๓. การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดในพรุ คืนเปรี้ยว หรือดินเกรด (Acid Soli) หมายถึง ดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า ๗ ส่วนดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) มักมีค่า pH ต่ำกว่า ๔.๐
ดินเปรี้ยวจัดเกิดขึ้นจากการที่เนื้อดินมีสารประกอบไพไรท์ปะปน เมื่อดินนั้นแห้ง สารประกอบไพไรท์จะทําปฏิกิริยากับอากาศแล้วปล่อยกรดกํามะถัน ออกมา ทําให้ดินเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัต และมักพบจุดประสีเหลืองเหมือน ฟางข้าวที่เป็นสารประกอบจาโรโซท์ที่ซึ่งอยู่ในดินชั้นล่าง
ดินเปรี้ยวจัดโดยมากจะพบตามพื้นที่พรุ บริเวณที่ราบลุ่มชายทะเลหรือ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยทั่วไปใช้ทํานาแต่มักให้ผลผลิตต่ำถ้าปลูกโดยไม่มี วิธีการปรับปรุงคุณภาพของดิน ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดประมาณไม่ต่ำกว่า ๘ ล้านไร่
จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่พรุขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้นำพื้นที่ขอบพรุส่วนหนึ่งมาจัดสรรให้แก่ราษฎร ที่ไร้ที่ทำกินโดยการระบายน้ำออกจากพื้นที่ แต่ปรากฏว่าไม่สามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากดินมีสภาพเปรี้ยวจัด จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขดินในพื้นที่พรุซึ่งมีสภาพเปรี้ยวจัดให้สามารถ เพาะปลูกได้ โดยให้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นกรดของกรดกํามะถัน ด้วยการแกล้งดินให้เปรี้ยว หรือที่เรียกว่า “โครงการแกล้งดิน” ด้วยการทําให้ ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของสารประกอบโพไรท์ ที่มีมากในดินเลนที่อยู่ในระดับล่าง เมื่อสารไพไรท์ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะปล่อยกรดกํามะถันออกมามากขึ้น ทําให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงที่สุด ซึ่งเป็น อันตรายต่อพืชจนพืชไม่สามารถให้ผลผลิตได้ หลังจากนั้น จึงหาวิธีการปรับปรุง ดินให้ลดความเปรี้ยวลง และใส่ปุ๋ยจนสามารถปลูกพืชทางเศรษฐกิจต่อไป
การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลักการสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. การควบคุมระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกํามะถัน โดยให้น้ำโดยให้น้ำ ใต้ดินอยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบไพไรท์ ซึ่งมักพบในระดับความสึกจากผิว
๒. การแก้ไขความเป็นกรดจัดโดยใช้น้ำชลประทานล้าง ซึ่งต้องใช้เวลา อย่างน้อย ๒ - ๓ ปี และต้องดําเนินการต่อเนื่องกัน หรือการใช้วัสดุปูนขาวเพื่อ ปรับค่าความเป็นกรดหรือปรับค่า pH โดยใช้ ๒ - ๔ ตันต่อไร่ และใส่ทุก ๒ - ๔ ปี ต่อครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนสูงมากสําหรับเกษตรกร ดังนั้น อาจใช้วิธีการใช้น้ำชะล้างควบคู่กับการใช้วัสดุปูน ซึ่งสามารถลดการใช้ปูนลงได้มาก
๓. การปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวจัด ซึ่งมักขาตชาตุอาหารสําคัญของพืช ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยใช้ปุ๋ยดังกล่าวในอัตราสูงในช่วงแรก แล้วค่อยๆ ลดลงในภายหลัง
๔. การเลือกชนิดของพืชที่สามารถทนต่อความเปรี้ยวได้ดี เช่น ข้าว พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ กข. ๒๑ กข ๒๓ ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ส่วนพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล จะปลูกได้ต่อเมื่อดินเปรี้ยวได้รับการปรับปรุงแล้ว รวมทั้งพื้นที่ปลูก หญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลาตุกอุยเทศ ปลาไน ปลานิล และปลาตะเพียนขาว
ในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินตรวจแปลงศึกษาการเปลี่ยนแปลงความ เป็นกรดของดินกรดกํามะถัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีพระราชดำรัสว่า "...นี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา ๓ ปีแล้ว หรือ ๔ ปีกว่า ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทํางาน ดินทํางานแล้วดินจะหาย โกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล...อันนี้ ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงานที่สําคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจ เขามีปัญหานี้ แล้วก็เขาไม่ได้แก้ หาตําราไม่ได้..."
ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดบริเวณบ้านโคกอิฐ - โคกใน อําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีพระราชดําริว่า
"...พื้นที่บริเวณโคกอิฐ และบ้านโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยวเหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ ได้โดยให้ประสานงานกับทางชลประทาน...”
จากผลของการดำเนินการดังกล่าว การพัฒนาดินเปรี้ยวจึงประสบผล สําเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังที่มีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินบ้านอิฐ - โคกใน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอนหนึ่งว่า
"...เราเคยมาโคกอิฐ - โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทําแต่ว่าเขาได้เพียง ๕ ถึง ๑๐ ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง ๔๐ - ๕๐ ถัง ก็ใช้ได้แล้ว ต่อไปดินก็จะไม่เปรี้ยวแล้ว เพราะว่า ทําให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆ ทําให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น อันนี้สิเป็นชัยชนะ ที่ดีใจมากที่ใช้งานได้ แล้วชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้..."