วงหน้าก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัล ๑ วัน เพื่อให้เป็น สิริมงคลแก่เกษตรกร 

              ในสมัยสุโขทัย พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพิธี แรกนาด้วยพระองค์เอง ในสมัยอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไม่เสด็จฯ ไปด้วยพระองค์เอง แต่พระราชทานพระแสง อาญาสิทธิ์แก่พระยาแรกนา ถือเสมือนเป็นผู้แทน พระองค์ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ไปทอดพระเนตร บ้างเป็นครั้งคราว และระงับไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ได้กลับมารื้อฟื้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓

               แม้สภาพสังคมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เข้าพระทัยถึงอุบาย แห่งพิธีกรรมโบราณ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่ ผู้นำสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคมและ สหกรณ์ประมงทั่วประเทศ ที่เข้าเฝ้าฯ ในวันพืชมงคล เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ว่า

               "...ที่ท่านทั้งหลายได้มีโอกาส ได้เข้าร่วมในพิธีพืชมงคลจรด พระนังคัลแรกนาขวัญในวันนี้ ซึ่งถ้าคิด ไปก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ เพราะว่าทั่วโลกนี้ดูเหมือนจะมีแต่เมืองไทยที่มีพิธีของส่วนกลาง เพื่อเป็นสิริ มงคลแก่เกษตรกร..."

               "... ชาวเกษตรกรทั้งหลายย่อมทราบดีว่าความเป็นมงคลนี้สำคัญ ยิ่งในการปฏิบัติงานของการเกษตร เพราะว่าเกษตรกรย่อมต้อง อาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้การเพาะปลูกหรือกิจกรรมของตน มีความ ผาสุกก้าวหน้าได้ การที่ทำอะไรที่เป็นมงคลนี้ โดย เฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกิดกำลังใจ เพราะว่าคนเรา ถ้าร่วมจิต ร่วมใจกันก็เกิดเป็นพลังอย่างสูง..."

                ด้วยทรงเห็นว่าการประกอบพิธีเพื่อราษฎร เป็นการให้กำลังใจและบำรุงขวัญแก่เกษตรกร จึง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ สืบต่อมาทุกปีมิได้ขาด

  •            พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ นอกจาก พระราชพิธีแรกนาขวัญดังกล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ยังได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีทําขวัญข้าว หรือขวัญแม่โพสพขึ้น ณ แปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ขณะที่ต้น ข้าวอยู่ใน ระยะตั้งท้องรอวันออกรวง มีการตั้งศาลแม่โพสพและเชิญขวัญแม่โพสพ โดย พระองค์ได้ เสด็จฯ มาทอดพระเนตรการทําขวัญข้าวในครั้งนั้นด้วย 

               อนึ่ง ในปีนี้อันเป็นวาระ “กาญจนาภิเษก" เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดําเนินเป็นการ ส่วนพระองค์ เพื่อทรงเกี่ยวข้าวในพื้นที่ ปลูกข้าวนาปรังในโครงการพระราชดําริ ณ ทุ่งมะขามหย่อง อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผลิตผลแรกที่ได้จากการทดลองปลูก ข้าวนาปรังในพื้นที่นี้โดยใช้น้ำาจากอ่างเก็บน้ำาพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย เมล็ดข้าวที่ได้ ในวันนั้นได้นํามาเป็น “ข้าวมงคล" หว่านในพระราชพิธีพืชมงคล

               พระราชจริยาวัตรดังกล่าวข้างต้น แสดงถึงความเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งในวิถีแห่งเกษตรกรรมอัน เป็นพื้นฐานสําคัญของสังคมไทย

ตกลง