๑.การก่อสร้างคันกั้นน้ำ
คันกั้นน้ำส่วนใหญ่สร้างด้วยดินถมบดอัดแน่น สูงพ้นระดับนดไท่วมสูงสุด เคยเกิดขึ้นในอดีต เป็นวิธีป้องกันน้ำท่วมที่นิยมทํากันมาช้านาน คันกันน่าจะ ขนานไปตามลําน้ำโดยห่างจากขอบตลิ่งพอประมาณ เพื่อกั้นน้ำที่มีระดับสูงกว่า ความมันคงแข็งแรงให้สามารถ ใช้งานได้นาน ส่วนในจุดที่คันกั้นน้ำผ่านร่องน่าหรือทางน้ำ จะต้องมีการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ และป้องกันน้ำ จากภายนอกไหลเข้าไปท่วมภายในกรมชลประทานได้ก่อสร้างคันกันน้ำเพื่อสนองพระราชดำริ ได้แก่ คันกั้น - น้ำของโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
๒. การก่อสร้างทางผันน้ำ
เป็นการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งให้ไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นมาใหม่ ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเล แล้วแต่กรณี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในบริเวณแม่น้ำโก-ลก อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยการขุดคลองผันน้ำและแบ่งน้ำจากแม่น้ำโก-ลกเมื่อเกิดน้ำหลากให้ออกสู่ ทะเลทางด้านตะวันออก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ คลองมูโนะ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๕๖๐ กิโลเมตร สามารถแบ่งน้ำแม่น้ำโก-ลกออกสู่ทะเล และยังมีประโยชน์ใน การกักเก็บน่าไว้ใช้เพื่อการเกษตรอีกด้วย
๓. การปรับปรุงสภาพลำน้ำ
เป็นวิธีการปรับปรุงและตกแต่งลำน้ำเพื่อเพิมความสามารถของลำน้ำ ในฤดูน้ำหลากให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น ด้วยความเร็วมากขึ้นกว่าเดิม อันเป็นการลดปัญหาความเสียหายจากน่าท่วม ซึ่งอาจทําโตยการขุดลอกสําน้ำที่ตื้นเขินให้ น้ำสามารถไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือชุดทางน้ำใหม่ลัดจากลําน้ำด้าน เหนือที่คดโค้งไปบรรจบกับลําน้ำด้านใต้
๔. การก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ
เป็นการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำปิดกั้นลำน้ำธรรมชาติระหว่างหุบเขา หรือเนินสูงที่บริเวณต้นน้ำของลําน้ำสายใหญ่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อน ทําให้ เทิดแหล่งน้ำขนาดต่างๆ เรียกว่า “อ่างเก็บน้ำ” เขื่อนดังกล่าวมีหลายขนาด และสร้างด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อการชลประทาน ซึ่งมักได้ประโยชน์อื่นๆ ตามมา เช่น การประมง การบรรเทาปัญหาน้ำท่วม การอุปโภคบริโภค โดยที่เชื่อนขนาตใหญ่เหล่านี้มักเป็นเขื่อน อเนกประสงค์
เขื่อนขนาดใหญ่ที่พระราชทานพระราชดําริให้กรมชลประทานดําเนิน การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นนามพระราชทาน สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำมีความจุ ๒๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตร และเสด็จ พระราชดําเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ สามารถ ป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในลําน้ำแม่งัดและน้ำแม่ปิง แก้ปัญหาน้ำท่วม ตัวเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังกักเก็บนําไว้ใช้ทําการเกษตรใต้ตลอดปีถึง ๑๘๘,๐๐๐ ไร่
จากการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในท้องที่อําเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้พระราชทานพระราชดําริให้กรมชลประทานพัฒนาลำน้ำแม่กวง โดยทารสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำให้ราษฎรมีน้ำสําหรับการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน โดยสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สามารถกักเก็บน้ำได้ ๒๖๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกใน
เขตอําเภอดอยสะเก็ด อําเภอสันทราย อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่และอําเภอเมืองลําพูน รวมพื้นที่ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ไร่ โตยเชื่อนนี้ได้รับพระราชทานนามอันเป็นสิริมงคลว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา
๕. การระบายนาออกจากพื้นที่ลุ่ม
เป็นการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่า ซึ่งมีน้ำขังอยู่นานหลายเดือนในแต่ละปีจนไม่สามารถใช้เพาะปลูกได้ การระบายน้ำออกจากที่ลุ่มนี้ จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง และสามารถใช้พื้นที่นั้นให้เกิดประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ ทั้งนี้จะต้องขุดคลองระบายน้ำออกไปทิ้งในลําน้ำหรือทะเล
ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริได้แก่ การระบายน้ำออก จากพื้นที่เพาะปลูกขอบพรุบาเจาะ อําเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งกรม ชลประทานดําเนินการสนองพระราชดำริในปี พ.ศ. ๒๕๑๙โตยขุดคลองระบายน้ำ จากพื้นที่ขอบพรุลงสู่ทะเล ต่อจากนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดําเนินการจัดตั้ง สหกรณ์นิคมพรุบาเจาะ โดยจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรครอบครัวละ ๒๐ ไร่ และจัดที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านครอบครัวละ ๗ ไร่ รวมพื้นที่การเกษตร ๔๐,๐๐๐ ไร่ และที่ดินในหมู่บ้านอีก ๒,๐๐๐ ไร่